นศ. A
ประณิธานหรือสัจจะชีวิต/ ปลุกใจให้อนุรักษ์ธรรมชาติ, ภุชงคประยาตฉันท์ + อาวัตพากย์ (ผิดผัสสะ)
ที่มา http://www.watmoli.com/poetry-chapter5/old-verse/5135.html
ซึ่งกำหนดเป็นสัญลักษณ์ตัวเลขได้ดังนี้
๑๒๒๑๒๒............๑๒๒๑๒๒
๑๒๒๑๒๒............๑๒๒๑๒๒
ถ้าเลข ๒ แทนครุ และเลข ๑ แทนลหุ
สัมผัสบังคับ (สัมผัสสระเท่านั้น)
๑) พยางค์สุดท้ายของวรรคสดับ ไปสัมผัสกับพยางค์ที่สามของวรรครับ
๒) พยางค์สุดท้ายของวรรครับ ไปสัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรครอง
๓) จะทิ้งสัมผัสระหว่างพยางค์สุดท้ายของวรรครองกับวรรคส่งพยางค์ที่สามก็ได้ (โดยมากจะทิ้งเพราะเป็นฉันท์ ไม่ใช่กลอน)
๔) พยางค์สุดท้ายของวรรคส่งต้องไปสัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรครองในบทต่อไป
.........
ประณิธานของโพธิสัตว์
๐ จะมุ่งมั่นกะความสัตย์.............สุไตรรัตน์แนะนำโลก
จะลาโลภลุเมืองโมกษ์...............ลุโพธิ์ธีร์ลุธัมมา
๐ จะแกงเกลากุชนชั่ว.................ละเมามั่วมุติ์จิตตา
ประโยชน์สืบสุสัจจา...................สุศีลศักดิ์สุจิตจริง
๐ ละรสรักเลาะลิ้มโลก...............ละสาบโศกสลดทิ้ง
มิกอดกลิ่นกุกามกลิ้ง.............เพราะหอมตาเสาะเห็นธรรม
By M. Rudrakul
นศ. B
บทซึ้งในชีวิต ในประณิธานของบทแรก/ ชมความงามของธรรมชาติ (ถ้าบทแรกเป็นปลุกใจให้รักธรรมชาติ) วิชชุมมาลาฉันท์ + สัทพจน์
ซึ่งกำหนดเป็นสัญลักษณ์ตัวเลขได้ดังนี้
๒๒๒๒............๒๒๒๒
๒๒๒๒............๒๒๒๒
ถ้าเลข ๒ แทนครุ และเลข ๑ แทนลหุ (ถือว่าเป็นฉันท์ครุล้วน)
สัมผัสบังคับ (สัมผัสสระเท่านั้น)
๑) พยางค์สุดท้ายของวรรคสดับ ไปสัมผัสกับพยางค์ที่สองของวรรครับ
๒) พยางค์สุดท้ายของวรรครับ ไปสัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรครอง
๓) จะทิ้งสัมผัสระหว่างพยางค์สุดท้ายของวรรครองกับวรรคส่งพยางค์ที่สองก็ได้ (โดยมากจะทิ้งเพราะเป็นฉันท์ ไม่ใช่กลอน)
๔) พยางค์สุดท้ายของวรรคส่งต้องไปสัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรครองในบทต่อไป
.........
