กรุณาอ่านข้อความด้านล่าง และทำความเข้าใจ
ศัพท์ทั้งหมดนี้บันทึกไว้เพื่อเป็นคลังให้ ผู้สนใจการแต่งฉันท์หยิบยืมไปสร้างคำและประโยคใช้เข้ากับฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์ที่มี ครุ และลหุ เป็นสำคัญหลายคำในที่นี้จึงมีรูปเขียนและการอ่านไม่ตรงกับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน จึงไม่ควรนำคำใดในที่นี้ไปสอนเด็กเขียนสะกดคำถูกผิดในระดับชั้นการศึกษาขั้นพื้นฐาน และใช้ได้เพียงเป็นสื่อในการเรียนรู้การประดิษฐ์คำของกวีที่ใช้ในการแต่งกวีนิพนธ์ในชั้นสูงเท่านั้น
น.
นักษัตร์, นักษัตระ, นักษตรา, นักษะตระ, นักษาตระ = สัตว์ประจำสิบสองปีของจีน, ๒๗ กลุ่มดาวของอินเดีย, ดวงดาว
นักสิทธิ์, นักสิทธะ = ฤาษี, นักบวช
นักสิทธิ = ผู้เรียกร้องสิทธิเพื่อความเสมอภาพของสังคม
นักธรรม = ผู้สอนความรู้ธรรมตามหลักสูตรตามหลักสูตรสำหรับพระสงฆ์ไทยแบ่งเป็น ตรี โท และเอก
นข, นัข, นขะ, นขา, นโข = เล็บ (ในสันสกฤตคำว่า "นข" เป็นได้ทั้งปุํลิงค์และนปุงสกลิงส์)
นนา, นนะ = ใบหน้า เช่น คชนนา (คะ-ชะ-นะ-นา) คือ นางโยคินีหน้าช้าง
นร , นรา = คน, ชาย
นริ, นรี, นาริ,นารี = หญิง
นาฬิกา = เครื่องดูเวลา, ชั่วโมง, โมง
นเรศ, นริน, นรินทร์, นรินทระ = พระราชา
นันท์, นันทะ, อานันท์, อานันทะ = เพลิดเพลิน, ยินดี, เป็นที่รัก (ไว้หลังชื่อเทพเจ้าแปลว่า เป็นคู่รัก หรือลูก ศิวนันทนา แปลว่า ผู้ทำให้พระศิวะยินดี ที่รักของพระศิวะ คือ พระคเณศ พระขันธกุมาร)
นันต์, นันตะ, อนันต์, อนันตะ, อานันตะ = ไม่สิ้นสุด , เป็นนิรันดร์
อันตะ = ที่สุด
นิลุบล (นิ-ลุ-บน), นิลุบละ (นิ-ลุ-บะ-ละ), นีลุบลา, นิลุบลา, นิลอุบล (นิ-ละ-อุ-บน / นิล-ละ-อุ-บน) = บัวผันที่บานกลางวันสีม่วง, บัว
นุ, อนุ = ตาม
นุชา, อนุชา , อนุชะ = น้อง, น้องชาย
นุช , นุชะ = น้อง, น้องสาว
เนตร, เนตระ, เนตรัม, เนตรา = ดวงตา เช่น สุเนตระ (ลหุ-ครุ-ลหุ)
โนรี = นกปากขอคล้ายนกแก้วขนแดง
โนรา = รำพื้นเมืองทางภาคใต้นิยมเล่นเรื่องพระสุธนมโนห์รา
มโนห์รา, มโนราห์ = งามดังใจปรารถนา เป็นชื่อนางเอกในเรื่องพระสุธน ชาดกนอกนิบาตของไทย ชื่อมีผู้สันนิษฐาน ตอนตามนางได้รับอิทธิพลจากเรื่อง "สุธนกุมาร" ตามหาอาจารย์สอนธรรมในนิทานพุทธศาสนามหายานโดยพระสุธนไทยตามหานางที่รักเพราะแรงกรรม ส่วนสุธนกุมารตามหาโลกุตรธรรม....ส่วนอนุภาค plot ต้นเรื่องที่สามัญชนจับนางฟ้ามาเป็นชายาโดยยึดสิ่งของบางอย่างมาทำให้นางกลับสวรรค์ไม่ได้ แล้วกลางเรื่องนางได้ของวิเศษเช่นปีก หรือผ้าคืนจนหนีกลับสวรรค์ได้ มีอยู่ในนิทานอาหรับ เปอร์เซีย จีน และญี่ปุ่น สันนิษฐานว่า เดิมเป็นนิทานอาหรับเปอร์เซียส่งอิทธิพลต่อชาดกมหายานแล้วแพร่หลายไปทั่วโลก จนต่อมาส่งอิทธิต่อชาดกนอกนิบาตไทยในภายหลัง
ป.
