วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561

สนุกกับฉันท์ ๔ (ภุชงคประยาตฉันท์และวิชชุมมาลาฉันท์)

นศ. A

ประณิธานหรือสัจจะชีวิต/ ปลุกใจให้อนุรักษ์ธรรมชาติ, ภุชงคประยาตฉันท์ + อาวัตพากย์ (ผิดผัสสะ)
ที่มา http://www.watmoli.com/poetry-chapter5/old-verse/5135.html

ซึ่งกำหนดเป็นสัญลักษณ์ตัวเลขได้ดังนี้
๑๒๒๑๒๒............๑๒๒๑๒๒
๑๒๒๑๒๒............๑๒๒๑๒๒
ถ้าเลข ๒ แทนครุ และเลข ๑ แทนลหุ
สัมผัสบังคับ (สัมผัสสระเท่านั้น)
๑) พยางค์สุดท้ายของวรรคสดับ ไปสัมผัสกับพยางค์ที่สามของวรรครับ
๒) พยางค์สุดท้ายของวรรครับ ไปสัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรครอง
๓) จะทิ้งสัมผัสระหว่างพยางค์สุดท้ายของวรรครองกับวรรคส่งพยางค์ที่สามก็ได้ (โดยมากจะทิ้งเพราะเป็นฉันท์ ไม่ใช่กลอน)
๔) พยางค์สุดท้ายของวรรคส่งต้องไปสัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรครองในบทต่อไป
.........

ประณิธานของโพธิสัตว์

๐ จะมุ่งมั่นกะความสัตย์.............สุไตรรัตน์แนะนำโลก
จะลาโลภลุเมืองโมกษ์...............ลุโพธิ์ธีร์ลุธัมมา
๐ จะแกงเกลากุชนชั่ว.................ละเมามั่วมุติ์จิตตา
ประโยชน์สืบสุสัจจา...................สุศีลศักดิ์สุจิตจริง
๐ ละรสรักเลาะลิ้มโลก...............ละสาบโศกสลดทิ้ง
มิกอดกลิ่นกุกามกลิ้ง.............เพราะหอมตาเสาะเห็นธรรม

By M. Rudrakul

นศ. B
บทซึ้งในชีวิต ในประณิธานของบทแรก/ ชมความงามของธรรมชาติ (ถ้าบทแรกเป็นปลุกใจให้รักธรรมชาติ) วิชชุมมาลาฉันท์ + สัทพจน์

 

ซึ่งกำหนดเป็นสัญลักษณ์ตัวเลขได้ดังนี้
๒๒๒๒............๒๒๒๒
๒๒๒๒............๒๒๒๒
ถ้าเลข ๒ แทนครุ และเลข ๑ แทนลหุ (ถือว่าเป็นฉันท์ครุล้วน)
สัมผัสบังคับ (สัมผัสสระเท่านั้น)
๑) พยางค์สุดท้ายของวรรคสดับ ไปสัมผัสกับพยางค์ที่สองของวรรครับ
๒) พยางค์สุดท้ายของวรรครับ ไปสัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรครอง
๓) จะทิ้งสัมผัสระหว่างพยางค์สุดท้ายของวรรครองกับวรรคส่งพยางค์ที่สองก็ได้ (โดยมากจะทิ้งเพราะเป็นฉันท์ ไม่ใช่กลอน)
๔) พยางค์สุดท้ายของวรรคส่งต้องไปสัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรครองในบทต่อไป
.........

ความทราบซึ้งใจของสาวก

๐ ฟังธรรมทราบซึ้ง..................ตาจึงนองน้ำ
หยด "ติ้ง-ติ้ง" ต่ำ....................ใต้บาทบงสุ์องค์
๐ สัพเสียงศรีสิงห์....................ยอดยิ่งไพรพง
"หร่อร์" โหดโตรดตรง...............ฤาเท่าธรรมเอย

By M. Rudrakul

ถอดความ

นศ.A
๐ จะมุ่งมั่นกับความสัตย์ปฏิญาณต่อพระรัตนตรัยว่า จะแนะนำ (สอน) ชาวโลก ให้ละจากความโลภ ให้บรรลุเมืองพระนิพพาน บรรลุโพธิญาณ บรรลุธรรม 
๐ จะสั่งสอนคนชั่วเหมือนการปรุงแกงละจากความมัวเมา(ตัณหา)  เพื่อประโยชน์ในการสืบทอดความสัตย์อันดี ศีลธรรมที่งดงาม และจิตใจที่ดีงามอย่างแท้จริง
๐ จะละจากรสแห่งความรักที่ค่อย ๆ เอาออกไป (เลาะ) การชิมโลก (โลกิยธรรม) ละจากความโศกเศร้าที่เหม็นสาบ ด้วยการสลัดทิ้ง ไม่กอดแล้วกลิ้งเกลือกยึดติดในกลิ่นของกามตัณหาที่ชั่วร้าย เพราะความหอมชื่นในดวงตาที่เห็นธรรม

นศ. B
๐ ฟังธรรมทราบซึ้งใจจนน้ำหาหยดไหล "ติ้ง ๆ" ลงมาที่ธุลีบาท (ของพระศาสดา)
๐ เสียงทุกเสียงของพญาสิงห์ที่ถือว่าดังที่สุด (ยอดยิ่ง) ในป่า ดัง "หร่อร์" อยู่ลำพังฟังดูโหดร้ายตรงหน้า หรือจะเท่ากับเสียงของพระธรรม (ที่ทำให้ซึ้งใจ)