ความทราบซึ้งใจของสาวก
๐ ฟังธรรมทราบซึ้ง..................ตาจึงนองน้ำ
หยด "ติ้ง-ติ้ง" ต่ำ....................ใต้บาทบงสุ์องค์
๐ สัพเสียงศรีสิงห์....................ยอดยิ่งไพรพง
"หร่อร์" โหดโตรดตรง...............ฤาเท่าธรรมเอย
By M. Rudrakul
ถอดความ
นศ.A
๐ จะมุ่งมั่นกับความสัตย์ปฏิญาณต่อพระรัตนตรัยว่า จะแนะนำ (สอน) ชาวโลก ให้ละจากความโลภ ให้บรรลุเมืองพระนิพพาน บรรลุโพธิญาณ บรรลุธรรม
๐ จะสั่งสอนคนชั่วเหมือนการปรุงแกงละจากความมัวเมา(ตัณหา) เพื่อประโยชน์ในการสืบทอดความสัตย์อันดี ศีลธรรมที่งดงาม และจิตใจที่ดีงามอย่างแท้จริง
๐ จะละจากรสแห่งความรักที่ค่อย ๆ เอาออกไป (เลาะ) การชิมโลก (โลกิยธรรม) ละจากความโศกเศร้าที่เหม็นสาบ ด้วยการสลัดทิ้ง ไม่กอดแล้วกลิ้งเกลือกยึดติดในกลิ่นของกามตัณหาที่ชั่วร้าย เพราะความหอมชื่นในดวงตาที่เห็นธรรม
นศ. B
๐ ฟังธรรมทราบซึ้งใจจนน้ำหาหยดไหล "ติ้ง ๆ" ลงมาที่ธุลีบาท (ของพระศาสดา)
๐ เสียงทุกเสียงของพญาสิงห์ที่ถือว่าดังที่สุด (ยอดยิ่ง) ในป่า ดัง "หร่อร์" อยู่ลำพังฟังดูโหดร้ายตรงหน้า หรือจะเท่ากับเสียงของพระธรรม (ที่ทำให้ซึ้งใจ)
ศัพท์
นศ. A
ไตรรัตน์ = รัตนตรัย
ลุ = บรรลุ, เข้าถึง
โพธิ์ธีร์ = โพธิ (โพธิญาณ) + ธีร (นักปราชญ์, ผู้มีปัญญา) หมายถึง การเป็นผู้มีปัญญารู้แจ้งในปัญญาญาณของพระโพธิสัตว์
เมืองโมกษ์ = เมืองแห่งการหลุดพ้น, พระนิพพาน (คำว่าโมกษะหมายถึงการที่อาตมันวิญญาณมนุษย์รวมเป็นหนึ่งเดียวกับปรมาตมาวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า เป็นการบรรลุธรรมสูงสุดและหลุดพ้นจากสังสารวัฏในศาสนาฮินดู กวีไทยแต่โบราณมักยืมมาใช้ในฐานะคำไวพจน์ของคำว่านิพพาน)
มุติ์จิตตา = มุติ แปลว่า ความเห็น, ความเข้าใจ + จิตตา = จิต ดังนั้น มุติ์จิตตา แปลว่า มีความเข้าใจในดวงจิต
แกงเกลา = แกง (ปรุง, ทำ, ต้มแกง) + เกลา (ขัดเกลา,สั่งสอน) แปลว่า สั่งสอนเหมือนการปรุงอาหารที่เป็นการต้มแกง
กุชน = คนชั่ว
กุกาม = ความปรารถนาในกามที่ชั่วร้าย
นศ. B
ติ้ง = เสียงน้ำหยด ที่ละน้อย เป็นสัทพจน์
หร่อร์ = เสียงสิงห์คำราม เป็นสัทพจน์ มาจากภาษาอังกฤษ Roar ว่าเป็นเสียงร้องของสิงโตและหมี
สิงห์ = ตามความเชื่อไทยคือสัตว์ป่าหิมพานต์ไม่มีอยู่จริง ตามรากศัพท์เดิมในภาษาบาลี สันสกฤต หมายถึงสิงโตพันธุ์อินเดียที่ตัวผู้มีแผงคอสั้นกว่าสิงโตพันธุ์แอฟริกา และไม่มีลายกนกรอบตัว ปัจจุบันเป็นสัตว์หายากแต่ยังไม่สูญพันธุ์
บาทบงสุ์ = ละอองเท้า, ฝุ่นใต้เท้า (เป็นอวพจน์ เปรียบตนว่าต่ำต้อยเพื่อยกย่องอีกฝ่ายว่าสูงศักดิ์ ยิ่งใหญ่ โดยมากใช้กับกษัตริย์ พระเจ้า และพุทธเจ้า)
สัพ (อ่าน สับ) = สรรพ (อ่าน สับ/สับ-พะ) เป็นสันสกฤตมาจากคำว่า "สรฺว" แต่ สัพ และ สัพพะ เป็นคำบาลี แปลว่าทุกสิ่งทุกอย่าง
ไพรพง = พงไพร แปลว่า ป่า
โตรด (อ่าน โตฺรด) = อยู่คนเดียว
ฤา (อ่าน รือ) = หรือ
.......