ปทุมะ (ปะ-ทุม-มะ), ประทุม, ปทุมา (ปะ-ทุม-มา) = บัวหลวง, บัว
ประไพ = สวยงาม
ประภา = แสงสว่าง
ประภู, ประโภ = ผู้มีอำนาจ, ผู้เป็นใหญ่
ปุษบา, บุษบา, ปุษบะ, บุษบะ = ดอกไม้
ปุษยะ, ปุษยา, บุษยะ, บุษยา = กระจุกดาวปากปู (ราศีกรกฏ) ไทยเรียกดาวปุยฝ้าย
ปุษรา,บุษรา, ปุษราคม, บุษราคม = พลอยสีเหลือง
โปกขรณี, โบกขรนี (โบก-ขอ-ระ-นี/โบก-ขะ-ระ-นี) = สระบัว
ปรพรหม (ปะ-ระ-พรม), ปรพรหมา (ปะ-ระ-พรม-มา) = ก่อนพรหม พรหมสูงสุด พระเป็นเจ้าสูงสุด
ปรมพรหม (ปะ-รม-มะ-พรม) = พรหมที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
ปรเมศวร (ปะ-ระ-เม-สวน) ปรเมศวระ (ปะ-ระ-เม-สะ-วะ-ระ) = ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด หมายถึง พระอีศวร หรือพระกฤษณะ
ปรศักติ (ปะ-ระ-สัก-ติ) , ปราศักติ (ปะ-รา-สัก-ติ) = ก่อนศักติ, ศักติ (เจ้าแม่) สูงสุด
ปรสรรค (ปะ-ระ-สัก) = คำเชื่อมซึ่งบอกหน้าที่ของคำในภาษาฮินดี
ประสงค์, ประสงคะ= ต้องการ, จำนงจิต
สงค์, สงคะ = ข้องอยู่, ติดอยู่
ปริ (ปะ-ริ) , ปรี (ปะ-รี) =โดยรอบ
ปริย์ (ปฺริ), ปรีย์ (ปฺรี) , ปริยา (ปฺริ-ยา) , ปรียา (ปฺรี-ยา) , ปริโย (ปฺริ-โย), ปิยะ , ปิยา, ปิโย = ที่รัก
ปริ (ปฺริ) = แตกออก, รอยปริ
บาป, ปาปะ = บาป, มลทิน
ผ.
ผกา = ดอกไม้
ผล, ผละ (ผะ-ละ), ผลา = ผลไม้, ผลของกรรม
ผลิต = ก่อให้เกิดผล, สร้าง
ผลิ , ผะลิ= บาน, เปิดออก (ใช้กับพืช และดอกไมื)
ผลาญ , ผะลาญ = ทำลาย
ผจญ = ต้องเผชิญ ต้องพบกับ
เผชิญ = ประจันหน้า หรือต้องพบกับ ยอมรับ ต่อสู้ปัญหา
ผุ = กร่อน, สึก
ผิว์, ผิ = ผิว่า, ถ้าว่า
ผญา = คติสอนใจ, คำสอนอีสาน, ปัญญา
บ.
บุญ, บุญญะ, ปุณยะ, บุณยะ = บุญ
บรมะ, ปะระมา, บรมา, ปรมา = ที่ยิ่งใหญ่สุด
บารมี, ปารมี = อำนาจบุญ
ปิตฤ (ปิ-ตฺรึ/ ปิ-ตะ-รึ) ปิตา, บิดา = พ่อ
ปุราณะ, โปราณะ, โปราณา , บุราณะ , โบราณะ, โบราณา = เก่าแก่ , นิทานเก่า
ปุระ, ปุรี, ปุรา, บุระ, บุรี, บุรา = เมือง
บงกช (บง-กด), บงกชะ (บง-กะ-ชะ), บงกชา = บัว
บงสุ, บงสุ์ = ฝุ่นธุลี
บาท, ปาท, บาทะ, ปาทะ = เท้า
บาท = เงินบาท
บท = บทเรียน, บทกลอน
บทมาลย์ (บด-ทะ-มาน) = เท้าดังดอกไม้ หมายถึงเท้าคนมีบุญ
พ.
พระ = พระเจ้า, กษัตริย์, พระสงฆ์, พระเอก
พละ, พลา, พลัย = กำลัง
พลราม = พี่ชายพระกฤษณะ
พารา = เมือง
พาละ, พาลา , พาลัย = เด็ก, คนพาล, คนชั่ว
พาลี = พญาลิงที่ถูกพระรามฆ่า
พาลาสุระ , กรุงพาล = อสูรที่ถูกวามเทพ อวตารพระนารายณ์ไล่ไปอยู่เมืองบาดาล
พญา, พระยา = ตำแหน่งขุนนางใหญ่ เป็นใหญ่
พิศ, พิศะ = มอง, มองดู
วิษะ, วิสะ , วิษ์, วิส์ = ยาพิษ, ดูชม
พิษ, พิษะ = ยาพิษ
พิษยา (พิด-ยา) = พิษและยา
พิศัย, พิศยะ, พิษัย, พิสัย, พิสยา, วิสัย, วิสยะ , วิสยา= มุมมอง วิสัยทัศน์ (ไม่ควรใช้ พิษยะ) , วัตถุที่มองแล้วทำให้ยินดี, งาม
สุวิสยา (สุ-วิ-สะ-ยา), สุพิศยา (สุ-พิด-สะ-ยา/ สุ-พิ-สะ-ยา), สุพิศ = น่าดูชม , งาม
นิสัย, นิสยะ = นิสัย, พฤติกรรมที่กระทำตามความเคยชิน
พิลาป, พิลาปะ, วิลาป, วิลาปะ = คร่ำครวญ, ร้องไห้
พิราบ = นกพิราบ
พุธ, พุธะ = วันพุธ, เทพฮินดูประจำวันพุธเป็นลูกของพระจันทร์ "จันทรบุตร"
พุทธ, พุทธะ, พุทโธ = พระพุทธเจ้า, ศาสนาพุทธ
พุทธญาณ, พุทธญาณ์, พุทธญานะ, พุทธฌาน, พุทธฌาน์, พุทธฌานะ = ญานรู้ของพระพุทธเจ้า
โพธิ, โพธี, โพธิ์ = ต้นโพธิ์
โพธิญาณ, โพธิญาณ์, โพธิญาณะ, โพธิฌาน, โพธิฌาน์, โพธิฌานะ = ญาณรู้ของโพธิสัตว์, การบรรลุเป็นพระโพธิสัตว์
ภ.