ศัพท์

นศ. A
ไตรรัตน์ = รัตนตรัย
ลุ = บรรลุ, เข้าถึง
โพธิ์ธีร์ = โพธิ (โพธิญาณ) + ธีร (นักปราชญ์, ผู้มีปัญญา) หมายถึง การเป็นผู้มีปัญญารู้แจ้งในปัญญาญาณของพระโพธิสัตว์
เมืองโมกษ์ = เมืองแห่งการหลุดพ้น, พระนิพพาน (คำว่าโมกษะหมายถึงการที่อาตมันวิญญาณมนุษย์รวมเป็นหนึ่งเดียวกับปรมาตมาวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า เป็นการบรรลุธรรมสูงสุดและหลุดพ้นจากสังสารวัฏในศาสนาฮินดู กวีไทยแต่โบราณมักยืมมาใช้ในฐานะคำไวพจน์ของคำว่านิพพาน)
มุติ์จิตตา = มุติ แปลว่า ความเห็น, ความเข้าใจ + จิตตา = จิต ดังนั้น มุติ์จิตตา แปลว่า มีความเข้าใจในดวงจิต
แกงเกลา = แกง (ปรุง, ทำ, ต้มแกง) + เกลา (ขัดเกลา,สั่งสอน) แปลว่า สั่งสอนเหมือนการปรุงอาหารที่เป็นการต้มแกง
กุชน = คนชั่ว
กุกาม = ความปรารถนาในกามที่ชั่วร้าย

นศ. B
ติ้ง = เสียงน้ำหยด ที่ละน้อย เป็นสัทพจน์
หร่อร์ = เสียงสิงห์คำราม  เป็นสัทพจน์ มาจากภาษาอังกฤษ Roar ว่าเป็นเสียงร้องของสิงโตและหมี
สิงห์ = ตามความเชื่อไทยคือสัตว์ป่าหิมพานต์ไม่มีอยู่จริง ตามรากศัพท์เดิมในภาษาบาลี สันสกฤต หมายถึงสิงโตพันธุ์อินเดียที่ตัวผู้มีแผงคอสั้นกว่าสิงโตพันธุ์แอฟริกา และไม่มีลายกนกรอบตัว ปัจจุบันเป็นสัตว์หายากแต่ยังไม่สูญพันธุ์
บาทบงสุ์ = ละอองเท้า, ฝุ่นใต้เท้า (เป็นอวพจน์ เปรียบตนว่าต่ำต้อยเพื่อยกย่องอีกฝ่ายว่าสูงศักดิ์ ยิ่งใหญ่ โดยมากใช้กับกษัตริย์ พระเจ้า และพุทธเจ้า)
สัพ (อ่าน สับ) = สรรพ (อ่าน สับ/สับ-พะ) เป็นสันสกฤตมาจากคำว่า "สรฺว" แต่ สัพ และ สัพพะ เป็นคำบาลี แปลว่าทุกสิ่งทุกอย่าง
ไพรพง = พงไพร แปลว่า ป่า
โตรด (อ่าน โตฺรด) = อยู่คนเดียว
ฤา (อ่าน รือ) = หรือ
.......
หมายเหตุ :

อาวัตพากย์ ( Synesthesia ) คือ โวหารที่ใช้คำเรียกผลของการสัมผัสที่ผิดไปจากธรรมดา เพื่อเรียกร้องความสนใจจาก ผู้อ่าน เช่น ตามปกติเราใช้คำว่า “รส” เรียกผลการสัมผัสจากลิ้น ใช้คำว่า “กลิ่น” เรียกผลสัมผัสจากจมูก แต่กลับใช้ว่า รสของธูป , รสของรัก หรือไม่หล่อแต่อร่อย ซึ่งแสดงการรับรู้สัมผัสต่าง ๆ ที่ผิดไปจากเดิมสร้างความหมายแฝงที่น่าสนใจให้กับคำใหม่


สัทพจน์ (onomatopoeia) คือ การใช้ถ้อยคำที่เลียนเสียงธรรมชาติ หรือ เสียงดนตรีเสียงร้องของสัตว์ เสียงของฝน เสียงของหยดน้ำ เสียงของรถไฟ เสียงกาน้ำร้อนเดือน ฯลฯ

สัญลักษณ์ ครุและลหุ โดยปกติจะใช้ไม้หันอากาศแทนครุ และใช้สระอุแทนคำลหุ
แต่ก็มีนักวิชาการบางท่านกำหนดใช้เลขสอง ๒ แทนครุ และเลขหนึ่ง ๑ แทนลหุ

ที่มา http://phapnhandharmawheel.blogspot.com/p/light-of-enlightenment.html

ลิงก์ด้านล่าง เสียงร้องของสัตว์ในภาษาอังกฤษ (กรณีถ้านึกเสียงร้องของสัตว์ที่ไม่ค่อยมีอยู่ในภาษาไทยเท่านั้น) ที่มา https://www.englishbychris.com/portfolio-items/animal-sounds/


.........
การอ่านฉัน

๑) ภุชงค์ประยาตฉันท์

๒) วิชชุมมาลาฉันท์



ตัวอย่างแบบที่ ๒

นศ. A
ปลุกใจให้รักทะเล

๐ ทะเลรวนละรสรักษ์..............สมุทรจักษ์จุเจ็บจืด
เพราะมลทินทุใจชืด................ทุเศษทิ้งทุจิตคน
๐ กะเต่าปลาจะจับโศก............เพราะทุกข์โลกเลอะทุกหน
เสาะสำนึกแนะกุศล.................เกาะกินสุขสมุทรรักษ์

By M. Rudrakul

นศ.B
ชมธรรมชาติ : ชายทะเล

๐ อ่าวอรรณพกลืน...................."โครม"คลื่นเวียนแวว
ทอดกายทรายแก้ว......................แสสินธุ์สบทรวง
๐ ลม "หวู่ หวู่" หวิว.....................ทัศน์ทิวแท้สรวง
ฟังนางนวลหน่วง........................"กูห์-วู้" อยู่เอย