หมายเหตุ :
อาวัตพากย์ ( Synesthesia ) คือ โวหารที่ใช้คำเรียกผลของการสัมผัสที่ผิดไปจากธรรมดา เพื่อเรียกร้องความสนใจจาก ผู้อ่าน เช่น ตามปกติเราใช้คำว่า “รส” เรียกผลการสัมผัสจากลิ้น ใช้คำว่า “กลิ่น” เรียกผลสัมผัสจากจมูก แต่กลับใช้ว่า รสของธูป , รสของรัก หรือไม่หล่อแต่อร่อย ซึ่งแสดงการรับรู้สัมผัสต่าง ๆ ที่ผิดไปจากเดิมสร้างความหมายแฝงที่น่าสนใจให้กับคำใหม่
สัทพจน์ (onomatopoeia) คือ การใช้ถ้อยคำที่เลียนเสียงธรรมชาติ หรือ เสียงดนตรีเสียงร้องของสัตว์ เสียงของฝน เสียงของหยดน้ำ เสียงของรถไฟ เสียงกาน้ำร้อนเดือน ฯลฯ
สัญลักษณ์ ครุและลหุ โดยปกติจะใช้ไม้หันอากาศแทนครุ และใช้สระอุแทนคำลหุ
แต่ก็มีนักวิชาการบางท่านกำหนดใช้เลขสอง ๒ แทนครุ และเลขหนึ่ง ๑ แทนลหุ
ที่มา http://phapnhandharmawheel.blogspot.com/p/light-of-enlightenment.html
ลิงก์ด้านล่าง เสียงร้องของสัตว์ในภาษาอังกฤษ (กรณีถ้านึกเสียงร้องของสัตว์ที่ไม่ค่อยมีอยู่ในภาษาไทยเท่านั้น) ที่มา https://www.englishbychris.com/portfolio-items/animal-sounds/
.........
การอ่านฉัน
๑) ภุชงค์ประยาตฉันท์
ตัวอย่างแบบที่ ๒
นศ. A
ปลุกใจให้รักทะเล
๐ ทะเลรวนละรสรักษ์..............สมุทรจักษ์จุเจ็บจืด
เพราะมลทินทุใจชืด................ทุเศษทิ้งทุจิตคน
๐ กะเต่าปลาจะจับโศก............เพราะทุกข์โลกเลอะทุกหน
เสาะสำนึกแนะกุศล.................เกาะกินสุขสมุทรรักษ์
By M. Rudrakul
นศ.B
ชมธรรมชาติ : ชายทะเล
๐ อ่าวอรรณพกลืน...................."โครม"คลื่นเวียนแวว
ทอดกายทรายแก้ว......................แสสินธุ์สบทรวง
๐ ลม "หวู่ หวู่" หวิว.....................ทัศน์ทิวแท้สรวง
ฟังนางนวลหน่วง........................"กูห์-วู้" อยู่เอย
By M. Rudrakul
ถอดความ
นศ. A
ทะเลรวนไม่เป็นระเบียบเพราะขาดการรักษา ทำให้มหาสมุทรเต็มไปด้วยความเจ็บปวดเพราะความใจจืดใจดำ จากการทิ้งเศษขยะ เพราะจิตใจที่ชั่วร้ายของมนุษย์
