กาพย์ห่อโคลง: ความสามัคคี (กาพย์ยายี ๑๑ + โคลงสี่สุภาพ) สัญลักษณ์
๐ กุหลาบเหลืองอร่ามเรือง..........ปลุกปลูกเฟื่องฟูฟองใจ
อุ่นดินรับรักษ์ไว้...........................ร่วมรดรู้มิตรสามัคคี
๐ กุหลาบอร่ามหล้า...................เลือมเหลือง
ฟูเฟื่องฟองใจเจือง....................ปลุกไว้
แดดินอุ่นรักเรือง........................รองรักษ์
สามัคคีครองไซร้........................รดรู้มิตรเอย
(By M. Rudrakul)
ถอดความ
กุหลาบสีเหลืองสดน้ำมาปลูกเลี้ยงในหัวใจ ซึ่งมีดินในหัวใจที่อบอุ่นคอยรักษาไว้ ด้วยการรดน้ำแห่งความสามัคคีและมิตรภาพของพวกเรา
ศัพท์
แดดิน = ดวงแด (ใจ)+ดิน หมายถึงดินในหัวใจ
เลือมเหลือง = เลื่อมเหลืองสดใสเงางาม
ฟูฟองใจ = ฟูใจ หมายถึง เติมเต็มความรู้สึกดีให้กับหัวใจ
รักษ์ = รักษา
เจือง = เมือง มาจากคำว่า เชียง ในภาษาไท-ยวน ซึ่งมีผู้สันนิษฐานว่ามาจากคำจีน ออกเสียง เจง /เฉิง 城 แล้วยืมมาในภาษาไท-ลาว ว่า เจือง แปลว่า "เขต , ดินแดน" เช่น วรรณกรรมเรื่องท้าวฮุ้งขุนเจือง
ที่มา https://ioan17.wordpress.com/2016/05/08/happy-mothers-day-to-all-of-my-sisters-in-christ-daughters-and-daughters-in-love-and-lady-friends/
แนวการแต่ง
๑) หาสัญลักษณ์ที่สังคมรู้จัก เช่น นกพิราบ= สันติภาพ, โรงเรียนสีขาว = ปราศจากยาเสพติด, ดอกฟ้า= สตรีสูงศักดิ์, ขุนแผน= ชายเจ้าชู้ ฯลฯ (ในที่นี้ใช้ กุหลาบสีเหลือง = มิตรภาพหรือความรักระหว่างเพื่อน)
๒) สัญลักษณ์นั้น ๆ มาสร้างเป็นประโยค จากนั้นนำประโยคนั้นมาแต่งเป็นกาพย์ยานี ๑๑ เช่น
-กุหลาบสีเหลืองคือมิตรภาพระหว่างเพื่อน
-กุหลาบสีเหลืองปลูกไว้ในสวน กับเพื่อนสร้างมิตรภาพ
-กุหลาบสีเหลืองปลูกไว้ในสวนหัวใจ กับเพื่อนสร้างมิตรภาพ
-กุหลาบสีเหลืองปลูกไว้ในสวนหัวใจ กับเพื่อนต้องรดน้ำ สร้างมิตรภาพ
๓) จัดเรียงเป็นกลอนเปล่า
- กุหลาบสีเหลือง... - ปลูกไว้ในสวนหัวใจ
- กับเพื่อน..............? - ต้องรดน้ำสร้างมิตรภาพ
๔) เติมคำในท่อนที่น้อยหรือช่องที่หายไป ในที่นี้เติม "ดิน" เพราะปลูกต้นไม้ในดิน และรดด้วยน้ำ
- กุหลาบสีเหลืองงามอร่าม........... - ปลูกไว้ในหัวใจ
- หัวใจมีความอบอุ่นคือดิน.............- รดน้ำกับเพื่อนสร้างมิตรภาพ
๕) จัดเรียงตามฉันทลักษณ์กาพย์ยานี
๐ กุหลาบเหลืองอร่ามเรือง..........ปลุกปลูกเฟื่องฟูฟองใจ
อุ่นดินรับรักษ์ไว้...........................ร่วมรดรู้มิตรสามัคคี
๖) จัดเรียงกาพย์ใหม่เตรียมแต่งเป็นโคลงสี่
- กุหลาบเหลืองอร่ามเรือง
- ปลุกปลูกเฟื่องฟูฟองใจ
- อุ่นดินรับรักษ์ไว้
- ร่วมรดรู้มิตรสามัคคี
๗) จัดเรียบเรียงใหม่ตามฉันทลักษณ์โคลงสี่ที่บังคับเอกโท โดยนำเนื้อความในหนึ่งวรรคของกาพย์ มาแต่งเป็นหนึ่งบาทของโคลงสี่ อาจจะขยายความขึ้นเล็กน้อยแต่พยายามไม่ให้ออกนอกเรื่อง
- กุหลาบอร่ามหล้า......................เลือมเหลือง
- ฟูเฟื่องฟองใจเจือง....................ปลุกไว้
- แดดินอุ่นรักเรือง........................รองรักษ์
- สามัคคีครองไซร้........................รดรู้มิตรเอย
เป็นต้น
หมายเหตุ :
...........