ภวะ, ภาวะ = ภาวะ, ความมี ความเป็น
ภวานี = นามของเจ้าแม่อุมาเทวี
ภคะ, โภคะ, โภคา, โภค = โชคลาภ
ภคิน, โภคิน, โภคินา, โภคินี, โภคินัย= ผู้มีโชค
ภคินี, ภคินิ = พี่สาว, น้องสาว
ภาคี, ภาคิน = ผู้มีส่วนร่วมในกิจการ, ผู้เป็นฝ่ายเดียวกัน
ภาคิไนย, ภาคินัย = ลูกของพี่สาวน้องสาว
ภาติยะ, ภาติยา = ลูกของพี่ชายน้องชาย
ภาวนะ, ภาวนา = ขอให้มีขอให้เป็นขึ้น, สวดมนต์, วิงวอน
ภาระ, ภะระ = งาน หรือหน้าที่ซึ่งหนักมาก , ชื่อมาตราวัดน้ำหนักสมัยก่อน
ภารตฤ (ภา-เรอะ-ตฺรึ/ ภา-เรอะ-ตะ-รึ), ภารดา = พี่ชายน้องชาย
ภารตะ, ภารตา, ภารตียะ, ภารติยา = ลูกหลานของราชาภรต, คน หรือ ประเทศอินเดีย
ภู = ยอดผา, ภูเขา
ภูมิ , ภูมี = พื้นดิน, ถิ่นฐาน , ภูมิคุ้มกันโลก
ภูมินทร์, ภูมิน, ภูเมศวร, ภูเมศ = พระเจ้าแผ่นดิน
ภุมรา (ภุม-มะ-รา), ภุมริน ภุมรินทร์, ภุมระ, ภุมรี, ภมร (พะ-มอน), ภมรี , ภมริน = ผึ้ง แมลงภู่ แมลง
ภุมมะ = ยาม ๑ ในแปดยามเวลากลางวัน
เภรี, เภริ, ไภริน, ไภรี = กลอง
ม.
มาตฤ (มา-ตรึ/ มา-ตะ-รึ), มารตา, มารดา, มาตา, มาดา
มาติกา = บทสวดแม่บทในพิธีบังสุกุล
มน, มนะ, มนา = ใจ, ความคิด
มาน, มานะ = ความพยายาม, การถือดี, ทิฐิ (ถ้าจะใช้ในความหมายของคำว่า "ใจ" ต้องอธิบายศัพท์)
มยุร์, มยุระ, มยุรา, มยุรี, มยุรัย = นกยูง
มายา = เวทมนต์, ภาพลวงตา, เสแสร้ง
มายาวี = นามอสูรในเรื่องรามายณะ เป็นบุตรของมายาสุระ อสูร ผู้ได้ชื่อว่าเป็นนายช่างของเหล่าอสูร พี่ชายของนางมณโฑ
มายาคติ = ความเห็นผิด, ความสำคัญผิด , ความเชื่อที่ไม่เป็นจริงสืบต่อกันมา
มร, มระ, มรา , มรัย = ตาย
มาร , มาริน , มาร์ = ยักษ์ร้าย, อสูร
มาห์, ม่าห์ = ผี, ยักษ์, อมนุษย์, เดรัจฉาน
มิตร, มิตรา = เพื่อน
มินตรา = ต้นกระถิน
อมิตร = ผู้เป็นศัตรู
มุข, มุขะ, มุขา, มุขี, มุโข = หน้า
มุโขโลกนะ, มุโขโลกนา = เห็นแก่พวก เห็นแก่หน้า
มุก, มุกะ = ไข่มุก
เมรัย = เหล้า
เมรี = นางเอกในเรื่องพระรถเมรี ซึ่งเป็นนิทานชาดกนอกนิบาต นางเมรีเป็นยักษ์ถูกมอมเหล้า จนสามีคือพระรถหนีไปจนช้ำใจตาย
มุติ = ความเห็นใจ, เข้มใจ
มุตติ, วิมุตติ = ความหลุดพ้น
โมกษ์, โมกษะ, โมกษา = การหลุดพ้นจากวัฏสงสาร
โมรี, โมริ, โมริยา, เมารี , เมาริ, เมาริยา= นกยูง
เมาริยะ , เมารียะ = ราชวงศ์ของพระเจ้าอโศก
ย.
ยะยิ้ม = ยิ้ม
เยาะยิ้ม = ยิ้มอย่างดูถูก, ยิ้มยั่ว
ยุวะ = หนุ่ม สาว อายุน้อย
ยุวะบุตร = ลูกน้อย
ยุพราช, ยุวราช= ราชาน้อย เจ้าชาย หรือรัชทายาท
ยุวนัร, ยุวนรา, ยุวบุรุษ = ชายหนุ่ม
ยุวนรี, ยุวนารี, ยุวสตรี, ยุพิน, ยุวปุรุษี = หญิงสาว
ยุรยาตร (ยุ-ระ-ยาด) , ยุรยาตรา , ยัวรยาตร, ยัวรยาตรา= เดินอย่างงดงาม
โยชน์, โยชนา = ระยะทางไกลมาก (๑ โยชน์ = ๑๖ กิโลเมตร)
โยธี, โยธา, โยธิน = กองกำลังทหาร, พลทหาร
โยนี = ฐานรองศิวลึงค์, อวัจวะเพศหญิง
โยนก = ชาวกรีก , ชาวล้านนา, ชาวไท-ยวน
เยาวะ, เยาวรูป , เยาวลักษณ์ , เยาวลักษณา= ความหนุ่ม สาว
เยีย, เยียระ, เยียร์ = งาม
ร.
