สนุกกับฉันท์ ๒ วสันตดิลกฉันท์ และอินทรวิเชียรฉันท์ (อติพจน์+อุปลักษณ์)
ตัวอย่าง
๑) นศ. A....อติพจน์ + วสันตดิลกฉันท์
๐ คุณพ่อ..พิภพภวสุภาพ....กะระกราบกตัญญ
คุณแม่..วิมลวุฒิติดู....สุสมุทรมิเทียมทัน
คุณครู..คุณาคุรุคิรี....มะหะศรีหิมาวันต์
คุณพี่..ผิพร้อมจิระสุจันทร์....จิระแจ้มเจาะจงคุณ
(By M. Rudrakul)
............
๒) นศ. B ...อุปลักษณ์ + อินทรวิเชียรฉันท์
๐ รู้คุณสุชนคิด........คุรุมิตรเหมาะการุญ
ใสน้ำนุกูลจุน......จะระเจอเจอะจริงใจ
ไร้คุณทุชนคาด....เพราะประมาทมตีไหม
ขุ่นน้ำนิวัตไว........ละเลาะลี้ละหนีเอย
(By M. Rudrakul)
ถอดความ
นศ. A
พระคุณของพ่อเสมอกับโลก (จึงขอ) กราบด้วยความสุภาพและกตัญญู
พระคุณของแม่คิดดูด้วยภูมิรู้ (วุฒิติดู) แล้ว (พระคุณท่าน) บริสุทธิ์ไร้มลทิน (แม้) มหาสมุทรก็เปรียบด้วยไม่ได้
พระคุณครูหนักดังเขาที่ยิ่งใหญ่และเป็นมงคลคือเขาหิมาลัย
และโดยเฉพาะพระคุณพี่ ดังดวงจันทร์อันงดงามสองสว่างอยู่ยาวนาน (จิระ)
นศ. B
คนดีที่รู้คุณ (กตัญญู) คือมิตรที่เป็นครู (แบบอย่างที่ดี) ย่อมเหมาะกับการมีเมตตากรุณาให้
คือน้ำใสที่มีแต่ความจริงใจ
คนชั่วที่ไม่รู้คุณ (อกตัญญู) ย่อมประมาทจะดีได้อย่างไร (ไหม)
คือน้ำขุ่นที่ (ไหล) กลับมาโดยไว (ก็มีแต่คน) หลบหนี (ไม่อยากอยู่ด้วย)
ศัพท์สำคัญ
นศ.A
พิภพภว= มีภาวะเหมือนโลก
กะระ = กร, กระทำ
กะระกราบ = กราบ
วิมล= บริสุทธิ์ ไร้มลทิน
วุฒิติดู = คิดด้วยภูมิรู้
คุรุคิรี = ภูเขาใหญ่และหนัก
มะหะ = มหา, ยิ่งใหญ่
หิมาวันต์ = แปลงมาจากคำ หิมวันต์ (หิมวัต) ปกคลุมด้วยหิมะ เป็นชื่อของภูเขาหิมาลัย
จิระ = ยาวนาน
สุจันทร์ = พระจันทร์อันงามดี
นศ. B
สุชน = คนดี
ทุชน = คนชั่ว
คุรุมิตร = มิตรที่เป็นครู, มิตรที่เป็นแบบอย่างที่ดี
นุกูล = อนุกูล, เกื้อกูล, สงเคราะห์
จุน = จุนเจือ
มตี = มติ, ข้อตกลง, ความคิดเห็น, ความรู้ ในที่นี้ใช้ในความหมายว่า "ความคิด"
นิวัติ = กลับ , กลับมา
หมายเหตุ
อุปลักษณ์ คือการเปรียบสิ่งหนึ่งกับสิ่งหนึ่งคล้ายอุปมา (Simile) มีความหมายตรงกับคำว่า Metaphor แต่ไม่มีคำเชื่อม หรือมีคำเชื่อมว่า เป็น และคือ
.....
ตัวอย่างการอ่านฉันท์
๑. วสันตดิลกฉันท์
.....
ตัวอย่างการอ่านฉันท์
๑. วสันตดิลกฉันท์
๒. อินทรวิเชียรฉันท์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น