เต่าและปลา (ตัวแทนของสัตว์ทะเล) จึงโศกเศร้า เพราะความทุกข์แพร่ไปทั่วโลก จึงแนะนำหนทางที่ต้องแสวงหาซึ่งเป็นกุศลดีงาม คือการรักษามหาสมุทรจนทำให้ผู้ที่อาศัยตามเกาะในทะเลและทวีปต่าง ๆ ได้รับซึ่งความสุข
นศ. B
ปากอ่าวทะเลมีคลื่นกระทบฝั่งดังโครม ๆ แล้วหายไปเหมือนถูกกลืน นอนทอดกายลงบนทรายสะอาดใสเหมือนแก้ว สัมผัสกระแสน้ำเข้ามาในหัวใจ (อติพจน์ หมายถึงได้ยินเสียงคลื่นกระทบฝั่งอยู่ใกล้มาก ๆ)
สายลมพัดเสียง หวู ๆ ทำให้รู้สึกวาบหวิว มองทิวทัศน์คือสวรรค์จริง ๆ ฟังนกนางนวลร้องดัง (หน่วง) กูห์-วู้ ๆ อืออึงอยู่ในตอนนี้
นศ. A
ศัพท์
รวน = เบียดกันไปมาไม่เป็นระเบียด (ด้วยเกลียวคลื่น)
จักษ์ = ประจักษ์
จุ = บรรจุ, ทำให้เต็ม, ใส่
ทุ = ไม่ดี, เลว, ยาก
ทุใจ = ทุไจตฺตะ แฝง เป็น ทุไจต์ หรือ ทุใจ แปลว่า จิตใจไม่ดี จินตนาการไม่ดี อยู่กับความคิดที่ไม่ดี
ทุเศษทิ้ง = การทิ้งขยะไม่ดี
กะ = ด้วยกัน, กับ
เกาะ = ยึด, แผ่นดินที่ล้อมรอบด้วยน้ำ ในที่นี้หมายถึง เกาะที่เป็นแผ่นดิน, ทวีป ดังนั้น เกาะกินสุข หมายถึงเกาะที่ได้รับความสุขเพราะการรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นทั้งบุคคลวัต และยังมีความหมายแฝง หมายถึงผู้ที่อาศัยอยู่บนเกาะต่าง ๆ หรือทวีปต่าง ๆ ที่มีมหาสมุทรล้อมรอบ, ชาวเกาะ, มนุษย์ทั้งหลาย
อย่างคำ อาวัตพากต์ เช่น
๑) รสรักษ์ = รสแห่งการรักษา รักษาเป็นกริยา ผัสสะต้องใช้ตา ผิดผัสสะกับรสที่ใช้ลิ้น
๒) เจ็บจืด = ทะเลเค็ม ถ้าจืดคือผิดรสของทะเล ความเจ็บมักเปรียบกับคำว่าขม แสบร้อน ต้องผัสสะกับทางกายถือว่าผิดผัสสะ ส่วนจืดมักเปรียบเทียบกับ ใจจืด ใจดำ ดังนั้น เจ็บจืดตึ่งหม่ายถึงต้องทุกข์เพราะความใจจืดใจดำของคน
๓) ทุกข์เลอะโลก = ทุกข์ต้องรู้สึกทางใจ เลอะสิ่งสกปรกต้องทางกาย เป็นการใช้คำผิดผัสสะ หมายถึงความทุกข์เป็นเหมือนสิ่งสกปรกที่เลอะโลกอยู่
นศ. B
ศัพท์
แส = กระแส
ทอดกาย = ทอดร่างกายลงนอน
อรรณพ = ห้วงน้ำ
อ่าว = ฝั่งของมหาสมุทร หรือทะเล ซึ่งเป็นส่วนเว้าโค้งเปิดขว้างเข้ามาในแผ่นดิน
ท้ศน์ = ทัศนา แปลว่า มองดู
ทิว = ทิวทัศน์, ทัศนียภาพที่มองดู
หน่วง = ทำให้หนัก, ถ่วงไว้, ทำให้ช้า, ในที่นี้หมายถึง ได้ยินดังอยู่ตลอด