รักษะ, รักษา = รักษา, ทำให้คงเดิม, คุ้มครอง, ทำให้ปลอดภัย, ทำให้ไม่สูญเสีย หรือสูญหาย
รติ, รดิ, รตี, รดี, ฤดี, ดวงฤดี, ดวงแด = ใจ
รตะ = ความยินดี (ควรให้คำอธิบายศัพท์ไว้ด้วยถ้านำไปใช้)
รมะ, รมา, รมย์ = ความยินดี ความพึงใจ ความงาม
รวิ, รวี = พระอาทิตย์
ระยะ = ระยะทาง
ราม, รามะ = พระราม, งาม, หนุ่ม
รามจันทร์ = ชื่อเต็มของพระราม
นงราม= นางงาม (อนงค์{นง} +ราม)
รามัญ = ชนชาติมอญ
รายา, ราชา, ราชินทร์, ราชัน = พระราชา
รุจิ, รุจี, รุจิระ,รุจีระ รุจิรา, รุจีรา = งาม, สว่าง, น่ายินดี
รุทระ, รุทรา = น่ากลัว, กึกก้อง, อึกทึก ปางหนึ่งของพระศิวะ
รุธิระ , รุเธียร, รุเธียระ = เลือด, สีแดง
โรจนะ, โรจนา = รุ่งโรจน์
รัชดา, รชตะ, รชดา = แร่เงิน, เครื่องเงิน
รักตะ, รักตา = เลือด, แดง
ล
ลภะ, ลาภะ = สิ่งที่ได้มา, โชคลาภ
ลิลา, ลีลา = การแสดง, บทบาท, ท่าทางอันงดงาม
ลีลาวดี = ดอกลั่นทม หรือ "จำปาลาว" ก็เรียก
ลวะ, ละโว้, ลพ = อาณาจักรขอมโบราณ
ลาม = ลวนลาม, กิริยาล่วงเกิน , แพร่ขยายไปโดยเร็ว
ลามะ = พระสงฆ์มหายานของรัฐธิเบตในจีน
ลาวา = หินหลอมละลายจากในภูเขาไฟ หรือใต้เปลือกโลก
ลาวะ, ลาว = ชนชาติ หรือประเทศลาว , ชาติพันธุ์พี่น้องชาวลาวในประเทศไทย
ลิงคะ, ลิงค์ , ลิงคัม = เพศ, ศิวลึงค์
ลิงคำ = วานรทองคำ
ไลลา = เยื้องกราย, ไปมา
โลม = เล้าโลม, ปลุกอารมณ์
โลมะ, โลมา = ขน
โลมา = ปลาโลมา (เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลชนิดหนึ่ง)
โลหิต, โลหิตา = เลือด
ที่มา https://en.m.wikipedia.org/wiki/File:Russia_18%2B.svg
ว.
วายุ, วะยุ = ลม
วร, วรา, วรํ, วรัย = พร, ประเสริฐ
วริยา = ผู้ประเสริฐ
วริศวรา, วริศรา, วเรศวร, วเรศวระ, วเรศวรา = ผู้เป็นใหญ่ในพรทั้งหลาย
วรุณ, วรุณะ, วรุณา, พิรุณ, พิรุณะ, พิรุณา = ฝน, เทพแห่งฝน (ตำนานแขกว่าเป็นตนเดียวกับพระสมุทร)
วาร, วาระ, วารา = โอกาส
วาริ, วารี , วาริน = น้ำ
วาริช, วาริชะ, วาริชา =เกิดจากน้ำ, ดอกบัว, ปลา
วารุณี, วรุณี = เทพธิดาแห่งเหล้า และน้ำเมา ว่ากันว่าเกิดจากกวนเกษียรสมุทร บางตำนานว่าเป็นลูกสาว และชายาของพระวรุณ
วาริศา = มหาสมุทร
วารินิธิ, วารินีธิ, วารินีธิ์ = มหาสมุทร
วาสุกี = พญานาคเจ้าบาดาลโลกน้องชายอนันตนาคราช
วราหะ , วราหา= อวตารเป็นหมูของพระนารายณ์, หมู
วิริยะ, วิริยา, พิริยา, = ความวิริยะ ความเพียร
วีร์, พีร์, วีระ,พีระ, วิระ, พิระ, วีรา, พีรา, วีรัย = ความกล้า
พิไร, พิรัย, พีรัย = รำพัน, คร่ำครวญ
วีรยา, พีรยา , วีรชน, วีรชนา, พีรชน, พีรชนา= ผู้กล้า
วีรชนะ, พีรชนะ = ชัยชนะของคนกล้า
วิรุฬห์, วิรุฬหะ, วิรูธ, วิรูธะ, วิรูฒ, วิรูฒะ = เจริญ, งอกงาม
วิรุฬหก = เทพรักษาทิศใต้ หนึ่งในจตุโลกบาล
วลาหก, วลาหกะ = เมฆ
วสันต์, วสันตา, วสันตัย, วสันตฤดู = ฤดูใบไม้ผลิ
วุฒิ = ภูมิรู้, ความเจริญ
ศ-ษ-ส.
