วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2561

คำช่วยแต่งฉันท์ ๒ ก-ง



กรุณาอ่านข้อความด้านล่าง และทำความเข้าใจ


ศัพท์ทั้งหมดนี้บันทึกไว้เพื่อเป็นคลังให้ ผู้สนใจการแต่งฉันท์หยิบยืมไปสร้างคำและประโยคใช้เข้ากับฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์ที่มี ครุ และลหุ เป็นสำคัญหลายคำในที่นี้จึงมีรูปเขียนและการอ่านไม่ตรงกับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน จึงไม่ควรนำคำใดในที่นี้ไปสอนเด็กเขียนสะกดคำถูกผิดในระดับชั้นการศึกษาขั้นพื้นฐาน และใช้ได้เพียงเป็นสื่อในการเรียนรู้การประดิษฐ์คำของกวีที่ใช้ในการแต่งกวีนิพนธ์ในชั้นสูงเท่านั้น





ก.
กักขฬะ, กะขะฬะ (ลหุ,ลหุ,ลหุ) = แข็ง, กระด้าง, หยาบคลาย
กังขา, กังขะ, กํขา, กํขะ = สงสัย
กัม = น้อย (ภาษาฮินดี "กัม" แปลว่า บ้าง) , กรรม
กะมะ, กมมะ, กัมมะ, กัมมา, กัมมํ, กรรม, กรรมะ, กรรมา, กรรมํ, กัรมะ, กัรมา, กัรมํ, กัรมัย = กรรม
กะยา, กะยาหาร, กะยาหาระ, กะยาหารา, กะยาหารัม, กะยาหารัย = อาหาร
กรม์, กรม, กรมา = หน่วยงาน
กร, กะระ, กะรา, กโร = มือ, กร, กระทำ เช่น อาภากร, อาภากโร, ประภากโร (ผู้ทำแสงสว่าง = พระอาทิตย์)
กล, กลํ = วิธี, เล่ห์กล
กลา (กะลา), กะลา = ศิลปะ, เศษหนึ่งส่วน ๑๖ ของพระจันทร์ , จันทร์เสี้ยว  , ความงามของสาวรุ่น หรือสาวแรกแย้ม เช่น จันทรกลา
กะลา = กะโหลกมะพร้าว, สิ่งที่ไม่มีค่า เช่น แก่กะโหลกกะลา (คนแก่ที่ทำตัวไร้ค่า) ตรงข้ามกับแก่ลายคราม (คนแก่ที่ทำตัวน่านับถือ มีค่ากับสังคม)
กษมา (กะ-สะ-มา=ลหุ,ลหุ,ครุ), กัษมา (กัด-สะ-มา=ครุ,ลหุ,ครุ), กษมะ (กะ-สะ-มะ=ลหุ,ลหุ,ลหุ), กัษมะ (กัด-สะ-มะ=ครุ,ลหุ,ลหุ) = ขอโทษ, ขอขมา, ความอดกลั้น
กสิ, กษิ, กษิระ,เกษตร,กสิ์, กษิ์, เกษตร์ (เกด) = การเกษตร, เกี่ยวกับชาวนา, เกี่ยวกับการเพราะปลูก, เขตแดน
กสิณ = ดวงนิมิตใช้เพ่งจิต
เกษม (กะ-เสม), เกษโม, เกษมา, เกษมัย (เก-สะ-ไม=ครุ,ลหุ,ครุ) = ยินดี, สุขสบาย
กริย์, กริยา, กิริยา, กรีย์, กรียา, กีริย์, กีริยา, กิรีย์, กิรียา = กระทำ
กรี (กะ-รี), กะรี = ช้าง
กรีฑา (กฺรี-ทา=ครุ,ครุ), กริฑา (กริ-ทา=ลหุ,ครุ), กีฬา, กิฬา, กรีฑัย, กรีโฑ, กริฑัย, กีฬัย, กิฬัย = การละเล่น, มีเพศสัมพันธ์ (กามกีฬา)
