วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

โคลง ๔ ตรีพิธพรรณ (วัชรสัตว์)

ภาพวัชรปาณีปางปกติและปางปราบมาร หรือปางดุร้าย ตามความเชื่อ อินเดีย ธิเบต จีน ญี่ปุ่น และเขมรโบราณ (ขอม)


ภาพแผนผังโคลงตรีพิธพรรณ
ที่มา http://www.watmoli.com/poetry-chapter4/supharp/4112.html


๐ วัชรสัตว์อ้าง.............อินทรา องค์ฤา
พิทักษา กุศล................ก่อสร้าง
โพธิสัตว์ธรรมา.............มากเลิศ บุญแล
ขวา, วชิระข้าง..............จ่อจ้องจำลักษณ์ ฯ|

๐เฉกศักรินทร์รุ่งฟ้า.......วัชระ ถือนา
ผจญอสูรสัตว์.................สุขให้
ตรีโพธิสัตวะ..................วอนรักษ์ โลกแล
วัชรปาณิไซร้.................หนึ่งอ้างนับถือ

(By M. Rudrakul)

หมายเหตุ:

๑. มีการใช้คำตายแทนรูปเอก
๒. แต่เดิมแรกสุดวัชรปาณี หรือวัชรโพธิสัตว์มหาสัตว์ หรือวัชรสัตว์ (วัชรสัตตวะ - ในภาษาสันสกฤตพุทธศาสนา) คือพระอินทร์ในศาสนาฮินดู แต่ต่อมาเมื่อพุทธศาสนารับเข้ามาใส่พุทธศาสนามหายานจึงได้กลายเป็นพระโพธิสัตว์ผู้เคียงข้างกับพระพุทธเจ้าศากยมุนี (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ตนหนึ่ง และเป็นเจ้าสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นราชาพวกเทวดา และคนธรรพ์ แต่ต่อมาเมื่อมีการยกว่าพระโพธิสัตว์อยู่สูงกว่าเทพฮินดูจึงมีการสร้างตำนานว่า วัชรปาณีเป็นผู้สังหารพระมเหศวรปางหนึ่งของพระศิวะ เช่นเดียวกับรูปปั้นพระมัญชุศรีกระทืบพระคเณศ และอาจจะด้วยอิทธิพลของศาสนาไชนะด้วยส่วนหนึ่งที่นับถือเรียกพวกเทวดาว่ายักษ์ สมัยต่อมาจึงว่า วัชรปาณีเป็นราชาพวกยักษ์ ก็ไม่แปลกเพราะท้าวกุเวรและยักษ์ทั้งหลายในตำนานอินเดียเป็นพวกของเทวดา ส่วนพวกอสูรเป็นพวกเดียวกับรากษส (ทศกัณฐ์เป็นราชาพวกรากษส Vampire หรือผีปอบแขก ไม่ใช่ยักษ์ในเรื่องรามายณะทุกสำนวนในอินเดีย) วัชรปาณีมักปรากฏเคียงคู่กับพระมัญชุศรี และปัทมปาณี (ปางหนึ่งของอวโลกิเตศวร) ซึ่งน่าจะมีนัยสำคัญกับพุทธศาสนามหายาน นิกายวัชรยาน (ที่มีความเชื่อเรื่อง "การตรัสรู้แจ้งได้ฉับพลันเร็วดุจสายฟ้าฟาด" และมีการผสานเทพฮินดูจำนวนมากมาเป็นโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายาน พร้อมกับลัทธิตันตระ ยันตระ และมันตระ)
๓. คนที่แปล wiki มาก็จะแปลแต่ว่า วัชรปาณีเป็นยักษ์ตนหนึ่งเท่านั้นเนื่องจากไม่อ่านเนื้อความภาษาอังกฤษทั้งหมด
In early Buddhist legends, Vajrapāni is a minor deity who accompanied Gautama Buddha during his career as a wandering mendicant. In some texts he is said to be a manifestation of Shakra (ท้าว "ศักระ"), king of the Traayastrimsha (ตรายสตรึศะ ไทยใช้ "ไตรตึงษ์") heaven of Buddhist and Hindu cosmology and god of rain as depicted in the idols of the Gandharva. As Śakra, it is said that he was present during the birth of Tathagata. As Vajrapāni he was the god who helped Gautama escape from the palace at the time of his renunciation. When Sakyamuni returned from Kapilavastu (กบิลวัสตุ ไทยใช้ "กรุงกบิลพัสดุ์") he is stated to have assumed eight forms of devas who escorted him.

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

สี่สิบสี่สุขสุดศรีมนุษย์



ภาพแผนผังกาพย์ยานี 11




๐ สี่สิบสี่ สุขสุด....... ..............ศรีมนุษย์ นี้สุขศรี
เปรมใจ เป็นไรมี ...................มิหน่ายพี่ น้องพร้อมใจ ฯ

๐ ร่วมบุญ เจ้าคุณพระ............ณ ตอนเช้า ชื่นสดใส
แล้วปรีย์ ประชุมชัย................สร้อยสายใจ จัดสายกัน ฯ

๐ เมื่อเย็น สวรรค์หล้า......... ...สวรรยา ยังสังสรรค์
เสพสนุก สุขนั้น.....................มิจาบัลย์ บางรักเอย ฯ|

( by M. Rudrakul /11/24/2018)




วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ผลงานโคลงกลบทอักษรล้วน มรภ.นครราชสีมา ๖๑



ผลงานโคลงกลบทอักษรล้วนของนักศึกษา มรภ. นครราชสีมา ๖๑






ข้อแนะนำ

ถ้าเนื้อความที่แต่งกับที่ถอดไม่ตรงกัน แม้ว่าจะแต่งได้ส่วนใหญ่ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ ยังไม่นับรวมกับความไพเราะ แต่มองได้สามมุมมองคือ 

๑. หนึ่งแต่งได้แต่ขี้เกียจเขียนอธิบาย 
๒. สองแต่งแบบกลอนพาไปไม่คุมเนื้อความ หรือคุมเนื้อความไม่ได้
๓. สามไปลอกเขามาหรือให้เพื่อนแต่งให้

ดังนั้นควรถอดความตามคำประพันธ์ร้อยกรองกับร้อยแก้วให้ตรงตามตัวอักษร และเพิ่มอธิบายศัพท์ด้วย งานนี้จึงให้เต็มไม่ได้นะ แก้ตัวกับงานชิ้นต่อไป ส่วนงานนี้ส่งแล้วส่งเลย ไปต้องเอากลับไไปแก้แล้ว

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ผลงาน สักวาปริศนาคำผวน กลบทสะบัดสะบิ้ง + วรรณรูป ๖๑


ผลงานนักศึกษาปิดคอร์สเรียน ที่ มรภ. นครราชสีมา (นศ. ช่วยกันทำในชั่วโมงเรียน)

ภาพที่ ๑ : แผนภาพสัมผัสเพิ่มของกลบทสะบัดสะบิ้งในแต่ละวรรค
ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/kondee007/2008/10/16/entry-1