สกล, สะกะละ, สากล = ทั่ว, ทั่วไป, ระดับโลก เช่น สกลกาย (สะ-กน-กาย= ทั่วร่างกาย) สากลโลก (ชาวโลกทั่วไป, ทุกประเทศเขตแดน, ระดับโลก, เป็นที่นิยมทั่วไป)
สักการะ = บวงสรวง, บูชา, เซ่นไหว้
สงค์, สงคะ, สังคะ = ติดอยู่, ข้องอยู่
สงฆ์, สงฆะ, สังฆะ = องค์พระชุมของพระภิกษุ (หมู่สงฆ์) , พระสงฆ์
สงข์, สงขะ, สังขะ, สังข์ = หอยสังข์
สังขยา, สงขยา, สังขยานํ, สงขยานา = จำนวนนับ , ทฤษฎีคู่เปรียบตรงกันข้าม หญิงชาย เย็นร้อน มืดสว่าง คล้ายหยินหยางของจีน ในอินเดียเป็นหนึ่งในทัศนะทั้ง ๖ และเป็นคู่กับโยคะ, ขนมไทยชื่อ "สังขยา"
สังคายนา = ความหมายรากศัพท์คือ "สวดพร้อมกัน" ความหมายใช้กันคือ สอบทานตรวจคำสอนทางศาสนา จัดหมวดหมู่ แล้วเรียบเรียงหรือจัดพิมพ์ใหม่
สจะ, สัจ, สัตย์, สัจจะ (สัด-จะ), สัจจา (สัด-จา), สัตยะ (สัด-ตะ-ยะ), สัตยา (สัด-ตะ-ยา) = ความสัตย์, ความจริง
ศจี (สะ-จี) = ชื่อหนึ่งของนางอินทราณี ชายาเอกของพระอินทร์ จากตำนานฮินดูที่ว่าเป็นธิดาอสูร เชื่อว่าเป็นตนเดียวกับนางสุชาดาชายาหนึ่งในสี่ของพระอินทร์ในวรรณกรรมบาลีคือ สุธรรมา, สุจิตรา, สุนันทา และสุชาดา ผู้ขึ้นสวรรค์มาตนสุดท้ายเพราะไปเกิดเป็นนกยูง ทำให้พระอินทร์ไปโปรดให้รักษาศีล จึงไปเกิดเป็นมนุษย์บำเพ็ญเพียรอีกหลายชาติ ชาติสุดท้ายเป็นธิดาอสูร เมื่อหมดกรรมวันเลือกคู่พระอินทร์จึงปลอมเป็นยักษ์ชราไปให้เลือก เมื่อนางสุชาดาเลือกยักษ์เฒ่าด้วยบุพเพสันนิวาส พระอินทร์จึงคืนร่างเดิมเหาะพาหนีขึ้นสวรรค์ บางตำนานว่าเป็นชนวนเหตุให้พระอินทร์รบกับเมฆนาทบุตรของทศกัณฐ์ เนื่องจากเมฆนาทต้องการมาสู่ขอนางสุชาดามาเป็นชายาเมื่อรู้ว่าพระอินทร์มาลักไปแล้วก็โกรธ จึงร่วมกับทัพพญาอสูรเวปจิตติบิดานางสุชาดา เดินทัพไปท้าพระอินทร์รบ แต่เมื่อชนะพระอินทร์แล้วได้ชื่อว่า "อินทรชิต" ก็ภูใจพอใจแล้ว จึงไม่ตามไปชิงนางสุชาดากลับมาเพราะนางกลายเป็นชายาของพระอินทร์ไปแล้วไม่ใช่สาวบริสุทธิ์ เมื่อครั้งไปช่วยทศกัณฐ์รบที่เมืองนาค เมื่อปราบพวกนาคได้แล้วจึงขอธิดาพญานาคตนหนึ่ง บางตำนานว่าเป็นลูกสาว บางตำนานว่าเป็นหลานอนันตนาคราชชื่อ "สุโลจนา" (ชื่อนางตางาม, ไม่ตรงกับรามเกียรติ์ไทย) มาเป็นชายาแทน ส่วนนางสุชาดา หรือ "ศจี" เมื่อกลายเป็นชายาเอกของพระอินทร์ได้ชื่อว่า อินทราณี เป็นหนึ่งในเจ็ดสัปตมาตริกา เจ้าแม่ทั้งเจ็ดปางของทุรคาเทวี ในทางอินเดียใต้ว่า "เจ็ดพี่น้องของนางมีนักษี (อวตารของทุรคาเทวี)" ซึ่งมีหลักฐานเป็นรูปวาดล้อมรอบภาพปศุบดี (อวตารพระศิวะ) มาแต่ยุคอารยธรรมสินธุ (ประมาณกว่าสามพันปีก่อน)
อนึ่งอนุภาค plot นางนกยูงบำเพ็ญเพียงจนกลายเป็นชายาพระเจ้า ยังปรากฏในตำนานท้องถิ่นของเขต "มยิลาปปูร" (คนทมิฬอ่าน ไม-ลา-โปร) ในเมืองเชนไน รัฐทมิฬนาฑูของอินเดีย แต่เปลี่ยนจากเรื่องของนางศจีกับพระอินทร์ มาเป็นพระอุมากับพระศิวะผู้สาปให้พระอุมามาเกิดเป็นนกยูงด้วยความโกรธ
โลจนะ = ดวงตา
สะมะ / สมะ = เสมอ, เหมือนกัน, สมกัน, ความสงบ
สมา (สะ-มา) = ขอโทษ, ปี
สมาทาน = รับศีล, ถือปฏิบัติ
ทาน, ทานะ, ทานํ, ทานา, ทานัย = ให้ทาน, การให้, ของที่ให้ทาน
ทาน = รับประทาน, กิน
สมณะ / สะมะณะ = นักบวช
สมฤติ (สะ-มะ-รึ-ติ) = ระลึกเอา