ตัวอย่างขับกาพย์ห่อโคลง
กุหลาบสีเหลืองสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพ
อุ่นดินรับรักษ์ไว้...........................ร่วมรดรู้มิตรสามัคคี
๐ กุหลาบอร่ามหล้า...................เลือมเหลือง
ฟูเฟื่องฟองใจเจือง....................ปลุกไว้
แดดินอุ่นรักเรือง........................รองรักษ์
สามัคคีครองไซร้........................รดรู้มิตรเอย
(By M. Rudrakul)
ถอดความ
กุหลาบสีเหลืองสดน้ำมาปลูกเลี้ยงในหัวใจ ซึ่งมีดินในหัวใจที่อบอุ่นคอยรักษาไว้ ด้วยการรดน้ำแห่งความสามัคคีและมิตรภาพของพวกเรา
ศัพท์
แดดิน = ดวงแด (ใจ)+ดิน หมายถึงดินในหัวใจ
เลือมเหลือง = เลื่อมเหลืองสดใสเงางาม
ฟูฟองใจ = ฟูใจ หมายถึง เติมเต็มความรู้สึกดีให้กับหัวใจ
รักษ์ = รักษา
เจือง = เมือง มาจากคำว่า เชียง ในภาษาไท-ยวน ซึ่งมีผู้สันนิษฐานว่ามาจากคำจีน ออกเสียง เจง /เฉิง 城 แล้วยืมมาในภาษาไท-ลาว ว่า เจือง แปลว่า "เขต , ดินแดน" เช่น วรรณกรรมเรื่องท้าวฮุ้งขุนเจือง
ที่มา https://ioan17.wordpress.com/2016/05/08/happy-mothers-day-to-all-of-my-sisters-in-christ-daughters-and-daughters-in-love-and-lady-friends/
แนวการแต่ง
๑) หาสัญลักษณ์ที่สังคมรู้จัก เช่น นกพิราบ= สันติภาพ, โรงเรียนสีขาว = ปราศจากยาเสพติด, ดอกฟ้า= สตรีสูงศักดิ์, ขุนแผน= ชายเจ้าชู้ ฯลฯ (ในที่นี้ใช้ กุหลาบสีเหลือง = มิตรภาพหรือความรักระหว่างเพื่อน)
๒) สัญลักษณ์นั้น ๆ มาสร้างเป็นประโยค จากนั้นนำประโยคนั้นมาแต่งเป็นกาพย์ยานี ๑๑ เช่น
-กุหลาบสีเหลืองคือมิตรภาพระหว่างเพื่อน
-กุหลาบสีเหลืองปลูกไว้ในสวน กับเพื่อนสร้างมิตรภาพ
-กุหลาบสีเหลืองปลูกไว้ในสวนหัวใจ กับเพื่อนสร้างมิตรภาพ
-กุหลาบสีเหลืองปลูกไว้ในสวนหัวใจ กับเพื่อนต้องรดน้ำ สร้างมิตรภาพ
๓) จัดเรียงเป็นกลอนเปล่า
- กุหลาบสีเหลือง... - ปลูกไว้ในสวนหัวใจ
- กับเพื่อน..............? - ต้องรดน้ำสร้างมิตรภาพ
๔) เติมคำในท่อนที่น้อยหรือช่องที่หายไป ในที่นี้เติม "ดิน" เพราะปลูกต้นไม้ในดิน และรดด้วยน้ำ
- กุหลาบสีเหลืองงามอร่าม........... - ปลูกไว้ในหัวใจ
- หัวใจมีความอบอุ่นคือดิน.............- รดน้ำกับเพื่อนสร้างมิตรภาพ
๕) จัดเรียงตามฉันทลักษณ์กาพย์ยานี
๐ กุหลาบเหลืองอร่ามเรือง..........ปลุกปลูกเฟื่องฟูฟองใจ
อุ่นดินรับรักษ์ไว้...........................ร่วมรดรู้มิตรสามัคคี
๖) จัดเรียงกาพย์ใหม่เตรียมแต่งเป็นโคลงสี่
- กุหลาบเหลืองอร่ามเรือง
- ปลุกปลูกเฟื่องฟูฟองใจ
- อุ่นดินรับรักษ์ไว้
- ร่วมรดรู้มิตรสามัคคี
๗) จัดเรียบเรียงใหม่ตามฉันทลักษณ์โคลงสี่ที่บังคับเอกโท โดยนำเนื้อความในหนึ่งวรรคของกาพย์ มาแต่งเป็นหนึ่งบาทของโคลงสี่ อาจจะขยายความขึ้นเล็กน้อยแต่พยายามไม่ให้ออกนอกเรื่อง
- กุหลาบอร่ามหล้า......................เลือมเหลือง
- ฟูเฟื่องฟองใจเจือง....................ปลุกไว้
- แดดินอุ่นรักเรือง........................รองรักษ์
- สามัคคีครองไซร้........................รดรู้มิตรเอย
เป็นต้น
หมายเหตุ :
สัญลักษณ์ (Symbol) เป็นการเปรียบเทียบโดยใช้คําแทนสิ่งที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม โดยคำที่เป็นสัญลักษณ์มักเป็นสิ่งที่เป็นสากลและคนทั่วไปในสังคมรับรู้เข้าใจร่วมกัน (ไม่ใช่สัญญะ หรือวาทกรรมที่กวีพึ่งคิดขึ้นเอง)
...........
ตัวอย่างขับกาพย์ห่อโคลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น