กลุ่มนี้ดี นำบทกวีมาสร้างเป็นวรรณรูปได้ แต่ไม่มีอธิบายศัพท์ คำผวน-คำปกติ ✭✭✭✭

กลุ่มนี้ดี นำบทกวีมาวาดเป็นวรรณรูปได้ แต่ไม่มีอธิบายศัพท์ คำผวน - คำปกติ ✭✭✭✭

กลุ่มนี้ดี แต่ไม่มีอธิบายศัพท์ คำผวน - คำปกติ และเขียนบทกวีบางแห่งไม่ตรงเส้น ✭✭✭✭


กลุ่มนี้ดี มีการอธิบายศัพท์ แต่วรรณรูปเหมือนเขียนตามเส้นไม่ครบ เพราะวาดรูปมีพื้นที่เขียนมากกว่าบทกวี ✭✭✭✭


กลุ่มนี้ดี มีการใช้สีสวยงาม แต่ไม่มีอธิบายศัพท์ คำผวน-คำปกติ และวาดภาพมีพื้นที่เส้นเหลือมากไปกว่าจำนวนคำของบทกวีเป็นจำนวนมาก ✭✭✭✭


ส่งเสริมให้สนุกและมีใจรักกวีนิพนธ์เป็นหลัก ส่วนใครจะเป็นศิลปินเอกเป็นเรื่องของอนาคต (หัวข้อแบบนี้ลอกเน็ตฯไม่ได้แน่) ปล. คะแนนเต็ม = ✭✭✭✭✭

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

โคลงกลอักษรจองถนน


วิธีอ่าน
ศศิธรจรแจ่มเรื้อง............ศศิธร
ผ่องแผ้วกลางอัมพร.......ผ่องแผ้ว
ดาษดาวประดับสลอน.....ดาวดาษ
ล้อมแวดจันทราแพร้ว.....แวดล้อมศศิธร

(โคลงกวีโบราณที่ถูกลืม)
.................
ที่มา http://folyoiratok.ofi.hu/mikkamakka/riksa-a-labbal-hajtott-taxi

แต่งโคลงกลอักษรจองถนนใหม่

ถนน...........ถมยกเยื้อง...............เที่ยวเท้า
..................ทางโทรมซน............
..................เร่งรีบรน...................
รถลาก........ซอยแซมเข้า............ร่มไม้

วิธีอ่าน

๐ ถนนถมยกเยื้อง..............ถนน
เที่ยวเท้าทางโทรมซน.....เที่ยวเท้า
รถลากเร่งรีบรน.................ลากรถ
ไม้ร่มซอยแซมเข้า.............ร่มไม้ถนน ฯ

(By M. Rudrakul)

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กลบทอักษรล้วน



กลบทอักษรล้วน 
๑. ส่วนใหญ่ใช้แต่งบทชมธรรมชาติ คำที่ใช้ มักเป็นคำโดด ทั้ง ไทย จีน เขมร มอญ แขก ฝรั่ง ฯ
๒. ในแต่ละวรรค หรือบาท (สำหรับโคลง) เล่นสัมผัสอักษรตัวเดี่ยวกันทั้งหมด
๓. รักษาสัมผัสบังคับตามฉันทลักษณ์ไว้ตามชนิดของบทร้อยกรอง
๔. เฉพาะคำประพันธ์ที่แต่งด้วยกลอนที่ไม่ใช่กลอน ๔ ไม่ควรลงท้ายด้วยคำตาย (คำที่สะกดด้วย แม่กก, กด, กบ) ที่พยางค์สุดท้ายของวรรครับ และส่ง โดยพยางค์สุดท้ายของวรรครับควรเป็นเสียงสูง ส่วนวรรคส่งต้องเป็นเสียงต่ำ (เฉพาะกลอนเท่านั้น) 
๕. โดยทั่วไปสัมผัสบังคับมักใช้ แม่ ก กา สระอี, ไอ, อา เพื่อให้แต่งต่อง่าย ๆ แต่ถ้าหาคำสัมผัสสระได้ก็ไม่จำเป็น
๖. กรณีภาษาไทยมาตรฐานหรือภาคกลางไม่มีคำใช้ ใช้ภาษาถิ่น คำยืมภาษาต่างประเทศได้ หรือคำแปลงได้บ้าง ถ้าเข้ากับเนื้อความ แต่ต้องอธิบายศัพท์ต่อท้ายไว้ ทุก ๆ ครั้ง


ภาพใบไม้สีทอง หรือ ย่านดาโอ๊ะ เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ ใบอ่อนมีมีขนสีน้ำตาลแดง หรือขนสีทองแดง


ภาพต้นทองกวาว ,ก๋าว,ทองต้น , จอมทอง, จ้า หรือดอกจาน (พบทุกภาคในประเทศไทย)
................
๑) แต่งเป็นกลอนเก้า (กลอักษรล้วน)



๐ ลิงลมล้วน ลงลามเล่น เล็งไล่แล้ว........กลไก่แก้ว เกาะกิ่งกาญจน์ กู่เกี่ยวใกล้
ช้างชวนชอบ ชิดชลชง ชนชิงชัย..............เต่าตื่นไต่ ตกต่ำเต้า ตูดติดตม
๐ บุ้งบนบก แบ่งใบบอน บางบ่นบ้าง.........เสือสิงห์สาง สาบสุดไศล์ สื่อสบสม
ดูเดียร์ดาว เด่นดวงดอก ดังเด็ดดม.......... ไคลคลาคม ครู่ค้างคาวครวญค่ำเคย ฯ|~

(By M. Rudrakul)

๒) แปลงเป็นกาพย์ยานี (กลอักษรล้วน)



๐ ลิงลมลงไล่แล้ว.............กิ่งไก่แก้ว เกาะกู่ใกล้
ช้างชิดชลชิงชัย................เต่าตื่นตกตูดติดตม ฯ
๐ บุ้งแบ่งใบบอนบ้าง.........เสือสิงห์สางสาบไศล์สม
ดังเดียร์ดาวเด็ดดม.......... ไคลคลาค้างคาวค่ำครวญ ฯ|~

(By M. Rudrakul)

๓) แบ่งเป็นโคลงสี่สุภาพ (กลอักษรล้วน)



๐ ลิงลมลงไล่แล้ว..................ลงลา ลามเล่น
กุมกิ่งกาญจน์ไกลกา.............ไก่แก้ว 
ช้างชนใช่ชินชา.....................ชลชื่น ชิดชัย
ตราบเต่าตกติดแต้ว...............ตื่นใต้ตูดตม ฯ

๐ บางใบบอนแบ่งบุ้ง............บนแบว บกบอก
เสือสบสิงห์ไศล์แสว.............สาบไส้
ดูเดียร์ดั่งแดแดว..................ดมเด็ด ดาวใด
คราวค่ำคิดคลาไคล้.............คาบค้างคาวครวญ ฯ|~

(By M. Rudrakul)


ภาพลิงลม หรือนางอาย (เคลื่อนไหวช้าเวลากลางวัน แต่เป็นเลี้ยงลูกด้วยนมที่มีพิษที่ข้อศอก และน้ำลาย) 