สมมติ (สม-มด-ติ) , สมมุติ (สม-มุด-ติ) , สมมะติ , สมะมะติ= นึกเอาว่า
สมัย, สะมะยะ = กาลเวลา
สะยะนะ , สยนะ , ไสยนะ , ไสยาสน์ , ไสยาสนะ , ไสยา = ที่นอน
ไสยะ, ไศวะ, ไสยาคม, ไสยาคมะ = ไสยศาสตร์
สระ = อักษรสระ, ตัวสระ, สัญลักษณ์แทนเสียงสระ, สระน้ำ
สร, ศร, สรา, ศรา = ลูกศร
สละ = การเสียสละ, การละทิ้ง
สลา (สะ-หลา) = หมาก, หมากพลู เช่น สลาเหิน (หมากพูลกลายเป็นแมลงภู่บินได้ที่ปู่เจ้าสมิงพรายเสกให้ลอยไปตกในพานหมากของพระลอ แล้วกับร่างเป็นหมากเหมือนเดิมเพื่อให้พระลอกินแล้วหลงสเน่ห์พระเพื่อนพระแพง)
สวระ ,สะวะระ, สะพะ , สัพ,สรรพ, สัพพะ, สรรพะ = สิ่งต่าง ๆ, สิ่งทั้งหลาย
สวะ (สะ-หฺวะ), สะวะ = ขยะ , กลุ่มก้อนพืชลอยน้ำ
ศรี ,สีริ์, สฺรี , สิริ์, สิริ, สิรี, สีริ, สริ = ศรี , มงคล, ดี
ศิระ, สีระ, สิระ ,ศีรษะ, เศียร = หัว
สรีระ , สรีร์, สริร์, สริระ, สะรีระ = ร่างกาย
สหะ = ร่วมกัน, ของกลาง, ทั้งหลาย เช่น สหชายา (ภรรยาร่วมกัน ดังเช่น นางกฤษณาเทราปที เป็นชายาของกษัตริย์ปาณฑพทั้ง ๕ คือ ยุธิษฐิระ युधिष्ठिर, ภีมะ, อรชุนะ, นกุล และสหเทพ เนื่องจากในอดีตชาตินางขอพรให้ได้สามีเป็นเลิศและเก่งในทุก ๆ ด้าน จากพระศิวะ แต่คุณสมบัติทั้งหมดในสมัยนั้นมีอยู่ในใครเพียงคนเดียวไม่ได้ นางจึงต้องได้สามีห้าคนเพื่อให้ครบตามพรที่นางเคยขอไว้ ปล. เชื่อว่าสังคมโบราณที่เป็นสังคมเกษตรกรรม สตรีมีอำนาจเหนือบุรุษและสามารถมีสามีหลายคนได้เพราะศีลธรรมที่ถูกกำหนดโดยบุรุษยังไม่รับการยึดถืออย่างเข้มงวดเหมือนเช่นยุคสมัยต่อ ๆ มา)
สหโลกธาตุพุทธเกษตร, สหโลกธาตุ = โลกร่วมกัน หมายถึงโลกมนุษย์เพราะเป็นดินแดนที่เป็นศูนย์กลางของการบำเพ็ญเพียรของพระโพธิสัตว์ กระทำบุญกุศล และโลกมนุษย์คือพุทธเกษตรที่ตรัสรู้ของพระสมณโคดม (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันผู้นิพพานแล้ว) เป็นสุคติภูมิ แต่ใจมนุษย์มีทุกข์เพราะถูกอวิชชาและตัณหาบังไว้ ตามคติของมหายานนิกายที่นับถือคัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตร
สหัส, สหัสะ, สะหะสะ = หนึ่งพัน เช่น สหัสนัยน์ (พันเนตร, นามพระอินทร์)
สุวะ = นกแขกเต้า
สุวัณณะ, สุวรรณะ, สุวะระณะ = ทอง
สิวะ, สีวะ = ความดี, มงคล , พระศิวะ
ศิวะ, อีศะวะระ, อีศวร (อี-สวน), อิศวร ( อิ-ศวร) = พระศิวะ
ศนิ = เทพประจำวันเสาร์บุตรพระอาทิตย์ "สุริยบุตร"
สุนิศา, สุนิสา = กลางคืนที่งาม
สุนิศากร, สุนิษากร, สุนิสากร = พระจันทร์ที่งดงาม
อิสระ (อิด-สะ-ระ) = ความเสรี
เสรี, เสริ = อิสระ
เศวตร, เสวตร, เศวต (สะ-เหฺวด), เศวตะ , เสวต (สะ-เว-ตะ) เศวตระ, เสวตระ (สะ-เว-ตระ/ สะ-เว-ตะ-ระ) = ขาว, สีขาว
ไศล (ไส-ละ/ สะ-ไหฺล) , ศิลาลัย = ภูเขา, ภูเขาหิน
ศิลา ศิละ ศิไล , ศิลัย = หิน
สูญ, สุญ, สุญญะ, ศูนยะ, สุญฺญตา (สุน-ยะ-ตา), ศูนฺยตา (สูน-ยะ-ตา) = ความว่างเปล่า
สัตย์, สัตยา (สัด-ตะ-ยา), สัจ, สัจจะ, สัจจา, สะจะ
โสภะ, โสภา, โสภี , โสภิยา = งาม
สุภ, สุภะ, สุภา = มงคล, ดีงาม
สุ= ดี, งาม, ง่าย
สุต, สุโต = ลูกชาย
สุตา, สุดา = ลูก, ลูกสาว
สุตะ, สุติ, ศรุต, ศรุติ = การได้ยิน
สูตร = สูตรอาหาร, กฏคณิตท่องจำ
พระสูตร = พระสุตตันตปิฎก, พระสุตตันตะ , พระไตรปิฎกฝ่ายพุทธประวัติ ชาดก ฯลฯ