ตัวอย่างคำสัทพจน์
โครม = เสียงคลื่นกระทบฝั่ง
หวู่ ๆ = เสียงลม
กูห์-วู้ = เสียงร้องนกนางนวล
ประณิธานหรือสัจจะชีวิต/ ปลุกใจให้อนุรักษ์ธรรมชาติ, ภุชงคประยาตฉันท์ + อาวัตพากย์ (ผิดผัสสะ)
ซึ่งกำหนดเป็นสัญลักษณ์ตัวเลขได้ดังนี้
๑๒๒๑๒๒............๑๒๒๑๒๒
๑๒๒๑๒๒............๑๒๒๑๒๒
ถ้าเลข ๒ แทนครุ และเลข ๑ แทนลหุ
สัมผัสบังคับ (สัมผัสสระเท่านั้น)
๑) พยางค์สุดท้ายของวรรคสดับ ไปสัมผัสกับพยางค์ที่สามของวรรครับ
๒) พยางค์สุดท้ายของวรรครับ ไปสัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรครอง
๓) จะทิ้งสัมผัสระหว่างพยางค์สุดท้ายของวรรครองกับวรรคส่งพยางค์ที่สามก็ได้ (โดยมากจะทิ้งเพราะเป็นฉันท์ ไม่ใช่กลอน)
๔) พยางค์สุดท้ายของวรรคส่งต้องไปสัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรครองในบทต่อไป
.........
ประณิธานของโพธิสัตว์
๐ จะมุ่งมั่นกะความสัตย์.............สุไตรรัตน์แนะนำโลก
จะลาโลภลุเมืองโมกษ์...............ลุโพธิ์ธีร์ลุธัมมา
๐ จะแกงเกลากุชนชั่ว.................ละเมามั่วมุติ์จิตตา
ประโยชน์สืบสุสัจจา...................สุศีลศักดิ์สุจิตจริง
๐ ละรสรักเลาะลิ้มโลก...............ละสาบโศกสลดทิ้ง
มิกอดกลิ่นกุกามกลิ้ง.............เพราะหอมตาเสาะเห็นธรรม
By M. Rudrakul
นศ. B
บทซึ้งในชีวิต ในประณิธานของบทแรก/ ชมความงามของธรรมชาติ (ถ้าบทแรกเป็นปลุกใจให้รักธรรมชาติ) วิชชุมมาลาฉันท์ + สัทพจน์
๒๒๒๒............๒๒๒๒
๒๒๒๒............๒๒๒๒
ถ้าเลข ๒ แทนครุ และเลข ๑ แทนลหุ (ถือว่าเป็นฉันท์ครุล้วน)
สัมผัสบังคับ (สัมผัสสระเท่านั้น)
๑) พยางค์สุดท้ายของวรรคสดับ ไปสัมผัสกับพยางค์ที่สองของวรรครับ
๒) พยางค์สุดท้ายของวรรครับ ไปสัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรครอง
๓) จะทิ้งสัมผัสระหว่างพยางค์สุดท้ายของวรรครองกับวรรคส่งพยางค์ที่สองก็ได้ (โดยมากจะทิ้งเพราะเป็นฉันท์ ไม่ใช่กลอน)
๔) พยางค์สุดท้ายของวรรคส่งต้องไปสัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรครองในบทต่อไป
.........