ถอดความ : 

เห็นนางอายต่างลงมาจากต้นไม้ก็ค่อยมองไล่ 
ทั้งไก่ฟ้าพญาลอ ก็จับกิ่งไม้ทองร้องอยู่ใกล้
ตอนนั้นช้างก็ชนกันสู้อยู่ริมฝั่งน้ำ 
ทำให้เต่าที่ไต่ขึ้นมาตกใจตกลงไปจนตูดของมันปักลงไปในโคลนตม
ส่วนหนอนบุ้งที่อยู่บนบกก็กินใบบอนจนบางลงไปบ้าง 
เสือและสิงห์ร้ายในป่าก็ทิ้งกลิ่นสาบไว้ตามโขดหินที่มันไป
เพื่อดูกวางดาวที่มีลายดุจดวงดอกไม้ที่เด็ดดมได้
จำต้องดำเนินจากไปในครู่เดี๋ยวเดียวก็ค่ำเพราะได้ยินเสียงค้างคาวร้องดังเคย

ภาพไก่ฟ้าพญาลอ (ไก่สายพันธุ์จำพวกนกกระทาและไก่ฟ้า พบทางภาคเหนือ อีสาน ลาว กัมพูชา ฯ)



ภาพไก่ฟ้าหน้าเขียว (พบทางภาคใต้ มาเลเซีย บอร์เนีย และหมู่เกาะสุมาตรา)

ศัพท์
ลิงลม = นางอาย
ไก่แก้ว = ไก่ฟ้าพญาลอ เป็นพันธุ์ไก่ป่าชนิดหนึ่ง
สาง = กลิ่นศพ ในที่นี้หมายถึงกลิ่นซากสัตว์ที่ถูกเสือและสิงห์กินติดตามโขดหิน
ไศล์ (อ่าน ไส) = ไศล (สะ-ไหล) แปลว่า โขดหิน, ศิลา, หินขนาดใหญ่
กู่ = ในที่นี้ใช้ในความหมายว่า "เสียงร้องดังให้รู้ว่าอยู่ที่ไหน"
บุ้ง = หนอนบุ้ง
เดียร์= deer แปลว่า "กวาง"
คม = คมนาคม , ไป
............ศัพท์เพิ่มเติมสำหรับโคลง........
แสว = แส่วหนี, หนีไป
แดว = กระแด่ว , ดิ้นอยู่กับที่
แด = ดวงแด, ดวงใจ, หัวใจ
ดั่งแดแดว = หัวใจที่เหมือนดิ้นอยู่กับที่ , ใจเต้น ในที่นี้หมายถึงเสือ และสัตว์นักล่าเห็นกวางดาวแล้วใจเต้นอยากเข้าไปจับเอามากิน
แต้ว = แต้วแร้ว, นกชนิดหนึ่ง 
แบว= บ้องแบ็ว, มีหน้าตาพิลึก ในที่นี้หมายถึงใบไม้ที่ถูกหนอนกินจนดูเหมือนมีหน้าตาผิดไปจากเดิม
สาบไส้ = กลิ่นสาบเหม็นเข้าไส้, กลิ่นสาบเหม็นมาก
คลาไคล้ = คลาไคล, ดำเนินไป, ไป

ภาพหนอนบุ้ง หนอนแก้ว หรือร่าน (มีหลายสายพันธุ์เป็นหนอนผีเสื้อชนิดหนึ่งขนขึ้นตามตัวมีพิษ) 
..........
หมายเหตุ

กลอนเก้า

มีปรากฏในกลบทศิริวิบุลกิตติ สมัยอยุธยาตอนปลาย แต่สมัยต่อมาไม่ได้รับความนิยมแต่งมากเท่ากลอนแปด แต่กวีบางท่านเช่น ท่านพุทธทาสภิกขุ ก็แต่งกลอนเก้าเพื่ออธิบายหัวข้อหลักธรรมในพุทธศาสนาบาง ซึ่งอาจจะเป็นเพราะคำบาลีสันสกฤตบางคำแยกออกจากกันไม่ได้ จึงทำให้คำประพันธ์บางบทเข้าลักษณะของกลอนเก้ามากกว่า

ความจริงตั้งแต่ กลอนแปดขึ้นไป ลักษณ์ฉันทลักษณ์ไม่ได้ต่างกันมากนัก จำนวนพยางค์ก็ลื่นไหลได้ตั้งแต่ แปดพยางค์ถึงสิบเอ็ด สิบสองพยางค์ ถ้าคำที่ใช้เป็นคำบาลีสันสกฤตที่ตัดทิ้งไม่ได้ โดยคำนึงถึงความไพเราะเป็นสำคัญ

ในบางครั้งจึงเห็นกลอนเก้าก็แต่งปน ๆ อยู่กับกลอนแปด หรือกลอนแปดที่มีพยางค์แต่ละวรรค เป็นเก้าบ้าง เจ็ดบาง สิบบ้าง ฯ เป็นปกติ (ขึ้นอยู่กับความไพเราะอีกนั้นแหละ)


ภาพนกแต้วแร้ว หรือแต้วแล้ว (สีสวยงาม ชอบทำรัง กระโดด เดินบนพื้นดินในป่า แต่บินได้ในระยะสั้น)
ที่มา http://tryanimal.blogspot.com/p/blog-page_73.html

สักวาปริศนาคำผวน (กลบทสะบัดสะบิ้ง)

ภาพที่ ๑ : แผนภาพสัมผัสเพิ่มของกลบทสะบัดสะบิ้งในแต่ละวรรค
ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/kondee007/2008/10/16/entry-1

กลบท (ฉันทลักษณ์เพิ่มเติมในแต่ละวรรค)
๑. พยางค์ที่ ๕ ต้องสัมผัสสระกับพยางค์ที่ ๗
๒. พยางค์ที่ ๖ ต้องซ้ำกับพยางค์ที่ ๘
๓. พยางค์ที่ ๗ ต้องสัมผัสอักษรกับพยางค์ที่เก้า
๔. สัมผัสบังคับคงเดิมเหมือนกลอนเก้าทั่วไป

๕. แต่พยางค์ที่ ๙ ของวรรคสดับจะสัมผัสกับพยางค์ที่ ๖ ของวรรครับ และพยางค์ที่ ๙ ของวรรครอง จะสัมผัสกับพยางค์ที่ ๖ ของวรรคส่ง..ได้ยาก เพราะต้องคำนึงถึงกลบทเป็นสำคัญก่อน ดังนั้น ถ้าแต่งให้พยางค์ที่ ๙ ของวรรคสดับจะสัมผัสกับพยางค์ที่ ๓ ของวรรครับ และพยางค์ที่ ๙ ของวรรครอง จะสัมผัสกับพยางค์ที่ ๓ ของวรรคส่ง...ตามปกติ จะแต่งง่ายกว่า

ภาพแผนผังกลอนเก้า
ที่มา https://babyratnakavi.blogspot.com/2018/11/blog-post_41.html
....................แนวการแต่ง....................