By M. Rudrakul

ถอดความ
นศ. A
ทะเลรวนไม่เป็นระเบียบเพราะขาดการรักษา ทำให้มหาสมุทรเต็มไปด้วยความเจ็บปวดเพราะความใจจืดใจดำ จากการทิ้งเศษขยะ เพราะจิตใจที่ชั่วร้ายของมนุษย์
เต่าและปลา (ตัวแทนของสัตว์ทะเล) จึงโศกเศร้า เพราะความทุกข์แพร่ไปทั่วโลก จึงแนะนำหนทางที่ต้องแสวงหาซึ่งเป็นกุศลดีงาม คือการรักษามหาสมุทรจนทำให้ผู้ที่อาศัยตามเกาะในทะเลและทวีปต่าง ๆ ได้รับซึ่งความสุข

นศ. B
ปากอ่าวทะเลมีคลื่นกระทบฝั่งดังโครม ๆ แล้วหายไปเหมือนถูกกลืน นอนทอดกายลงบนทรายสะอาดใสเหมือนแก้ว สัมผัสกระแสน้ำเข้ามาในหัวใจ (อติพจน์ หมายถึงได้ยินเสียงคลื่นกระทบฝั่งอยู่ใกล้มาก ๆ)
สายลมพัดเสียง หวู ๆ ทำให้รู้สึกวาบหวิว มองทิวทัศน์คือสวรรค์จริง ๆ ฟังนกนางนวลร้องดัง (หน่วง) กูห์-วู้ ๆ อืออึงอยู่ในตอนนี้

นศ. A
ศัพท์
รวน = เบียดกันไปมาไม่เป็นระเบียด (ด้วยเกลียวคลื่น)
จักษ์ = ประจักษ์
จุ = บรรจุ, ทำให้เต็ม, ใส่
ทุ = ไม่ดี, เลว, ยาก
ทุใจ = ทุไจตฺตะ แฝง เป็น ทุไจต์ หรือ ทุใจ แปลว่า จิตใจไม่ดี จินตนาการไม่ดี อยู่กับความคิดที่ไม่ดี
ทุเศษทิ้ง = การทิ้งขยะไม่ดี
กะ = ด้วยกัน, กับ
เกาะ = ยึด, แผ่นดินที่ล้อมรอบด้วยน้ำ ในที่นี้หมายถึง เกาะที่เป็นแผ่นดิน, ทวีป ดังนั้น เกาะกินสุข หมายถึงเกาะที่ได้รับความสุขเพราะการรักษาสิ่งแวดล้อม  เป็นทั้งบุคคลวัต และยังมีความหมายแฝง หมายถึงผู้ที่อาศัยอยู่บนเกาะต่าง ๆ หรือทวีปต่าง ๆ ที่มีมหาสมุทรล้อมรอบ, ชาวเกาะ, มนุษย์ทั้งหลาย


อย่างคำ อาวัตพากต์ เช่น

๑) รสรักษ์ = รสแห่งการรักษา รักษาเป็นกริยา ผัสสะต้องใช้ตา ผิดผัสสะกับรสที่ใช้ลิ้น
๒) เจ็บจืด = ทะเลเค็ม ถ้าจืดคือผิดรสของทะเล ความเจ็บมักเปรียบกับคำว่าขม แสบร้อน ต้องผัสสะกับทางกายถือว่าผิดผัสสะ ส่วนจืดมักเปรียบเทียบกับ ใจจืด ใจดำ ดังนั้น เจ็บจืดตึ่งหม่ายถึงต้องทุกข์เพราะความใจจืดใจดำของคน
๓) ทุกข์เลอะโลก = ทุกข์ต้องรู้สึกทางใจ เลอะสิ่งสกปรกต้องทางกาย เป็นการใช้คำผิดผัสสะ หมายถึงความทุกข์เป็นเหมือนสิ่งสกปรกที่เลอะโลกอยู่

นศ. B
ศัพท์
แส = กระแส
ทอดกาย = ทอดร่างกายลงนอน
อรรณพ = ห้วงน้ำ
อ่าว = ฝั่งของมหาสมุทร หรือทะเล ซึ่งเป็นส่วนเว้าโค้งเปิดขว้างเข้ามาในแผ่นดิน
ท้ศน์ = ทัศนา แปลว่า มองดู
ทิว = ทิวทัศน์, ทัศนียภาพที่มองดู
หน่วง = ทำให้หนัก, ถ่วงไว้, ทำให้ช้า, ในที่นี้หมายถึง ได้ยินดังอยู่ตลอด

ตัวอย่างคำสัทพจน์

โครม = เสียงคลื่นกระทบฝั่ง
หวู่ ๆ = เสียงลม
กูห์-วู้ = เสียงร้องนกนางนวล

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2561

คำช่วยแต่งฉันท์ ๓ จ - น





กรุณาอ่านข้อความด้านล่าง และทำความเข้าใจ

ศัพท์ทั้งหมดนี้บันทึกไว้เพื่อเป็นคลังให้ ผู้สนใจการแต่งฉันท์หยิบยืมไปสร้างคำและประโยคใช้เข้ากับฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์ที่มี ครุ และลหุ เป็นสำคัญหลายคำในที่นี้จึงมีรูปเขียนและการอ่านไม่ตรงกับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน จึงไม่ควรนำคำใดในที่นี้ไปสอนเด็กเขียนสะกดคำถูกผิดในระดับชั้นการศึกษาขั้นพื้นฐาน และใช้ได้เพียงเป็นสื่อในการเรียนรู้การประดิษฐ์คำของกวีที่ใช้ในการแต่งกวีนิพนธ์ในชั้นสูงเท่านั้น