กษัตริย์, กษัตริยา, ขัตติยา = กษัตริย์
กีรติ (กี-ระ-ติ), เกียรติ, เกียรติ์ = เกียรติยศ
เกียรตินิยม = ผู้ที่ทำคณะระดับอุดมศึกษาได้สูงระดับหนึ่งและสองในการเรียน
กุน = ปีกุน, หมู
กุล, กุละ, กุลา, กุลัย, กุลํ = ตระกูล, สกุล
กุลโล = เหยี่ยว
กุลา = ชนต่างประเทศเช่น กุลาขาว คือฝรั่ง กุลาดำ คือแขกดำ แขกอินเดีย, ว่าวจุฬา, กุ้ง (กุ้งกุลาดำ)
กุลี = คนงาน, กรรมกร, พนักงานรับจ้างยกสัมภาระ หรือแบกของหนักเช่นกระสอบข้าว ฯลฯ
กุลีกุจอ = ทำอย่างขมีขมัน (ขะ-หมี-ขะ-หมัน) และเต็มใจ
กลี = ไม่มงคล, ยุคมืด , กลียุค
กาลี, กาฬี = ดำ, มืด, ไม่เป็นมงคล เช่น กาลีบ้านกาลีเมือง, นามของเจ้าแม่อุมาปางดุร้ายชื่อว่า กาลิกา หรือเจ้าแม่กาลี หมายถึงเจ้าแห่งกาลเวลา มีร่างดำชอบดื่มเลือดเหมือนพวกรากษส
กาล, กาละ, กาลัย, กาโล = กาลเวลา, สมัย
กุศ, กุศะ, กุสะ = หญ้าคา, ข่า, หญ้าศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู ส่วนหญ้าที่พระคเณศโปรดคือหญ้า "ทุรวา", หญ้าทั่วไป
กุสุม, กุสุมะ, กุสุมา, กุสุมํ, กุสุมัย, โกสุม, โกสุมะ, โกสุมา,โกสุมํ, โกสุมัย = ดอกไม้
กุสล, กุศล, กุสล์, กุศล์ , กุสละ , กุศละ, กุสลา, กุศลา, กุสโล, กุศโล = คุณความดี, ความฉลาด
กุศลธรรม, กุศลธัมมะ, กุศลธัมมา, กุศลธัมโม = ธรรมฝ่ายดี
กุศลกรรม, กุศลกัมมะ, กุศลกัมมา, กุศลกัมโม = กรรมฝ่ายดี
กุสโลบาย, กุศโลบาย = วิธีที่ฉลาด
มหากุศล, มหากุศโล, มหากุศลัย = คุณความดีที่ยิ่งใหญ่
มหากุศาลัย = ที่อาศัยของหญ้าคาที่ยิ่งใหญ่ (ระวังบางคำแปลงสระสั้นเป็นยาวบางตำแหน่งแล้วความหมายเปลี่ยน)
กุสลาสัย, กุศลาสัย, กุสลาลัย, กุศลาลัย = ที่อาศัยแห่งกุศล คุณความดี
มหากุสลาสัย, มหากุศลาสัย, มหากุสลาลัย, มหากุศลาลัย = ที่อาศัยแห่งกุศล คุณความดี ที่ยิ่งใหญ่
กุ = ชั่ว
กุชน = ทุชน, ทุรชน
กุรุ = ชื่อแคว้นโบราณในอินเดีย
กุรุส , กุรุส์ = ๑๒ โหล หรือ ๑๔๔ จำนวน
โกฏิ, โกฏิ์, โกฏ = จำนวนนับเท่ากับสิบล้าน
โกสน, โกสนา, โกสนํ, โกสนัย, โกสน์ = ไม้ประดับใบชนิดหนึ่ง
โกษ, โกษะ, โกษา, โกศา, โกษัย, โกษ์ = สิ่งที่ห่อหุ้ม, กล่อง, คลังทรัพย์, คลังอาวุธ ฯลฯ
โกษาธิบดี = ตำแหน่งพญาคลัง หัวหน้าเหรัญญิกของราชสำนักสมัยโบราณ
โกศ, โกศะ, โกศา, โกศัย, โกศ์ = หีบพระศพของกษัตริย์