๑) เปลี่ยนคำปกติ เป็นคำผวน (เหมาะกับการใช้เป็นสื่อนำเข้าสู่บนเรียนเรื่องคำประสมสำหรับนักเรียนที่มีความรู้เรื่องคำผวนแล้ว)

แม่ไก่ = ไม่แก่
แม่ทัพ = มับแท่
แม่น้ำ = มั้มแน่
แม่พระ = มะแพร่
แม่ยก = มกแย่
แม่แรง = แมงแร่
แม่เหล็ก = เม็กแหล่
แม่ย่านาง = มางย่าแน่

๒) นำคำผวนมาแต่งเป็นสักวาใบ้คำแต่ละวรรค

แม่ไก่ = ไม่แก่, สักวา "ไม่แก่" ขันนำขันขำ
แม่ทัพ = มับแท่, "มับแท่"นำไพร่พลไกรพลกล้า
แม่น้ำ = มั้มแน่, "มั้มแน่" นองชะรินระรินรา
แม่พระ = มะแพร่, ดีนักหนา "มะแพร่" จะแพร่ใจ
แม่ยก = มกแย่, มี "มกแย่" ยิเกลิเกลูก
แม่แรง = แมงแร่, "แมงแร่"ถูกค้ำรถช้ำรถใช้
แม่ย่านาง = มางย่าแน่, "มางย่าแน่"สิงยานมิ่งยานใหม่
แม่เหล็ก = เม็กแหล่, "เม็กแหล่"ไหนเข้าติดเอาติดเอย

๓) นำแต่ละวรรคมาเรียงตามฉันทลักษณ์กลอนสักว่า แก้สัมผัสบังคับให้สมบูรณ์

๐ สักวา "ไม่แก่" ขันนำขันขำ............"มับแท่"นำทั้งไพร่พลไกรพลกล้า
"มั้มแน่" นองชลชะรินระรินรา................ดีนักหนา เหมือน"มะแพร่" จะแพร่ใจ ฯ
๐ มี "มกแย่"ยั่ว ยิเกลิเกลูก...................."แมงแร่"ถูกถ้าค้ำรถช้ำรถใช้
"มางย่าแน่"นั่งสิงยานมิ่งยานใหม่......."เม็กแหล่"ไหนหาเข้าติดเอาติดเอย

By M. Rudrakul

หมายเหตุ
๑. กลบท แบ่งได้เป็นสองชนิดใหญ่ คือ

ภาพที่ ๒ : ตัวอย่างโคลงกลบทวัวพันหลัก
ที่มา กำชัย ทองหล่อ. (๒๕๕๔). หลักภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพ: รวมสาส์น. หน้า ๔๗๒.

๑.๑ กลบท  คือการกำหนดสัมผัสบังคับเพิ่มเติมจากฉันทลักษณ์ที่มีอยู่เดิมให้สลับซับซ้อนยิ่งขึ้น ถ้ากลบทที่แต่งเป็นกลอนเรียกว่า กลอนกลบท ถ้ากลบทที่แต่งเป็นโคลงเรียกว่าโคลงกลบท
.........

๑.๒ กลอักษร  คือกลบทชนิดต่าง ๆ ที่มีการนำคำมาจัดเรียงเป็นรูปภาพ บางท่านเรียกว่าซ่อนรูปอักษร ในสารานุกรม wiki เรียกว่า กลแบบ (แต่ยังหาที่มาที่ไปไม่ได้ และที่มีที่มาส่วนใหญ่ลอก Wiki มาทั้งนั้น) ในที่นี้ยึดตามหลักภาษาไทยของอาจารย์กำชัย ทองหล่อ

๑.๒.๑ กลอักษรภาพ  คือการน้ำบทร้อยกรองมาเรียงเป็นรูปภาพปริศนาแล้วให้ผู้อ่าน จัดเรียงเป็นบทร้อยกรองตามฉันทลักษณ์ คล้าย Typography หรือ "วรรณรูป" ของฝรั่ง แต่วรรณรูปของฝรั่งส่วนใหญ่ไม่เป็นบทร้อยกรองและกลบท ดีสุดส่วนใหญ่ก็เป็นแค่กลอนเปล่า


ภาพที่ ๓ : วรรณรูป Typography ของไทย
ที่มา https://i.pinimg.com/originals/17/e2/4b/17e24b1edddf0fbbee1d680238655f15.jpg


ภาพที่ ๔ : วรรณรูปของอิสลาม Islamic Typography
ที่มา https://www.kisscc0.com/clipart/islamic-design-arabic-calligraphy-islamic-art-alla-eslxeq/

๑.๒.๒ กลบทอักษรภาพ หรือกลบทอักษร คือ บทร้อยกรองที่เป็นกลบทต่างถูกน้ำไปเรียงเป็นภาพแล้วให้ผู้ทายจัดเรียงเป็นบทร้อยกรองตามฉันทลักษณ์เอง

ภาพที่ ๕ : ตัวอย่างโคลงกลบทอักษรจองถนน
ที่มา กำชัย ทองหล่อ. (๒๕๕๔). หลักภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพ: รวมสาส์น. หน้า ๔๗๘.

๒. ในสารานุกรมออนไลน์ Wiki เรียกกลบทว่า "กลอักษร" และเรียกกลอักษรว่า "กลแบบ" ซึ่งอาจจะเป็นการพยายามสร้างทฤษฏีใหม่ล้มล้างตำราของ อาจารย์กำชัย ทองหล่อในยุคหลัง ๆ แต่อย่างไรก็ตามทำให้เกิดการสับสนเรียก กลบทและกลอักษรสับไปสับมาทั่วไป และคำว่า "กลแบบ" ยังไม่พบว่าราชบัณฑิต ฯ บัญญัติใช่ในขณะนี้...ตามดูกันต่อไป

๓. ส่วนอาจารย์กำชัย ทองหล่อ (๒๕๕๔ : ๔๘๖)  สรุปว่า "กลบท คือคำประพันธ์ ที่เพื่อสัมผัสบังคับ และคำซ้ำให้กับบทร้องกรองทั่วไป ซึ่งกลอักษรก็คือกลบทที่เล่นคำซ้ำมากกว่น กลบทโดยปกติทำให้เหลือทำที่เป็นคำทั่วไปที่ไม่ใช่คำซ้ำเพียง ๔ - ๖ พยางค์ในแต่ละวรรค"

โดยน่าสังเกตว่า พอเหลือคำที่ไม่ใช่คำซ้ำน้อย ๆ แล้วสามารถนำมาวาดเป็นเลขยันต์หรือรูปภาพได้

๔. นำปริศนาคำทายไปถามเพื่อน ถ้าเพื่อนตอบได้ผู้แต่งจึงจะได้คะแนน หนึ่งคำทายต่อ ๑ คะแนน