จ.
จะกะร์, จักร์, จักร, จักกะ, จักระ, จะกะระ = กงจักร์, อาวุธโบราณรูปวงกลมมีรูตรงกลางใช้ขว้าง      
จร, จรา, จระ, จรัย = เที่ยวไป, ไป
จริย์, จริย, จาริย์, จารีย์, จริยะ, จริยา, จาริยา = ความประพฤติ
จล, จะละ, จะลา, จะลัย = การเคลื่อนไหว, พลังงานจล
จลาจล = ระบบการสัญจร และความแออัดบนท้องถนน
จาน = พาชนะใส่อาหาร
จาม = พวกจาม, จามเทวี, อาการจาม
จาร = เขียนใบลาน
จิร, จีร = ยังยืน, ยาวนาน
จุล = เล็กย่อย, ละเอียด, เป็นฝุ่น
จุฬ, จุฑ = ยอดจุก
เจน = ชำนาญ, เจนจัด, มีประสบการณ์มาก
เจนไน, เจไน, เชนไน = เมืองท่าสำคัญในรัฐทมิฬนาฑูของประเทศอินเดีย
เจษฎา = พี่ชาย
โจก, โจก์ = หัวโจก, ผู้นำทำเรื่องเกเร
โจ๊ก = เรื่องตลก, ปริศนาคำทาย, ข้าวต้มจนเละ, มีน้ำมากเกินส่วน, เสียงน้ำไหล
โจน,โจน์ = พุ่งไปข้างหน้าด้วยการกระโดด
โจทก์ = บุคคลที่ฟ้องต่อศาล
จำเลย = ผู้ถูกฟ้องถูกกล่าวหาในศาล
เชลย =  ผู้ที่ถูกข้าศึกจับได้, ข้าศึกที่ถูกจับได้ในสงคราม
โจร, เจาร = ผู้ที่ดักจี้ปล้นผู้อื่น
โจษ, โจษจัน = พูดกันทั่วไป, เล่าลือกันอยู่
โจฬะ = ยุคสมัยและอาณาจักรในอินเดียใต้





ฉ.
ฉ, ฉะ = หก
ฉกษัตริย์ (ฉอ-กะ-สัด/ ฉ้อ-กะ-สัด) = หกกษัตริย์, กษัตริย์หกพระองค์
ฉงน, ฉงน์ = สงสัย, แปลกใจ
ฉัตร, ฉัตรา, ฉัตรํ = ร่ม, ร่มซ้อนกันหลายชั้น
เศวตรฉัตร (สะ-เหวด-ตระ-ฉัด) = ร่มซ้อนกันหลายชั้นสีขาวเป็นเครื่องสูงสำหรับเจ้านายชั้นสูง
ฉบัง = กาพย์ฉบัง
ฉบับ = ต้นฉบับเดิมของหนังสือที่พิมพ์หรือเขียนที่เรียกว่า ต้นฉบับ, วารสารเรื่องเดียวแต่ข้อความ สำนวนในเรื่องต่างกันที่พิมพ์ใหม่เพื่อวางขายรายเดือนหรือรอบสิบห้าวัน, แบบฉบับ, ต้นแบบ
ฉนวน = ทางเดินที่มีฉากกำบังสองข้างทาง, กำบัง, ปิดกัน, วัตถุกันความร้อนได้นาน, วัตถุที่ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า
ฉลาก, ฉลากะ, สลาก, สลากะ = ตั๋วแผนกระดาษทำเครื่องหมายไว้สุ่มจับหรือเสี่ยงโชค, ป้ายติดขวดยา
สลากพัด (สะ-ลาก-กะ-พัด) = วิธีถวายทานในพระสงฆ์โดยการสุ่มจับสลากผู้รับ
ฉลาด, ฉลาด์ = มีปัญญา
ฉุน, ฉุน์ = กลิ่นแรง
ฉิมพลี (ฉิม-พลี) = ต้นงิ้ว, วิมานของพญาครุฑ, สวรรค์ชั้นกาม, วิมานของครุฑที่อยู่บนยอต้นงิ้วที่งอกขึ้นมาจากนรกไว้ลงโทษเศษกรรมของพญาครุฑที่ไปเคยลักนางกากี หรือสาวงามต่าง ๆ มา วันใดที่บาปนั้นส่งผลพญาครุฑก็จะหลับและเผลอลงไปโดนไม้งิ้วเกี่ยวแทงให้เจ็บปวด แล้วก็จะบินขึ้นมาเสวยบุญในวิมานของตน เป็นเช่นนี้เรื่อยไป
ฉิน, ติฉิน = ตำนิ, ว่าร้าย
ฉาย = ส่องไฟ, ส่องแสง, ส่องสว่าง
ฉายา = เงา
ฉำฉา = ไม้เนื้ออ่อนพวกสน, ไม้ฉำฉา ที่ใช้ทำกลอง สิ่งของ หรือต้นกามปู
ไฉน = เพราะเหตุใด
ไฉไล = งาม
โฉด, โฉด์ = ชั่ว, เลว

ช.
ชะ = ชะหน้าดิน, เกิด เช่น สโรชะ = เกิดในสระ หมายถึง ดอกบัว เป็นต้น
ชา = รู้, เกิด เช่น วิชา = ความรู้ยิ่ง, ความรู้ , สโรชา = เกิดในสระ หมายถึง ดอกบัว เป็นต้น
ชน, ชนา, ชโน, ชนัย = ประชาชน, พลเมือง
ชะนี = สัตว์จำพวกลิง ที่ส่งเสียงร้อง ผัว ๆ
ชนก, ชนกะ = พ่อ
ชนกี (ชะ-นะ-กี) = นางสีดาลูกสาวท้าวชนกในเรื่องรามายณะ
ชนนี (ชน-นะ-นี), ชะนะนี = แม่
ชนวน = ชนวนจุดระเบิด, สาเหตุให้เกิดโทษ
ชย,ชยะ, ชัย, ไชย , ไชโย, ชโย, ชยัย, ชิน, ชินะ, ชินา, ชิโน = ใช้ชนะ, สมญานามของพระพุทธเจ้า
ชิโนรส, ชิโนรสะ, ชิโนรโส, ชิโนรสัย = บุตรผู้ชนะ บุตรของพระพุทธเจ้า หมายถึงพระสงฆ์
ชร, ชรา = ความแก่เฒ่า
นิรชรา (นิ-ระ-ชะ-รา), นิรัชรา (นิ-รัด-ชะ-รา) , นิรัญชรา = ปราศจากความแก่เฒ่า
เนรัญชรา, เนรัญชระ = แม่น้ำที่ปราศจากความชรา คือใสสะอาดเสมอ, ชื่อแม่น้ำในสมัยพุทธกาล
ชล, ชละ, ชลา = น้ำ
ชว, ชวะ  = เร็ว
ชวลิต, ชลิต = ความรุ่งโรจน์
ชวาลา = ตะเกียงแขก
ชุลมุน = วุ่นวาย, สับสน
ชว, ชวะ, เชาว์, เชาวะ, เชาวน์, เชาวนะ = มีปัญญาดี
เชาวลิต = โชติช่วง