๐ ฟังธรรมทราบซึ้ง..................ตาจึงนองน้ำ
หยด "ติ้ง-ติ้ง" ต่ำ....................ใต้บาทบงสุ์องค์
๐ สัพเสียงศรีสิงห์....................ยอดยิ่งไพรพง
"หร่อร์" โหดโตรดตรง...............ฤาเท่าธรรมเอย
By M. Rudrakul
ถอดความ
นศ.A
๐ จะมุ่งมั่นกับความสัตย์ปฏิญาณต่อพระรัตนตรัยว่า จะแนะนำ (สอน) ชาวโลก ให้ละจากความโลภ ให้บรรลุเมืองพระนิพพาน บรรลุโพธิญาณ บรรลุธรรม
๐ จะสั่งสอนคนชั่วเหมือนการปรุงแกงละจากความมัวเมา(ตัณหา) เพื่อประโยชน์ในการสืบทอดความสัตย์อันดี ศีลธรรมที่งดงาม และจิตใจที่ดีงามอย่างแท้จริง
๐ จะละจากรสแห่งความรักที่ค่อย ๆ เอาออกไป (เลาะ) การชิมโลก (โลกิยธรรม) ละจากความโศกเศร้าที่เหม็นสาบ ด้วยการสลัดทิ้ง ไม่กอดแล้วกลิ้งเกลือกยึดติดในกลิ่นของกามตัณหาที่ชั่วร้าย เพราะความหอมชื่นในดวงตาที่เห็นธรรม
นศ. B
๐ ฟังธรรมทราบซึ้งใจจนน้ำหาหยดไหล "ติ้ง ๆ" ลงมาที่ธุลีบาท (ของพระศาสดา)
๐ เสียงทุกเสียงของพญาสิงห์ที่ถือว่าดังที่สุด (ยอดยิ่ง) ในป่า ดัง "หร่อร์" อยู่ลำพังฟังดูโหดร้ายตรงหน้า หรือจะเท่ากับเสียงของพระธรรม (ที่ทำให้ซึ้งใจ)
ศัพท์
นศ. A
ไตรรัตน์ = รัตนตรัย
ลุ = บรรลุ, เข้าถึง
โพธิ์ธีร์ = โพธิ (โพธิญาณ) + ธีร (นักปราชญ์, ผู้มีปัญญา) หมายถึง การเป็นผู้มีปัญญารู้แจ้งในปัญญาญาณของพระโพธิสัตว์
เมืองโมกษ์ = เมืองแห่งการหลุดพ้น, พระนิพพาน (คำว่าโมกษะหมายถึงการที่อาตมันวิญญาณมนุษย์รวมเป็นหนึ่งเดียวกับปรมาตมาวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า เป็นการบรรลุธรรมสูงสุดและหลุดพ้นจากสังสารวัฏในศาสนาฮินดู กวีไทยแต่โบราณมักยืมมาใช้ในฐานะคำไวพจน์ของคำว่านิพพาน)
มุติ์จิตตา = มุติ แปลว่า ความเห็น, ความเข้าใจ + จิตตา = จิต ดังนั้น มุติ์จิตตา แปลว่า มีความเข้าใจในดวงจิต
แกงเกลา = แกง (ปรุง, ทำ, ต้มแกง) + เกลา (ขัดเกลา,สั่งสอน) แปลว่า สั่งสอนเหมือนการปรุงอาหารที่เป็นการต้มแกง
กุชน = คนชั่ว
กุกาม = ความปรารถนาในกามที่ชั่วร้าย
นศ. B
ติ้ง = เสียงน้ำหยด ที่ละน้อย เป็นสัทพจน์
หร่อร์ = เสียงสิงห์คำราม เป็นสัทพจน์ มาจากภาษาอังกฤษ Roar ว่าเป็นเสียงร้องของสิงโตและหมี
สิงห์ = ตามความเชื่อไทยคือสัตว์ป่าหิมพานต์ไม่มีอยู่จริง ตามรากศัพท์เดิมในภาษาบาลี สันสกฤต หมายถึงสิงโตพันธุ์อินเดียที่ตัวผู้มีแผงคอสั้นกว่าสิงโตพันธุ์แอฟริกา และไม่มีลายกนกรอบตัว ปัจจุบันเป็นสัตว์หายากแต่ยังไม่สูญพันธุ์
บาทบงสุ์ = ละอองเท้า, ฝุ่นใต้เท้า (เป็นอวพจน์ เปรียบตนว่าต่ำต้อยเพื่อยกย่องอีกฝ่ายว่าสูงศักดิ์ ยิ่งใหญ่ โดยมากใช้กับกษัตริย์ พระเจ้า และพุทธเจ้า)
สัพ (อ่าน สับ) = สรรพ (อ่าน สับ/สับ-พะ) เป็นสันสกฤตมาจากคำว่า "สรฺว" แต่ สัพ และ สัพพะ เป็นคำบาลี แปลว่าทุกสิ่งทุกอย่าง
ไพรพง = พงไพร แปลว่า ป่า
โตรด (อ่าน โตฺรด) = อยู่คนเดียว
ฤา (อ่าน รือ) = หรือ
.......