เพราะสมัยโบราณคนแต่งปริศนาแก้ได้ยากเก่ง แต่ในการสร้างสื่อสำหรับสอนเด็กแต่งแล้วเด็กอ่านและทายได้ ดังนั้นคำทายจะต้องไม่ยากไม่ง่ายเกินไปถึงจะดี เหมาะแก่การใช้เป็นสื่อสำหรับนำเข้าสู่บทเรียน หรือเสริมบทเรียนให้น่าสนใจยิ่งขึ้น เพราะถ้ายากเกินไปจะทำให้เสียเวลาเรียน หรือการทำกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ในส่วนอื่น ๆ

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

สักวาปริศนาคำผวน

ที่มา https://suzannewoodsfisher.com/fun/friday-fun-spoonerisms/

๑) กลอนปริศนาคำทายที่คำตอบลงท้าย "สระไอ" เหมือนกัน (ใช้สอนเรื่อง ไอ การันต์ และสัมผัสสระได้)

กะได = ไกดะ  , สักวา"ไกดะ" เดาไตภาษา
ตะไล = ไตละ  "ไตละ"ลาลี้เล่นพลุพลุ่งหัว
สมัย = ไสมะ   "ไสมะ"มายุคยืนยานนานนัว
อะไร = ไอระ  "ไอระ" รัวเร่งเร้าถามความใด
กำไร = ไกรำ  , มี "ไกรำ" หรือไม่เมื่อขายขำ
ทำไม = ไทมำ , ทุกข์ " ไทมำ" เมื่อรู้ดูสดใส
ลำไย = ไลยำ, สวน "ไลยำ" เยี่ยมยลหยิบผลไว
อำไพ = ไอพำ, ส่องแสง "ไอพำ" พึงครุ่นคิดเอย

๐สักวา "ไกดะ" เดาไตภาษา............"ไตละ"ลาลี้เล่นพลุพลุ่งหัว
"ไสมะ"มายุคยืนยานนานนัว..............."ไอระ" รัวเร่งเร้าถามความใด ฯ
๐ มี "ไกรำ" หรือไม่เมื่อขายขำ............ทุกข์ " ไทมำ" เมื่อรู้ดูสดใส
สวน "ไลยำ" เยี่ยมยลหยิบผลไว.........ส่องแสง "ไอพำ" พึงครุ่นคิดเอย ฯ|~

By M. Rudrakul
.........
๒) ปริศนาคำผวนแบบคำตอบ สัมผัสสระโยงกันเป็นลูกโซ่ (ใช้สอนสัมผัสสระได้)

สะใภ้ = ไสภะ, สักวา ลูก "ไสภะ" ใช่เขย
ไหมพรม = ห่มไพร, "ห่มไพร"เคยคุ้มอุ่มฟูนุ่ม
ยมราช = ญาติร่ม, "ญาติร่ม"นรกหรือถนนสื่อสุ่ม
วาสนา = หว้าสะนาฏ, "หว้าสะนาฏ" นั้นโชคชุ่มชมกัน
น่ารัก = นักล่า, แต่ "นักล่า" เล่นเล่ห์เสน่หา
จักพราก = จากพัก, "จากพัก" พาเพื่อนนกน้ำในสวรรค์
รากไม้ = ไร้มาก, หาก "ไร้มาก" หมายเหง้าไพรพรรณ
ไตรรัตน์ = ตรัสไล่, "ตรัสไล่" ลั่นโลกลัวนพึ่งแล้วเอย

๐ สักวาลูก "ไสภะ" ใช่เขย............ "ห่มไพร"เคยคุ้มอุ่มฟูนุ่ม
"ญาติร่ม"นรกหรือถนนสื่อสุ่ม........"หว้าสะนาฏ" โชคชุ่มชมกัน ฯ
๐ แต่ "นักล่า" เล่นเล่ห์เสน่หา......."จากพัก" พาเพื่อนนกน้ำในสวรรค์
"ไร้มาก" หมายเหง้าไพรพรรณ......."ตรัสไล่" ลั่นโลกลัวนพึ่งแล้วเอย ฯ|~

By M. Rudrakul
........
๓) แบบคำตอบมีคำหน้าเป็นคำเดียวกัน หรือเสียงเดียวกัน (ใช้สอนคำพ้องเสียงได้)

จันทรเพ็ญ = เจ็ญพันธุ์, สักวา "เจ็ญพันธุ์" พูลสวรรค์
จันทร์กะลา = จากะลัน, "จากะลัน"เล็งเสี้ยวสล้างฟ้า
จันทบุรี = จันท์บุรี = จีบุหลัน, "จีบุหลัน"เลิศเมืองมณีมีค่า
จัณฑาล = จานทัน , "จานทัน"ท้า ทำลายชนชั้นใด
จัญไร = ไจรัน, ด่า "ไจรัน" รันทดสลดแล้ว
จันทรกานต์ = จานทะกัน, "จานทะกัน"แท้แก้วแพรวสดใส
จันทรเศขร = จอนทะเสขัน, ปาง "จอนทะเสขัน" ขานศิวะใหญ่
จัณฑี = จีทัน, ไท้เทวี "จีทัน"ดุ อุมาเอย

๐ สักวา "เจ็ญพันธุ์" พูลสวรรค์..........."จากะลัน"เล็งเสี้ยวสล้างฟ้า
"จีบุหลัน"เลิศเมืองมณีมีค่า................."จานทัน"  ท้า ทำลายชนชั้นใด ฯ
๐ ด่า "ไจรัน" รันทดสลดแล้ว.............."จานทะกัน"แท้แก้ว แพรวสดใส
ปาง "จอนทะเสขัน" ขานศิวะใหญ่.......ไท้เทวี "จีทัน"ดุ อุมาเอย ฯ|~

By M. Rudrakul

............

๔) ปริศนาคำทายคำผวนที่มีคำตอบพยางค์หลังซ้ำกัน (ใช้สอนเรื่องคำประสมได้)

๔.๑ แปลงคำปกติเป็นคำผวน

หลังบ้าน = หลานบัง
หน้าบ้าน = หนานบ้า
หมู่บ้าน = หมานบู่
ผู้ใหญ่บ้าน = ผ้านใยบู้
ลูกบ้าน = ล้านบูก
เจ้าบ้าน = จ้านเบ้า
พ่อบ้าน = พ้านบ่อ
แม่บ้าน = ม้านแบ่

๔.๒ เอาคำผวนมาแต่งเป็นบทร้อยกรอง (กลอนสักวา)

หลังบ้าน = หลานบัง, สักวา "หลานบัง" บอกเรือนท้าย
หน้าบ้าน = หนานบ้า, "หนานบ้า"ปลายเบื้องต้นประตูใหญ่
หมู่บ้าน = หมานบู่, "หมานบู่" อยู่สุขทุกเคหะไป
ผู้ใหญ่บ้าน = ผ้านใยบู้, เพราะ "ผ้านใยบู้"ตูนี้ท่านดีจริง 
ลูกบ้าน = ล้านบูก, อีก "ล้านบูก" เบิกบาน บ่ ทำชั่ว
เจ้าบ้าน = จ้านเบ้า, "จ้านเบ้า"ขรัว ขุมคุณนึก ระลึกยิ่ง
พ่อบ้าน = พ้านบ่อ, พิศ "พ้านบ่อ"บ่าวหัวหน้าทำหน้าตึง
แม่บ้าน = ม้านแบ่, สั่งให้ซึ้งสาว "ม้านแบ่" บ่นเบื่อเอย