ญ.
ญัตติ,ญติ, มติ  = ข้อเสนอในที่ประชุม, คำประกาศหัวข้อในที่ประชุม, ข้อเสนอเพื่อลงมติ
บัญญัติ = แต่งตั้ง, ตรากฎหมาย, ข้อความหรือคำที่ถูกกำหนดขึ้นใช้
ญา , ฌา, ชา, ชญา (ชะ-ยา) = ความรู้
ญาณ , ฌาน ,ชญาน , ฌาณ์, ฌาน์, ชญาน์
ชญานี = ผู้มีความรู้, ผู้เข้าถึงโมกษะด้วยความรู้และปัญญา ตามความเชื่อฮินดู การเข้าถึงรวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้ามีสามทางดังปรากฏในคัมภีร์ ภควัทคีตา คือ
๑. ความรู้ ชญา ผู้เลือกทางนี้เรียกว่า ชญานี เพราะมีปัญญามาก
๒.ความภักดีคือ มธุรภักติ /มธุภักติ (ความภักดีที่หวานซึ้ง, ความภักดีอย่างสูงสุด) ผู้เลือกทางนี้เรียกว่า ปูชากรี เพราะมีศรัทธามาก
๓.ความดี กระทำดีคือ กรรมโยคะ (กัมมโยคะ) ผู้เลือกทางนี้เรียกว่า กรรมโยคี เพราะมีความประพฤติอันดีงามเพื่อผู้อื่น ซึ่งปัจจุบันชาวฮินดูยกย่องว่า พระพุทธเจ้าคือแบบอย่างของ กรรมโยคี
ซึ่งถ้าเทียบกับพุทธศาสนามหายานก็จะเป็น ปัญญา (ชญา) -พระมัญชุศรี, ศรัทธา/พละ (ภักติ) -พระสมันตภัทร และเมตตา (กรรมโยคะ)-พระอวโลกิเตศวร เพียงแค่เลือกใช้ศัพท์อธิบายคนละศัพท์ไม่ลอกกัน
ญาณี = ผู้มีญาน, ผู้มีความรู้
ยานี = กาพย์ยานีสิบเอ็ด
ญาต, ญาตะ, ญาโต, อนุญาต, อนุญาตะ, อนุญาโต = ยินยอม, ยอมให้ทำ
อนุญาโตตุลาการ = คนกลางที่ถูกตั้งขึ้นให้ชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างคู่กรณี
ญาติ, ญาติกา, ญาติโย =

ฏ/ฎ.
ฏคร (ตะ-คะ-ระ) , ฏครา, ฏคโร, ฏครัย = ความไม่มีระเบียบ, ความหมกมุ่นในอบายมุข
ฏังกะ = สิ่ว, ขวาน, เหล็กสกัดหิน
ตังค์ = เงินที่ใช้ซื้อของ, สตางค์ (ภาษาปาก) แปลงมาจากคำว่า สตางค์
ฏังกศาลา = โรงกษาปณ์
ฏังการ = เสียงหอน, เสียงคราง, เสียงดัง
ฏังคา = ขา
ฏัฏฏนี (ตัด-ตะ-นี) = จิ้งจก
ฏางกร, ฏางกรา, ฏางกรี, ฏางการี, ฏางกโร = คนชั่วกระทำผิดกฎหมาย, คนหลงตัณหา
ฏาร, ฏาระ, ฏาโร, ฏารา = ม้า , ลูกสวาท , ผู้ถูกเล่นลูกสวาท
ลูกสวาท = ชายหนุ่มผู้ถูกเลี้ยงดูเป็นชายบริการความสุขทางเพศให้กับชายเฒ่าหรือผู้มีอำนาจ โดยการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับชายในราชสำนักเรียกว่า “เล่นสวาท” ส่วนหญิงกับหญิงเรียกว่า “เล่นเพื่อน” แต่ปัจจุบันความหมายเลื่อนปรากฏว่า คำว่าเล่นเพื่อนที่ใช้ระหว่างรักร่วมเพศระหว่างชายรักชายและหญิงรักหญิง ส่วนเล่นสวาทอาจจะหมายถึงการเล่นชู้ของคนทั่วไป
ตารา, ตาริกา, ดารา, ดาริกา = ดวงดาว
นางตารา = ชายของพระพฤหัสบดี ที่ถูกพระจันทร์ลักไปจนทำให้กำเนิด พระพุธ ผู้เป็นลูกของพระจันทร์ “จันทรบุตร”, ปางหนึ่งของเจ้าแม่กาลี (คนละตนกับชายาพระพฤหัสบดี)
ฎีกา = คำอธิบายขยายความ, คัมภีร์ที่อธิบายอรรถกถา, ศาลาฎีกา, เรื่องร้องทุกช์ เช่น ถวายฎีกา
กฤษฎีกา = กฎหมายที่กษัตริย์ทรงตราขี้น
โฏน, โฎน, โฏน์, โฎน์ = ยาย, บรรพบุรุษ
โฎนตา (โตน-ตา), โฎนตา (โดน-ตา) = ยายตา, พิธีเซ่นโฏนตา, ไหว้บรรพบุรุษของชาวเขมร