โสต = ช่องหู
สุทธิ, สุทธ์, สุทธิ์, บริสุทธิ์ = แท้, ล้วน, ไม่เจือปน, สะอาด
สุวีระ, สุวีร์, สุวิร์ = ผู้กล้าที่ดี
สุภัย = ภัยที่ดี ? (ไม่ควรใช้ว่า มงคล โชค สุภะ ถ้าไม่จำเป็น)
อภัย, อะภะยะ, อภยะ, อะภะยา, อภยา = ไม่มีภัย ให้อภัย
สุท้ศน์, สุทัศนะ, สุทัศนา = ความเห็นที่ดี
สุทัศนจักร = ชื่อจักรของพระนารายณ์ ที่ตำนานว่าพระศิวะเป็นผู้มอบให้ เพราะพระนารายณ์เป็นสาวกผู้ภักดีของพระศิวะ ซึ่งถือว่าเป็นอาวุธที่มีอานุภาพที่สุดในจักรวาลฮินดู เพราะแม้แต่ฤาษีทุรวาสบุตรพระศุกร์ผู้เป็นอวตารของพระศิวะและนักสาปยังสู้ด้วยไม่ได้ ถูกสุทัศนะทำลายคำสาป และถูกสุทัศนะไล่ฟันไปทั่วจักรวาล จนเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่พระฤาษีทุรวาสต้องไปขอโทษคนที่ตนสาปไปโดยไม่คิดถึงความถูกต้อง คือ พระราชาอัมพฤษ (อัมพ์-รึษ) ผู้ได้พรจากพระนารายณ์ว่าจะได้รับการปกป้องจากภัยทั้งหลายด้วยสุทัศนจักร
เศษ, เศษะ = ส่วนที่เหลือ, เศษนาคราช ซึ่งเป็นบัลลังก์ของพระนารายณ์ในเกษียรสมุทร และเป็นพี่ชายวาสุกีนาคราชเจ้าบาดาลโลก
ภาพสัปตมาตริกาทั้งเจ็ดรำรอบปศุบดี (ด้านบน) ยุคอารยธรรมสินธุ
ที่มา https://sreenivasaraos.com/category/devi/page/2/ภาพเจ็ดพี่น้องของนางเทพมีนักษี (ตาเหมือนปลา)
ที่มา https://www.templepurohit.com/sapta-matrika-7-incarnation-goddess-shakti/
ห.
หยะ, หัย (ไห/ไห-ยะ) , ไหยะ = ม้า
หยครีวะ, หยครีพ, หัยครีวะ, หัยครีพ = นามของอวตารพระนารายณ์ผู้เป็นราชาของพวกกินนรมีเศียรเป็นม้า ซึ่งกลายเป็นอสูรในตำรานารายณ์ยี่สิบปาง และนารายณ์สิบปางบางสำนวนของไทย
หยนนา (หะ-ยะ-นะ-นา) = นางโยคินี หน้าม้า
หยมุขี = หน้าม้า, นางยักษ์หน้าม้า
หิรัณยะ, หิรัญ (หิ-รัน-ยะ, หิ-รัน) = สีเงินยวง, เงิน , แสงเงินแสงทอง (บางแห่งว่า ทอง)
หิริ = ความละอายต่อบาป
หริ = นามพระนารายณ์
หระ = นามพระศิวะ
หริหระ = ปางพระนารายณ์รวมร่างกับพระศิวะ, เทพไอยัปปาทางอินเดียใต้ที่อ้างว่าเป็นลูกชายของพระนารายณ์ (ตอนแปลงเป็นนางโมหินี मोहिनी) กับพระศิวะ
หิมะ, หิมา, หิมํ = หิมะ, ปุยผลึกน้ำในฤดูหนาวหรือภูเขาหิมะ
หิมาลัย, หิมาลยะ, หิมาลยา, หิมาลายัน = ภูเขาหิมาลัย
หิมวัต, หิมวันต์, หิมวันตะ, หิมวันตา = ภูเขาหิมาลัย
เหมะ, เหมา, เหมัย = ทอง
เหมคิรี = ภูเขาทองคำ
เหมหัตถี = ช้างผิวทอง
เหมันต์, เหมันตะ, เหมันตา = ฤดูหนาว
เหมราช = สัตว์ที่ตัวเป็นสิงห์หัวเป็นหงส์, จรเข้ชนิดหนึ่งในป่าหิมพานต์, พญาหงส์ ก็ว่า
เหมหงส์ = สุวรรณหงส์, หงส์ทอง
ภาพ: ลายไทย "เหมราช"
ที่มา http://www.himmapan.com/thai/himmapan_lion_hemaraj.html
อ-อา ฯ
อะ, อนะ = ไม่
อักษะ, อักขะ = เพลา, แกน
อักษิ, อักขะ = ดวงตา
อักโข, อักโขภิณี, โข = จำนวนนับมีศูนย์ ๔๒ หลัก, มากมาย, มากโข
อักษร, อักษรา, อักขระ, อ้กขรา = ตัวอักษร
เอก, เอกะ = หนึ่ง, เป็นเลิศ, โดดเด่น, ชำนาญ
อันตะ = ที่สุด
อนันตะ, อนันตา, อานันตะ, อานันตา = ไม่มีที่สุด , เป็นนิรันดร์
อนันตนาคราช = สมญานามของเศษนาคราชบัลลังก์ของพระนารายณ์ และเป็นพี่ชายพญาวาสุกีนาคราช
อานันท์, อานันทะ = น่ายินดี, เพลิดเพลิน, เป็นที่รัก
อวะ, = มองลง
อสุภ, อสุภะ = ไม่งาม , ศพ