๔.๓ เรียงคำผวนตามฉันทลักษณ์กลอนสักวา และแต่งสัมผัสบังคับให้ถูกต้อง

๐ สักวา "หลานบัง" บอกเรือนท้าย......."หนานบ้า"ปลายเบื้องต้นประตูใหญ่
"หมานบู่" อยู่สุขทุกเคหะไป................เพราะ "ผ้านใยบู้"ตูนี้ท่านดีจริง ฯ
๐ อีก "ล้านบูก" เบิกบาน บ่ ทำชั่ว........"จ้านเบ้า"ขรัว ขุมคุณนึก ระลึกยิ่ง
พิศ "พ้านบ่อ"บ่าวหัวหน้าทำหน้าตึง.....สั่งให้ซึ้งสาว "ม้านแบ่" บ่นเบื่อเอย ฯ| ~

By M. Rudrakul

หมายเหตุ :

๑. เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนเรื่องคำผสม คำซ้อน คำซ้ำสำหรับเยาวชน ไม่ควรใช้คำผวนที่เป็นคำหยาบ ทั้งคำที่เป็นคำหยาบนำมาผวน หรือคำสุภาพที่ผวนแล้วกลายเป็นคำหยาบ

๒. ให้ใช้คำสุภาพผวนแล้วกลายเป็นคำที่ไม่มีความหมายได้

๓. คำที่ไม่ควรนำมาผวน
๓.๑) คำที่มีสระและตัวสะกดมาตราเดียวกันไม่ควรนำมาผวน เช่น งานบ้าน (ง้านบาน?) การบ้าน (ก้ารบาน?) เป็นต้น
๓.๒) คำที่มีพยัญชนะซ้ำ ๆ กันเช่น รักเร่ (เร่รัก?) รักร้าง (ร้างรัก?) เป็นต้น เพราะจะกลายเป็นแค่สลับพยางค์กันเท่านั้น ง่ายเกินไปใช้เป็นปริศนาคำทายไม่ได้

๔. กลอนปริศนาคำผวนง่ายทึ่สุด ในปริศนาคำทายบทร้อยกรอง เพราะมีคำตอบในคำถาม เหมาะสำหรับฝึกเชาวน์ปัญญาเยาวชน แต่ควรใช้คำสุภาพเท่านั้น และไม่แต่งเพื่อเหน็บแนมหรือเสียดสีใคร (ขอย้ำอีกครั้ง)

๕. คำผวน (spoonerism)  คือ การเล่นสับเสียงของคำ โดยสลับตำแหน่งพยัญชนะ และสระกับคำเดิม คำผวนในภาษาไทย เช่น ไสเจีย = เสียใจ, โทต๋อง = ท้องโต,  แจ็วหลบ = จบแล้ว เป็นติน

ที่มา https://tvtropes.org/pmwiki/pmwiki.php/Main/Spoonerism

Spoonerism หรือคำผวนที่ฝรั่งเล่นกันเพื่อสร้างความขบขัน แต่ไม่ได้เน้นว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับทางเพศโดยตรงเหมือนอย่างคำผวนไทย เช่น

tons of soil = sons of toil
you've tasted two worms = you've wasted two terms
is the bean dizzy? = is the Dean busy?
go and shake a tower = go and take a shower

โดยการเล่นคำผวนมีการเล่นแพร่หลายในหนังตะลุงทางภาคใต้เป็นอย่างมากจนมีผู้กล่าวว่าถ้าคณะหนังตะลุงคณะไหนไม่เล่นคำผวนจะไม่มีคนดู ส่วนวรรณกรรมมีทั้งที่เป็นวรรณกรรมปกปิดในราชสำนัก  (เรื่องพระเอ็ดยง : สงสัยกันว่า คุณสุวรรณ กวีเอกสตรีราชินิกุล ณ บางช้างสมัยรัตนโกสินทร์ ๒๓๕๒-๒๔๑๘ เป็นผู้แต่ง เพราะคุณพุ่มคุณสุวรรณเป็นกวีเอกสตรียุคเดียวกันมีการจำผลงานของท่านทั้งสองสับสนกันในยุคหลัง)

แต่สุดยอดคำผวนที่ได้รับการยกย่องเชื่อว่าเป็นภูมิปัญญาด้านภาษาและวรรณกรรมใต้และของไทยในปัจจุบันคือเรื่อง "สรรพลี้หวน" 18+ ซึ่งเป็นสุดยอดของการเล่นคำผวนและกลบท โดยผู้เรียบเรียงกล่าวว่า "อ่านได้แต่อย่าแปลหรือผวนกลับ" (รู้ในใจ แต่อย่าผวนกลับให้คนอื่นฟัง) เพราะคำผวนและวรรณกรรมคำผวนมักจะเป็นคำที่ผวนหรือแปลกลับได้เป็นคำหยาบ

สรรพลี้หวน ไม่ปรากฏผู้แต่งแน่ชัด นอกจากนามแฝงที่เรียกว่า ขุนพรหมโลก ซึ่งต่อมามีผู้จัดพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๑๖ ก็อ้างว่าตนคือขุนพรหมโลกเช่นกัน (บ้างท่านมีความเห็นว่าวรรณกรรมคำผวนเรื่องนี้น่าจะมีมาแต่ครั้งปลายกรุงศรีอยุธยา..เพราะเป็นยุคที่เริ่มมีความนิยมแต่งกลอน และกลอนกลบท โดยยังไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่น่าเชื่อถือรับรองแน่ชัด) ส่วนวรรณกรรมคำผวนที่มีชื่อเรื่องอื่นคือ "สรรพลอด้วน" ของชาวใต้ก็ไม่ปรากฏผู้แต่งและก็ไม่เป็นที่นิยมมากนัก

๖. แต่ในงานชิ้นนี้เป็นการสร้างสื่อให้เยาวน์ใช้เรียนในสถานศึกษา จึงขอความอนุเคราะห์ให้ใช้เฉพาะคำผวนที่ไม่เป็นคำหยาบ ทั้งตัวคำผวนเองและคำแปล

๗. ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม สร้างคำผวนขึ้นใหม่เพื่อให้ได้คำผวนที่ไม่เป็นคำหยาบ และแต่งปริศนาคำทายเป็นกลอนสักวา ตามสลากที่ตนจับได้ ๑ - ๔

๘. ห้ามใช้คำหรือพยางค์ที่เป็นคำตอบมาใส่ในบทกลอน เช่น หลังบ้าน = หลานบัง มีในวรรคได้ครั้งเดียวห้ามมีคำว่า "หลัง" หรือ "บ้าน" ในวรรคคำถามนั้น ๆ