หมายเหตุ :
อาวัตพากย์ ( Synesthesia ) คือ โวหารที่ใช้คำเรียกผลของการสัมผัสที่ผิดไปจากธรรมดา เพื่อเรียกร้องความสนใจจาก ผู้อ่าน เช่น ตามปกติเราใช้คำว่า “รส” เรียกผลการสัมผัสจากลิ้น ใช้คำว่า “กลิ่น” เรียกผลสัมผัสจากจมูก แต่กลับใช้ว่า รสของธูป , รสของรัก หรือไม่หล่อแต่อร่อย ซึ่งแสดงการรับรู้สัมผัสต่าง ๆ ที่ผิดไปจากเดิมสร้างความหมายแฝงที่น่าสนใจให้กับคำใหม่
สัทพจน์ (onomatopoeia) คือ การใช้ถ้อยคำที่เลียนเสียงธรรมชาติ หรือ เสียงดนตรีเสียงร้องของสัตว์ เสียงของฝน เสียงของหยดน้ำ เสียงของรถไฟ เสียงกาน้ำร้อนเดือน ฯลฯ
สัญลักษณ์ ครุและลหุ โดยปกติจะใช้ไม้หันอากาศแทนครุ และใช้สระอุแทนคำลหุ
แต่ก็มีนักวิชาการบางท่านกำหนดใช้เลขสอง ๒ แทนครุ และเลขหนึ่ง ๑ แทนลหุ
ที่มา http://phapnhandharmawheel.blogspot.com/p/light-of-enlightenment.html
ลิงก์ด้านล่าง เสียงร้องของสัตว์ในภาษาอังกฤษ (กรณีถ้านึกเสียงร้องของสัตว์ที่ไม่ค่อยมีอยู่ในภาษาไทยเท่านั้น) ที่มา https://www.englishbychris.com/portfolio-items/animal-sounds/
.........
การอ่านฉัน
๑) ภุชงค์ประยาตฉันท์
๒) วิชชุมมาลาฉันท์
ตัวอย่างแบบที่ ๒
นศ. A
ปลุกใจให้รักทะเล
๐ ทะเลรวนละรสรักษ์..............สมุทรจักษ์จุเจ็บจืด
เพราะมลทินทุใจชืด................ทุเศษทิ้งทุจิตคน
๐ กะเต่าปลาจะจับโศก............เพราะทุกข์โลกเลอะทุกหน
เสาะสำนึกแนะกุศล.................เกาะกินสุขสมุทรรักษ์
By M. Rudrakul
นศ.B
ชมธรรมชาติ : ชายทะเล
๐ อ่าวอรรณพกลืน...................."โครม"คลื่นเวียนแวว
ทอดกายทรายแก้ว......................แสสินธุ์สบทรวง
๐ ลม "หวู่ หวู่" หวิว.....................ทัศน์ทิวแท้สรวง
ฟังนางนวลหน่วง........................"กูห์-วู้" อยู่เอย
By M. Rudrakul
ถอดความ
นศ. A
ทะเลรวนไม่เป็นระเบียบเพราะขาดการรักษา ทำให้มหาสมุทรเต็มไปด้วยความเจ็บปวดเพราะความใจจืดใจดำ จากการทิ้งเศษขยะ เพราะจิตใจที่ชั่วร้ายของมนุษย์
เต่าและปลา (ตัวแทนของสัตว์ทะเล) จึงโศกเศร้า เพราะความทุกข์แพร่ไปทั่วโลก จึงแนะนำหนทางที่ต้องแสวงหาซึ่งเป็นกุศลดีงาม คือการรักษามหาสมุทรจนทำให้ผู้ที่อาศัยตามเกาะในทะเลและทวีปต่าง ๆ ได้รับซึ่งความสุข