ฐ.
ฐกัด (ถะ-กัด) = ยินดี เขียนเป็น ตระกัด ก็ได้ ควรเลือกเสียงสัมผัสที่เหมาะสม
ฐากูร = รูปเคารพ, ที่ควรบูชา
ฐาน = ส่วนล่าง, ที่ตั้ง, หลักฐาน
ฐานะ , สถานะ = ฐานะ, ชนชั้น, บทบาทหน้าที่
ฐานกรณ์ = ที่เกิดของเสียงในช่องปาก
ฐานันดร = ลำดับในการกำหนดชั้นบุคคล
ศักดินา = การกำหนดชั้นบุคคลเป็นจำนวนที่นาที่มอบให้เรียกเก็บภาษีได้
ฐานสิงห์ = ฐานรองของโต๊ะ เตียง ของชนชั้นสูงที่ทำเป็นรูปสิงห์
ฐาปนี = ผู้สร้าง
ฐาปนา, สถาปนา = สร้างขึ้น, ตั้งให้เป็น
สถาปนิก = นักออกแบบสร้างตึก

ฑ.
ฑังส, ฑังสะ = เหลือบ (แมลง)
ฑังสมกสะ = เหลือบและยุง (ฑังสะ = เหลือบ + มกสะ = ยุง)
ฑาก, ฑากะ = เมี่ยง, ผักดอง
ฑาหก, ฑาห์ก = ผู้กระทำความร้อน, ผู้เผา, ไฟ
ฑาหะ
= ความร้อน, ไฟ
ฑิฆัมพร, ทิฆัมพร = นิกายศาสนาเชนของอินเดีย แปลว่านุ่งลมห่มฟ้า หมายถึงนิกายชีเปลือย เป็นคู่กับ เศวตรัมพร ซึ่งนุ่งขาวห่มขาว
ฑีฆา, ทีฆา = ยืนนาน, ยาว, เสียงยาว
ฑีฆายุ, ทีฆายุโก,ทีฆายุ = อายุยืน (ทีฆา + อายุ)
ฑิชา,ทิชา, ทวิชา = ผู้เกิดสองหน, นก และพราหมณ์

ณ.
ณะ = อยู่ที่, ใน, ที่ , แห่ง, คำบ่งได้ทั้งเวลา และสถานที่
ณรงค์  = ต่อสู้
ณัฐ, ณัฏฐ์, นัต, นัฐ, นัฏฐ์, ณัฏฐา, นัฏฐา = นักปราชญ์, ผู้รู้
ณัฐพล, ณัฐพลา, ณัฐพลัย, ณัฏฐพล, ณัฏฐพลา, นัฐพล, นัฐพลา, นัฐพลัย, นัฏฐพล, นัฏฐพลา = กำลังของนักปราชญ์, กำลังผู้รู้
ณัฐสิริ, ณัฐสิรี, ณัฐศรี = มงคลของนักปราชญ์, นักปราชญ์
เณร, สามเณร = ผู้บวช (ศีล ๑๐ ข้อ) เพื่อเตรียมบวชเป็นพระภิกษุ (พระสงฆ์บุรุษ ศีล ๒๒๗ ข้อ)
เณรี, สามเณรี = ผู้บวช (ศีล ๑๐ ข้อ) เพื่อเตรียมบวชเป็นพระภิกษุณี (พระสงฆ์สตรี ศีล ๓๑๑ ข้อ)
โณทัย, อโณทัย, อรุโณทัย = รุ่งอรุณ
ญาโณทัย = รุ่งอรุณแห่งความรู้, (ญา (รู้) + อโณทัย (รุ่งอรุณ)