ข.
ขยะ, ขยา, ขยัย = เศษขยะ, ของที่ไม่มีค่า
ขยับ = เคลื่อนไหว
ขีณาสพ, ขีณาสพะ, ขีณาสวะ, ขีณาสโว, ขีณาสวัย, ขิณาสพ, ขิณาสวะ, ขิณาสวา = ผู้หมดกิเลส, พระอรหันต์
ขัตติยา, ขัตติยะ, กษัตริยา, กษัตริย์ = กษัตริย์
เขต, เขตา, เขตัม, เขตัย = เขตแดน
เขม, เขมะ, เขมา, เขโม, เขมัย = เกษม, ยินดี, สบายใจ
เขมิกา = ผู้มีความเกษม
เขมกร = ผู้ทำให้เกษม
เขมร = ประเทศ หรือชาวกัมพูชา
โข, อักโข, อักโขภิณี = จำนวนนับหลักที่มีเลขศูนย์ ๔๒ ตัวตามหลัง, มากมาย เช่น มากโข

ค.
ครุ, คุรุ, ครู = หนัก , ยาก, ครู
คะลำ, ขะลำ = ความเชื่อข้อห้ามอีสาน, สิ่งที่ทำแล้วไม่ได้ไม่ควร
คละคลุ้ง = เหม็นกลิ่นของเค็มของเน่า
คละ = ปนกันไม่แยกชนิด หรือประเภท
คลุ้ง = ฟุ้งกระจาย, มีกลิ่นเหม็น
ขึด = ความเชื่อข้อห้ามล้านนา, สิงที่ทำแล้วไม่ดีไม่ควร
คมะ, คม, คตะ = ไป, ไปแล้ว เช่น พระสุคต  (พระผู้ไปดีแล้ว นิพพาน/บรรลุอรหันต์ หมายถึงพุทธเจ้า)
คติ = แนวคิด, สิ่งเตือนใจ, ภูมิที่ไปเกิด เช่น สุคติ, ทุกข์คติ
คาม, คามะ, นิคม, นิคมะ = หมู่บ้าน
คามบดี = ผู้ใหญ่บ้าน
คหะ, เคหะ, เคหา = บ้าน
คหบดี, เคหาบดี = เจ้าบ้าน
คุหา, คุหะ, คูหา = ห้อง, ถ้ำ, ช่องลงคะแนนเลือกตั้ง
คูหาสวรรค์ = ถ้ำที่อยู่ดังสวรรค์
สุวรรณคูหา = ถ้ำทอง
คุหะรัก = ถ้ำที่รัก , ถ้ำที่มีรัก, ถ้ำที่ทำรักกัน (คูหาสวาท)
คลาไคล (คฺลา-ไคฺล) = เคลื่อนที่ไป, เดินไป
คุกรุ่น (คุ-กรุ่น) =  ร้อนรุ่ม, ลุกติดไฟ
โค, ควิ, คาวี, เคาวะ, คาเวา = วัว
โคตร, โคตระ, โคตตะ, โคตรา, โคตตา = คอกวัว , ตระกูล, ต้นสกุล โคตมโคตร (สายสกุลของพุทธเจ้าที่มีพระฤาษีโคดมเป็นครู)
โควิน, โควินทา = พระกฤษณะ
เคารี = เจ้าแม่ทุรคา, เจ้าแม่กาลี
เคารวะ, เคารพ, เคาระพ์, เคาระว์, เคาร์วะ, เคาร์พะ, คารวะ = แสดงความเคารพ, แสดงความนอบน้อม, แสดงการให้เกียรติ 

ฆ.
ฆตะ = น้ำมันเนย, เปรียง
ฆนะ = หนา,ทึบ, แข็ง, แท่ง, ก้อน
ฆตฺวา, ฆาตะ, = ฆ่า, ทำลาย
ฆาตกรรม, ฆาตกัมมะ, ฆาตกัมมา, ฆาตกัมมัย = การฆ่า
ฆาตกร, ฆาตกรา, ฆาตกระ = ผู้ฆ่า
ฆร, ฆัร, ฆรา, ฆระ = บ้าน
ฆราวาส, ฆราวาสี = ผู้อยู่บ้าน , ผู้ไม่ใช่นักบวช, ปุถุชนคนธรรมดา
ฆาน , ฆานะ = จมูก
ฆานวิญญาณ์, ฆานวิญญาณ = รู้ผัสสะทางจมูก
โฆษ, โฆษา, โฆษะ, โฆษิต = เสียงดัง, ประกาศ, ป่าวร้อง
โฆษณา = สื่อและการโฆษณาบอกสรรพคุณสินค้า
โฆษก = ผู้ประกาศ
ธรรมโฆษก = ผู้ประกาศธรรม

ง.
งะงัน, งะเงิ่น, งะงก = ตัวสั่น, สะทกสะท้าน
งะงิด, งะงิด์ = เวลาค่ำ
หงุดหงิด, หงุด์หงิด์ = อารมณ์เสียเสมอ
งุนงง, งุน์งง = งง, มึน, ฉงน, สงสัย






หมายเหตุ: เมื่อมีการนำคำเหล่านี้ซึ่งส่วนใหญ่มีการตัดและเพิ่มเสียงสั้นยาว เพื่อแปลงคำให้เป็นครุลหุตามฉันทลักษณ์สำหรับฉันท์ในรูปแบบที่เรียนกันในฝ่ายฆราวาส ต้องอธิบายคำศัพท์นั้นเทียบกับคำที่สะกดถูกต้องตามราชบัณฑิต ฯ เป็นคู่เปรียบ ทั้งให้ความหมายไว้ด้วยทุกครั้ง เช่น


ศัพท์สำคัญ

๑. สุเคาวะ (ลหุ,ครุ,ลหุ) = สุโค กล่าวคือ สุ คือ ดี,งาม,ง่าย + เคาวะ แปลงจาก โค คือ วัว ดังนั้นในที่นี้ สุเคาวะ  หมายถึง วัวที่ดี, วัวที่งาม
๒. โฆษะกะ (ครุ,ลหุ,ลหุ) = โฆษก หมายถึง ผู้ประกาศ
๓. โฆษิตา (ครุ,ลหุ,ครุ)= โฆษิต หมายถึง ป่าวร้อง
......ฯลฯ.........


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น