๙. เนื้อหาในแต่ละวรรคให้ถามและใบ้จบในแต่ละวรรคไป ไม่จำเป็นต้องเชื่อมเนิ้อหาแต่ละวรรคถึงกัน เพราะคำตอบจะเชื่อมถึงกันเอง เพราะเป็นศัพท์อยู่หมวดเดียวกัน หรือมีสัมผัสกันอยู่แล้ว

วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561

สนุกกับฉันท์ ๔ (ภุชงคประยาตฉันท์และวิชชุมมาลาฉันท์)

นศ. A

ประณิธานหรือสัจจะชีวิต/ ปลุกใจให้อนุรักษ์ธรรมชาติ, ภุชงคประยาตฉันท์ + อาวัตพากย์ (ผิดผัสสะ)
ที่มา http://www.watmoli.com/poetry-chapter5/old-verse/5135.html

ซึ่งกำหนดเป็นสัญลักษณ์ตัวเลขได้ดังนี้
๑๒๒๑๒๒............๑๒๒๑๒๒
๑๒๒๑๒๒............๑๒๒๑๒๒
ถ้าเลข ๒ แทนครุ และเลข ๑ แทนลหุ
สัมผัสบังคับ (สัมผัสสระเท่านั้น)
๑) พยางค์สุดท้ายของวรรคสดับ ไปสัมผัสกับพยางค์ที่สามของวรรครับ
๒) พยางค์สุดท้ายของวรรครับ ไปสัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรครอง
๓) จะทิ้งสัมผัสระหว่างพยางค์สุดท้ายของวรรครองกับวรรคส่งพยางค์ที่สามก็ได้ (โดยมากจะทิ้งเพราะเป็นฉันท์ ไม่ใช่กลอน)
๔) พยางค์สุดท้ายของวรรคส่งต้องไปสัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรครองในบทต่อไป
.........

ประณิธานของโพธิสัตว์

๐ จะมุ่งมั่นกะความสัตย์.............สุไตรรัตน์แนะนำโลก
จะลาโลภลุเมืองโมกษ์...............ลุโพธิ์ธีร์ลุธัมมา
๐ จะแกงเกลากุชนชั่ว.................ละเมามั่วมุติ์จิตตา
ประโยชน์สืบสุสัจจา...................สุศีลศักดิ์สุจิตจริง
๐ ละรสรักเลาะลิ้มโลก...............ละสาบโศกสลดทิ้ง
มิกอดกลิ่นกุกามกลิ้ง.............เพราะหอมตาเสาะเห็นธรรม

By M. Rudrakul

นศ. B
บทซึ้งในชีวิต ในประณิธานของบทแรก/ ชมความงามของธรรมชาติ (ถ้าบทแรกเป็นปลุกใจให้รักธรรมชาติ) วิชชุมมาลาฉันท์ + สัทพจน์

 

ซึ่งกำหนดเป็นสัญลักษณ์ตัวเลขได้ดังนี้
๒๒๒๒............๒๒๒๒
๒๒๒๒............๒๒๒๒
ถ้าเลข ๒ แทนครุ และเลข ๑ แทนลหุ (ถือว่าเป็นฉันท์ครุล้วน)
สัมผัสบังคับ (สัมผัสสระเท่านั้น)
๑) พยางค์สุดท้ายของวรรคสดับ ไปสัมผัสกับพยางค์ที่สองของวรรครับ
๒) พยางค์สุดท้ายของวรรครับ ไปสัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรครอง
๓) จะทิ้งสัมผัสระหว่างพยางค์สุดท้ายของวรรครองกับวรรคส่งพยางค์ที่สองก็ได้ (โดยมากจะทิ้งเพราะเป็นฉันท์ ไม่ใช่กลอน)
๔) พยางค์สุดท้ายของวรรคส่งต้องไปสัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรครองในบทต่อไป
.........

ความทราบซึ้งใจของสาวก

๐ ฟังธรรมทราบซึ้ง..................ตาจึงนองน้ำ
หยด "ติ้ง-ติ้ง" ต่ำ....................ใต้บาทบงสุ์องค์
๐ สัพเสียงศรีสิงห์....................ยอดยิ่งไพรพง
"หร่อร์" โหดโตรดตรง...............ฤาเท่าธรรมเอย

By M. Rudrakul

ถอดความ

นศ.A
๐ จะมุ่งมั่นกับความสัตย์ปฏิญาณต่อพระรัตนตรัยว่า จะแนะนำ (สอน) ชาวโลก ให้ละจากความโลภ ให้บรรลุเมืองพระนิพพาน บรรลุโพธิญาณ บรรลุธรรม 
๐ จะสั่งสอนคนชั่วเหมือนการปรุงแกงละจากความมัวเมา(ตัณหา)  เพื่อประโยชน์ในการสืบทอดความสัตย์อันดี ศีลธรรมที่งดงาม และจิตใจที่ดีงามอย่างแท้จริง
๐ จะละจากรสแห่งความรักที่ค่อย ๆ เอาออกไป (เลาะ) การชิมโลก (โลกิยธรรม) ละจากความโศกเศร้าที่เหม็นสาบ ด้วยการสลัดทิ้ง ไม่กอดแล้วกลิ้งเกลือกยึดติดในกลิ่นของกามตัณหาที่ชั่วร้าย เพราะความหอมชื่นในดวงตาที่เห็นธรรม

นศ. B
๐ ฟังธรรมทราบซึ้งใจจนน้ำหาหยดไหล "ติ้ง ๆ" ลงมาที่ธุลีบาท (ของพระศาสดา)
๐ เสียงทุกเสียงของพญาสิงห์ที่ถือว่าดังที่สุด (ยอดยิ่ง) ในป่า ดัง "หร่อร์" อยู่ลำพังฟังดูโหดร้ายตรงหน้า หรือจะเท่ากับเสียงของพระธรรม (ที่ทำให้ซึ้งใจ)


ศัพท์

นศ. A
ไตรรัตน์ = รัตนตรัย
ลุ = บรรลุ, เข้าถึง
โพธิ์ธีร์ = โพธิ (โพธิญาณ) + ธีร (นักปราชญ์, ผู้มีปัญญา) หมายถึง การเป็นผู้มีปัญญารู้แจ้งในปัญญาญาณของพระโพธิสัตว์
เมืองโมกษ์ = เมืองแห่งการหลุดพ้น, พระนิพพาน (คำว่าโมกษะหมายถึงการที่อาตมันวิญญาณมนุษย์รวมเป็นหนึ่งเดียวกับปรมาตมาวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า เป็นการบรรลุธรรมสูงสุดและหลุดพ้นจากสังสารวัฏในศาสนาฮินดู กวีไทยแต่โบราณมักยืมมาใช้ในฐานะคำไวพจน์ของคำว่านิพพาน)
มุติ์จิตตา = มุติ แปลว่า ความเห็น, ความเข้าใจ + จิตตา = จิต ดังนั้น มุติ์จิตตา แปลว่า มีความเข้าใจในดวงจิต
แกงเกลา = แกง (ปรุง, ทำ, ต้มแกง) + เกลา (ขัดเกลา,สั่งสอน) แปลว่า สั่งสอนเหมือนการปรุงอาหารที่เป็นการต้มแกง
กุชน = คนชั่ว
กุกาม = ความปรารถนาในกามที่ชั่วร้าย