ต-ด.
ตะกะ, ตะกะก์, ตักกะ, ตรรกะ, ตักกา, ตรรกา = ความตรึกตรอง, ทฤษฎีความคิด, กลวิธีคิดหาความจริง, ความคิดง่ายทางโลกที่มนุษย์สามารถคิดได้ด้วยสติปัญญา
ตรรกะวิบัติ, ตรรกวิบัติ, ตักกวิบัติ =  วิธี หรืการคิดที่ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงอย่างร้ายแรง, เหตุผลวิบัติ เช่น คิดว่าไม่มาเรียนก็ได้เดี๋ยวอาจารย์ก็จะช่วยให้สอบผ่าน, คิดสงสัยว่าโลกหน้ามีจริงหรือไม่อยากรู้จึงฆ่าตัวตาย หรือฆ่าผู้อื่นแล้วสั่งให้เขากลับมาบอก เป็นต้น
ตะกละ = โลภมากในการกิน
ตน, ตนะ, ตนุ (ตะ-นุ), ดนุ, ดนู, ตัว = ตัวตน, ฉัน, ข้าพเจ้า
ตนัย, ดนัย = ลูกชาย
ตนุ (ตะ-หนุ) = เต่าตนุ (เต่า-ตะ-หนุ), เต่าทะเลชนิดหนึ่ง
ตม, ตมะ = สงสัย, โง่เขา, ตมคุณ ความมืด ความช้า ที่มีอยู่ในทุกสรรพสิ่งตามความเชื่อของฮินดูคือ ตมะ (มืด-ช้า) รชะ (เร็ว-ชั่ว) สัตตวะ (ดี-ไม่ช้าไม่เร็ว)
ตระ (ตฺระ) = เพลงตระ , แถบ แปลง (ของที่นาที่ไร)
ตรติ (ตะ-ระ-ติ), ตรติ์ (ตะ-ระ) = เขาย่อมข้ามไป, ข้ามฝั่ง
ตรงค์ (ตะ-รง), ดรงค์ (ดะ-รง), ตรงคะ, ดรงคะ = คลื่นน้ำ , ระลอกคลื่น
ตรณี (ตะ-ระ-นี) , ดรณี (ดะ-ระ-นี) = เรือ, สิ่งที่แล่นไปกับคลื่น
ตรุ (ตฺรุ) = นามแปลว่า คุกนักโทษ, ห้องขัง, เรือนจำ กริยาแปลว่า กรุ, ปุ, หรือ ปะ เพื่อปิดช่องว่าง (ภาษาถิ่น)
 ตรุ (ตะ-รุ),ตะรุ, ดรุ (ดะ-รุ) = ต้นไม้
ตรุณี (ตะ-รุ-นี), ดรุณี (ดะ-รุ-นี), ตรุณิโย, ดรุณิโย, ตรุณิยา, ดรุณิยา = หญิงสาว, รุ่นสาว
ตรุณ, ดรุณ, ตรุณะ, ดรุณะ, ดรุณา, ตรุโณ (ตะ-รุ-โน), ดรุโณ (ดะ-รุ-โณ) =เด็ก, รุ่นเด็ก, ชายหนุ่ม
ตัวเอง = ตนเอง, เธอ (ภาษาพูด) เช่น
๑) แปลว่า ตนเอง  ตัวอย่าง ต้องเชื่อมั่นในตัวเอง
๒) แปลว่า เธอ ตัวอย่าง ตัวเองไปดูหนังกับเราไหม?
เธอเอง = ตัวของเธอเอง
ตยะ (ตะ-ยะ), ตะยะ, ตาย, ตายะ =  ไป, ถึง, ตาย
ตละ (ตะ-ละ) , ตล = ไป, ถึง , บรรลุ, ดำรงอยู่
ตะละแม่ = เจ้านางฝ่ายพม่า
ตลก (ตะ-หลก) = เรื่องน่าขบขัน
ตะราย, ตราย =  อันตราย
นิรันตราย (นิ-รัน-ตะ-ราย) = ปราศจากภัย นิร (ปราศจาก) + อันตราย
ตะไล, ตะลัย = ดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง, ต้นคงคาเดือด, ขนมถ้วยตะไล, หัว (ภาษาทมิฬ) ไม่ควรแปลงเป็น ตะลาย เพราะจากไปใกล้เคียงกับคำว่า อันตราย มากไป
เวรตะไล, เวรจัญไร, เวรจังไร = ตัวซวย อาจจะมาจากการเล่น พลุดอกไม้ไฟ ที่สมัยโบราณการเล่นพลุไฟทำให้วัด และบ้านเรือนประชาชนลุกไหม้
ตรา = เครื่องหมาย, ตราประทับ
ตีตรา = ถูกตัดสินจากสังคม ส่วนใหญ่เป็นในแง่ไม่ดี มักใช้ว่า ตีตราบาป, การใช้เหล็กเผาไฟและนาบกับร่างกายนักโทษ หรือสัตว์เช่น ม้า หรือวัวเพื่อทำเครื่องหมาย
ตีตรวน = จับใส่ตรวน, จับล่ามโซ่ไว้
ตาก = ทำให้แห้ง, จังหวัดตาก, ตากใบ
ตารา, ตาริกา, ดารา, ดาริกา = ดวงดาว
นางตารา = ชายของพระพฤหัสบดี ที่ถูกพระจันทร์ลักไปจนทำให้กำเนิด พระพุธ ผู้เป็นลูกของพระจันทร์ “จันทรบุตร”, ปางหนึ่งของเจ้าแม่กาลี (คนละตนกับชายาพระพฤหัสบดี)
ตาล, ตาละ = ต้นตาล, ลูกตาล
น้ำตาล = ผลึกหวานสกัดจากอ้อยหรือกวนจากน้ำเลียงดอกตาล, ความหวานในอาหาร, สสารในร่างกายที่เป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน, รสหวานที่ทุกคนชอบ
ตาว , ตาว์ = ดาบยาว
ตรี, ไตร , ตรัย = สาม
ตรีรัตน์, ไตรรัตน์, รัตนตรัย= แก้วสามประการ
ตรีโลก, ไตรโลก = สามโลก  ไตรภูมิพระร่วงเป็น นรก, สวรรค์, มนุษย์ รามายณะเป็น บาดาล (นรกเป็นบาดาลต่ำสุด), มนุษย์, สวรรค์
ตรีเนตร = สามตา
ตุรงค์, ตุรงคะ, ดุรงค์, ดุรงคะ = ม้า
ตุริยางค์, ดุริยางค์ = วงดนตรี, ดนตรี
เตชะ, เตโช, เตชา, เดช, เดโช, เดชา = อำนาจ, ฤทธิ์, ความสามารถ
เตชิน, เตชินทร์, เดชิน, เดชินทร์ = ผู้เป็นใหญ่ในอำนาจ
โตมร (โต-มอน) , โตมระ (โต-มะ-ระ) = อาวุธใช้พุ่ง, หอก
เต้า = เป็นกริยาแปลว่า ไป เป็นนามแปลว่า น้ำเต้า, เต้านมคน, เต้านมสัตว์ อกสตรี
เตา = ที่ก่อไฟ, เตาหุงข้าวสมัยใหม่



ถ.
ถกล = ก่อสร้าง, ตั้ง
ถงัน = เผ่นไป
ถงาด = เยื้องท่า, ชะโงก, เงื้อม
ถนน =  เส้นทาง
ถนอม = คอยระวัง, คอยรักษา
ถีร, ถิระ, ถีระ , ถีรา, สถีระ, เสถียร, สถีรา, สถิรา = มั่นคง, แข็งแรง, ตั้งอยู่
สถิต, สถิต์  = อยู่, อาศัย, ตั้งอยู่
ถวิล = คิดถึง, โหยหา
ถวัลย์ = ทรง, ทรง, ยิ่งใหญ่
ถูล, ถุล, ถุลละ (ถุน-ละ) = อ้วน, หยาบ
สถุล, สถูละ = หยาบ
ถุลลัจจัย = อาบัติอย่างหนึ่งของสงฆ์
ถุลลปัจจัย =  สาเหตุแห่งความอ้วน, ความหยาบช้า
เถร (เถน), เถระ (เถ-ระ) = พระสงฆ์ผู้ใหญ่, พระสงฆ์อายุมาก
เถลิง = ขึ้น, ขึ้นครอง
เถลิงศก =  ขึ้นจุลศักราชใหม่ ตามการนับปีใหม่แบบเดิม คือวันที่ ๑๕ เมษายน