อวมงคล = ไม่เป็นมงคล, งานศพ
อนุ = ตาม
อนุชา, นุชา, อนุช, อนุชะ = ผู้เกิดตาม, น้องชาย
นุช = น้อง, น้องสาว, หญิงที่รัก (เป็นบุรุษที่ ๒ มักใช้คู่กับ เรียม (พี่) ชายที่รักบุรุษที่ ๑)
อนุชิต = ชนะตาม, อีกชื่อหนึ่งของพญาหนุมานในรามเกียรติ์ของไทย
อสุร, อสุรา, อสุรี , อสูร, อสุระ, อสูระ อสุโร= ยักษ์ร้าย , ศัตรูของเทวดา
สุระ = เทวดา
สุรย์, สูรยะ, สูรย์, สุริยะ, สุริย์, สูรย์, สูระย์, สุระย์, สุรยา, สูรยา , สุริโย= พระอาทิตย์
อสุ = ชีวิต (คำที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก ไม่ควรใช้ถ้าไม่จำเป็น ถ้าใช้ต้องอธิบายศัพท์ด้วยทุกครั้ง)
อัสสุ = น้ำตา
อาว, อาว์ = อา , คุณอา
อารักษ์, อารักษะ, อารักษัย, อารักโษ = คุ้มครอง, รักษา
อาลักษณ์ , อาลักษณะ, อาลักษณัย, อาลักษโณ = การเห็น การสังเกต , กรมที่ทำหน้าที่เขียน คัดลอกหนังสือโบราณในราชสำนัก เสมียนของราชสำนัก
อริ = ศัตรู
อาริ, อารี = ความเอื้อเฟื้อ
อาริย์, อาริยะ, อริยะ , อาริยา , อริยา , อารยัน , อารยะ, อารยา = เจริญ , ประเสริฐ
อรัญ, อรัญญา = ป่า
อรัญวาส์ , อรัญวาสะ, อรัญวาสา, อรัญวาสี , อรัญวาสิยา, อรัญวาสัย, อรัญวาโส = ผู้อยู่ในป่า , พระป่า
คามวาส์ , คามวาสะ, คามวาสา, คามวาสี, คามวาสิยา, คามวาสัย, คามวาโส = ผู้อยู่ในหมู่บ้าน , พระเมือง
อีสะ, อีศะ, อีศวร (อี-สวน), อีศวระ (อี-สะ-วะ-ระ) = ผู้เป็นใหญ่
อุระ, อุรา, อุโร = อก , หัวใจ
อุไร = ทองคำ
ไอยรา (ไอ-ยะ-รา) , ไอยรัย (ไอ-ยะ-ไร) = ช้างไอยราของพระอินทร์ , ช้างทั่วไป
ไอยราลัย = ที่อาศัยของช้างพระอินทร์ , สวรรค์ชั้นดาวดึงส์, ที่อยู่ของช้างทั่วไป โรงเลี้ยงช้าง
ไอราวัต, ไอราวตะ (ไอ-รา-วะ-ตะ) = ชื่อช้างของพระอินทร์
ไอศานี , ไอสานี = สตรีชาวอีสาน , ผู้อยู่ทิศอีสาน, ชายาของพระอีศานะ
ไอศาน, ไอสานะ, อีสาน, อิสาน, อีสานะ, อิสานะ = ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
อุตฺตระ (อุด-ตะ-ระ/อุด-ตระ), อุตระ (อุ-ตะ-ระ / อุ-ตระ) , อุดร (อุ-ดอน), อุดะระ = ทิศเหนือ, สูงสุด
ปุรุโษตรัม, ปุรุโสตรัม (ปุ-รุ-โส-ตฺรัม / ปุ-รุ-โส-ตะ-รัม), ปุรุโษตระ, ปุรุโสตระ (ปุ-รุ-โส-ตะ-ระ/ ปุ-รุ-โส-ตระ)
= บุคคลผู้สูงสุด (ในคุณความดี)
ปูชนียบุคคล (ปู-ชะ-นี-ยะ-บุก-คน) ปูชนียบุคคละ (ปู-ชะ-นี-ยะ-บุก-คะ-ละ) ปูชนียบุคคลา, ปูชนียบุคคโล = บุคคลผู้ควรได้รับการบูชา (พ่อ แม่ ครู)
บูชากร (บู-ชา-กอน), บูชากระ (บู-ชา-กะ-ระ), ปูชากร (ปู-ชา-กอน), ปูชากระ (ปู-ชา-กะ-ระ) = ผู้กระทำการบูชา (ลูก ศิษย์ สาวก)
อุบะ = เครื่องแขวนทำด้วยมาลัยและพวงดอกไม้แบบไทย มักแขวนไว้ที่หน้าต่างหรือในห้อง
อุบล, อุบละ, อุบลา= บัวสายที่บานกลางคืน, บัว
โอภา , โอภาปราศรัย = ทักทายอย่างสุภาพ
โอภาส, โอภาสะ, โอภะสะ = แสงสว่าง, ความสุกใส
.............
หมายเหตุ: เมื่อมีการนำคำเหล่านี้ซึ่งส่วนใหญ่มีการตัดและเพิ่มเสียงสั้นยาว เพื่อแปลงคำให้เป็นครุลหุตามฉันทลักษณ์สำหรับฉันท์ในรูปแบบที่เรียนกันในฝ่ายฆราวาส ต้องอธิบายคำศัพท์นั้นเทียบกับคำที่สะกดถูกต้องตามราชบัณฑิต ฯ เป็นคู่เปรียบ ทั้งให้ความหมายไว้ด้วยทุกครั้ง เช่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น