นศ. B
ปากอ่าวทะเลมีคลื่นกระทบฝั่งดังโครม ๆ แล้วหายไปเหมือนถูกกลืน นอนทอดกายลงบนทรายสะอาดใสเหมือนแก้ว สัมผัสกระแสน้ำเข้ามาในหัวใจ (อติพจน์ หมายถึงได้ยินเสียงคลื่นกระทบฝั่งอยู่ใกล้มาก ๆ)
สายลมพัดเสียง หวู ๆ ทำให้รู้สึกวาบหวิว มองทิวทัศน์คือสวรรค์จริง ๆ ฟังนกนางนวลร้องดัง (หน่วง) กูห์-วู้ ๆ อืออึงอยู่ในตอนนี้
นศ. A
ศัพท์
รวน = เบียดกันไปมาไม่เป็นระเบียด (ด้วยเกลียวคลื่น)
จักษ์ = ประจักษ์
จุ = บรรจุ, ทำให้เต็ม, ใส่
ทุ = ไม่ดี, เลว, ยาก
ทุใจ = ทุไจตฺตะ แฝง เป็น ทุไจต์ หรือ ทุใจ แปลว่า จิตใจไม่ดี จินตนาการไม่ดี อยู่กับความคิดที่ไม่ดี
ทุเศษทิ้ง = การทิ้งขยะไม่ดี
กะ = ด้วยกัน, กับ
เกาะ = ยึด, แผ่นดินที่ล้อมรอบด้วยน้ำ ในที่นี้หมายถึง เกาะที่เป็นแผ่นดิน, ทวีป ดังนั้น เกาะกินสุข หมายถึงเกาะที่ได้รับความสุขเพราะการรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นทั้งบุคคลวัต และยังมีความหมายแฝง หมายถึงผู้ที่อาศัยอยู่บนเกาะต่าง ๆ หรือทวีปต่าง ๆ ที่มีมหาสมุทรล้อมรอบ, ชาวเกาะ, มนุษย์ทั้งหลาย
อย่างคำ อาวัตพากต์ เช่น
๑) รสรักษ์ = รสแห่งการรักษา รักษาเป็นกริยา ผัสสะต้องใช้ตา ผิดผัสสะกับรสที่ใช้ลิ้น
๒) เจ็บจืด = ทะเลเค็ม ถ้าจืดคือผิดรสของทะเล ความเจ็บมักเปรียบกับคำว่าขม แสบร้อน ต้องผัสสะกับทางกายถือว่าผิดผัสสะ ส่วนจืดมักเปรียบเทียบกับ ใจจืด ใจดำ ดังนั้น เจ็บจืดตึ่งหม่ายถึงต้องทุกข์เพราะความใจจืดใจดำของคน
๓) ทุกข์เลอะโลก = ทุกข์ต้องรู้สึกทางใจ เลอะสิ่งสกปรกต้องทางกาย เป็นการใช้คำผิดผัสสะ หมายถึงความทุกข์เป็นเหมือนสิ่งสกปรกที่เลอะโลกอยู่
ศัพท์
แส = กระแส
ทอดกาย = ทอดร่างกายลงนอน
อรรณพ = ห้วงน้ำ
อ่าว = ฝั่งของมหาสมุทร หรือทะเล ซึ่งเป็นส่วนเว้าโค้งเปิดขว้างเข้ามาในแผ่นดิน
ท้ศน์ = ทัศนา แปลว่า มองดู
ทิว = ทิวทัศน์, ทัศนียภาพที่มองดู
หน่วง = ทำให้หนัก, ถ่วงไว้, ทำให้ช้า, ในที่นี้หมายถึง ได้ยินดังอยู่ตลอด
ตัวอย่างคำสัทพจน์
โครม = เสียงคลื่นกระทบฝั่ง
หวู่ ๆ = เสียงลม
กูห์-วู้ = เสียงร้องนกนางนวล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น