แถน = ผีฟ้าพญาแถน, เมืองแถน ในตำนานชาวไทย-ลาว มีศักดิ์เทียบเท่าพระอินทร์ของอินเดีย

ท.
ทวิ = สอง
ทวิพจน์ , ทวิวจนะ = คำที่ระบุจำนวนสองคน สองอย่าง สองสิ่ง ในไวยากรณ์สันสกฤต
ทวิชา,ทิชา = เกิดสองครั้ง หมายถึง นก หรือคนวรรณะพราหมณ์, นักบวช
ทวี = เพิ่มขึ้น
ทวีทรัพย์ , ทวิทรัพย์ = มีทรัพย์เพิ่ม
ทารก , ทารกา = เด็กแรกเกิด ในภาษาไทยใช้ไม่ระบุเพศว่าเป็น ทารกเพศชาย หรือทารกเพศหญิง
ทาริกา, ทาริกายะ, ทาริกาโย = เด็กหญิง
ทุ, ทุระ, ทุร์ = ชั่ว, ยาก, ผิด
ทุชน, ทุรชน ,ทุรชน์ (ทุ-ระ-ชะ) = คนชั่ว
ทุกุมาร (ทุ-ระ-กุ-มาน) = เด็กผู้ชายที่เลว
ทุกุมารี (ทุ-กุ-มา-รี) = เด็กผู้หญิงที่เลว
ทุรคา = นามจำแม่อุมาปางดูร้าย แปลว่า ผู้เข้าถึงได้ยาก
ทุศีล = ผิดศีล
ทินะ, ทิน, ทินา = วัน, กลางวัน
ทินกร, ทินกโร, ทินกรัย = พระอาทิตย์
ทิว = ทิวไม้, ทิวทัศน์
ทิวะ, ทิวา = วัน, กลางวัน
ทิวากร, ทิวะกร, ทิวากโร, ทิวะกโร, ทิวากรัย, ทิวะกรัย = พระอาทิตย์
ทิวย์ (ทิ-วะ), ทิวยะ (ทิ-วะ-ยะ), ทิพย์ (ทิบ), ทิพยะ (ทิ-พะ-ยะ), ทิวยา, ทิพยา = วิเศษ, ของวิเศษ, ของสวรรค์, ของเทวดา
นางทิพย์, ทิพย์นารี = นางฟ้า, นางเทพธิดา, นางที่เกิดจากอำนาจทิพย์ หรือของวิเศษ
โท = ที่สอง, เป็นรอง, ปริญญาโท เช่น เรียนโทที่ไหน?
โทษ, โทษา, โทษัย = ความผิด
โทส, โทสะ, โทสา, โทสัย  =  ความโกรธ
โทร (โท) = โทรศัพท์ ติดต่อ
โทรา , โทรา, โทรัย, ทูระ , ทูรา , ทูรัย = ไกล
ธ.
ธ (ธะ) = ท่าน นิยมใช้กับกษัตริย์ พระราชา เทวดา พระเจ้า พระพุทธเจ้า
ธัมมะ, ธรรมะ, ธัมมา, ธรรมา, ธัมโม, ธรรโม, ธัมมํ, ธรรมํ (ทำ-มัง)
ธร, ธระ, ธรา = ทรงไว้
ธา
ธาดา, ธาตา
ธาตรี = โลก
ธานี = เมืองหลวง
ธาร, ธารี, ธารา, ธารัย = สายน้ำ, สายธาร
ธรรมธาร, ธรรมธารา = สายธารแห่งธรรม
ธาราลัย, ธาราสัย = ที่อาศัยของธารน้ำ , แม่น้ำ ,บึง ,คลอง, มหาสมุทร
ธีระ, ธีร์, ธี, ธีรา = นักปราชญ์, ผู้รู้
ธุร์, ธุระ = การงาน, กิจสำคัญ




น. (ต่อ ๑)
นมะ, นโม, นมา, นมัย = นอบน้อม, ไหว้
นาม, นามะ, นามัย = นาม, คำนาม, ชื่อ
สุภนาม, สุนาม = ชื่อที่ดี, ชื่อที่เป็นมงคล
นาถะ, นาถ, นาถา = ที่พึ่ง
อนาถา, อนาถะ, อนาถ = ไม่มีที่พึ่ง, คนยากจน
นาภี , นาภา = สะดือ, ท้อง
นาศะ, นาศ, พินาศ = ถูกทำลาย, หมดสิ้น
นาสา, นาสิก, นาสิกะ, นาสิกา = จมูก
นะระ, นร = คน
นริ, นะริ, นะรี, นรี, นาริ, นารี = ผู้หญิง
นริน, นรินทร์, นเรศ, นเรศวร, นเรศวระ = กษัตริย์
นิเทศน์, เทศน์, เทศนา, เทศนะ = ให้คำสอน ให้คำแนะนำ
นิเทศก์, เทศกร, ผู้ให้คำแนะนำ
นิระ, นิร = ปราศจาก
นิรทุกช์ = ปราศจากทุกข์
นิรสุข = ปราศจากความสุข
นิโรธ, นิโรธา , นิโรโธ = การหลุดพ้นจากวัฏสงสาร
นิวัตร, นิวัต = กลับ