นศ. B
ติ้ง = เสียงน้ำหยด ที่ละน้อย เป็นสัทพจน์
หร่อร์ = เสียงสิงห์คำราม  เป็นสัทพจน์ มาจากภาษาอังกฤษ Roar ว่าเป็นเสียงร้องของสิงโตและหมี
สิงห์ = ตามความเชื่อไทยคือสัตว์ป่าหิมพานต์ไม่มีอยู่จริง ตามรากศัพท์เดิมในภาษาบาลี สันสกฤต หมายถึงสิงโตพันธุ์อินเดียที่ตัวผู้มีแผงคอสั้นกว่าสิงโตพันธุ์แอฟริกา และไม่มีลายกนกรอบตัว ปัจจุบันเป็นสัตว์หายากแต่ยังไม่สูญพันธุ์
บาทบงสุ์ = ละอองเท้า, ฝุ่นใต้เท้า (เป็นอวพจน์ เปรียบตนว่าต่ำต้อยเพื่อยกย่องอีกฝ่ายว่าสูงศักดิ์ ยิ่งใหญ่ โดยมากใช้กับกษัตริย์ พระเจ้า และพุทธเจ้า)
สัพ (อ่าน สับ) = สรรพ (อ่าน สับ/สับ-พะ) เป็นสันสกฤตมาจากคำว่า "สรฺว" แต่ สัพ และ สัพพะ เป็นคำบาลี แปลว่าทุกสิ่งทุกอย่าง
ไพรพง = พงไพร แปลว่า ป่า
โตรด (อ่าน โตฺรด) = อยู่คนเดียว
ฤา (อ่าน รือ) = หรือ
.......
หมายเหตุ :

อาวัตพากย์ ( Synesthesia ) คือ โวหารที่ใช้คำเรียกผลของการสัมผัสที่ผิดไปจากธรรมดา เพื่อเรียกร้องความสนใจจาก ผู้อ่าน เช่น ตามปกติเราใช้คำว่า “รส” เรียกผลการสัมผัสจากลิ้น ใช้คำว่า “กลิ่น” เรียกผลสัมผัสจากจมูก แต่กลับใช้ว่า รสของธูป , รสของรัก หรือไม่หล่อแต่อร่อย ซึ่งแสดงการรับรู้สัมผัสต่าง ๆ ที่ผิดไปจากเดิมสร้างความหมายแฝงที่น่าสนใจให้กับคำใหม่


สัทพจน์ (onomatopoeia) คือ การใช้ถ้อยคำที่เลียนเสียงธรรมชาติ หรือ เสียงดนตรีเสียงร้องของสัตว์ เสียงของฝน เสียงของหยดน้ำ เสียงของรถไฟ เสียงกาน้ำร้อนเดือน ฯลฯ

สัญลักษณ์ ครุและลหุ โดยปกติจะใช้ไม้หันอากาศแทนครุ และใช้สระอุแทนคำลหุ
แต่ก็มีนักวิชาการบางท่านกำหนดใช้เลขสอง ๒ แทนครุ และเลขหนึ่ง ๑ แทนลหุ

ที่มา http://phapnhandharmawheel.blogspot.com/p/light-of-enlightenment.html

ลิงก์ด้านล่าง เสียงร้องของสัตว์ในภาษาอังกฤษ (กรณีถ้านึกเสียงร้องของสัตว์ที่ไม่ค่อยมีอยู่ในภาษาไทยเท่านั้น) ที่มา https://www.englishbychris.com/portfolio-items/animal-sounds/


.........
การอ่านฉัน

๑) ภุชงค์ประยาตฉันท์

๒) วิชชุมมาลาฉันท์



ตัวอย่างแบบที่ ๒

นศ. A
ปลุกใจให้รักทะเล

๐ ทะเลรวนละรสรักษ์..............สมุทรจักษ์จุเจ็บจืด
เพราะมลทินทุใจชืด................ทุเศษทิ้งทุจิตคน
๐ กะเต่าปลาจะจับโศก............เพราะทุกข์โลกเลอะทุกหน
เสาะสำนึกแนะกุศล.................เกาะกินสุขสมุทรรักษ์

By M. Rudrakul

นศ.B
ชมธรรมชาติ : ชายทะเล

๐ อ่าวอรรณพกลืน...................."โครม"คลื่นเวียนแวว
ทอดกายทรายแก้ว......................แสสินธุ์สบทรวง
๐ ลม "หวู่ หวู่" หวิว.....................ทัศน์ทิวแท้สรวง
ฟังนางนวลหน่วง........................"กูห์-วู้" อยู่เอย

By M. Rudrakul

ถอดความ
นศ. A
ทะเลรวนไม่เป็นระเบียบเพราะขาดการรักษา ทำให้มหาสมุทรเต็มไปด้วยความเจ็บปวดเพราะความใจจืดใจดำ จากการทิ้งเศษขยะ เพราะจิตใจที่ชั่วร้ายของมนุษย์
เต่าและปลา (ตัวแทนของสัตว์ทะเล) จึงโศกเศร้า เพราะความทุกข์แพร่ไปทั่วโลก จึงแนะนำหนทางที่ต้องแสวงหาซึ่งเป็นกุศลดีงาม คือการรักษามหาสมุทรจนทำให้ผู้ที่อาศัยตามเกาะในทะเลและทวีปต่าง ๆ ได้รับซึ่งความสุข

นศ. B
ปากอ่าวทะเลมีคลื่นกระทบฝั่งดังโครม ๆ แล้วหายไปเหมือนถูกกลืน นอนทอดกายลงบนทรายสะอาดใสเหมือนแก้ว สัมผัสกระแสน้ำเข้ามาในหัวใจ (อติพจน์ หมายถึงได้ยินเสียงคลื่นกระทบฝั่งอยู่ใกล้มาก ๆ)
สายลมพัดเสียง หวู ๆ ทำให้รู้สึกวาบหวิว มองทิวทัศน์คือสวรรค์จริง ๆ ฟังนกนางนวลร้องดัง (หน่วง) กูห์-วู้ ๆ อืออึงอยู่ในตอนนี้

นศ. A
ศัพท์
รวน = เบียดกันไปมาไม่เป็นระเบียด (ด้วยเกลียวคลื่น)
จักษ์ = ประจักษ์
จุ = บรรจุ, ทำให้เต็ม, ใส่
ทุ = ไม่ดี, เลว, ยาก
ทุใจ = ทุไจตฺตะ แฝง เป็น ทุไจต์ หรือ ทุใจ แปลว่า จิตใจไม่ดี จินตนาการไม่ดี อยู่กับความคิดที่ไม่ดี
ทุเศษทิ้ง = การทิ้งขยะไม่ดี
กะ = ด้วยกัน, กับ
เกาะ = ยึด, แผ่นดินที่ล้อมรอบด้วยน้ำ ในที่นี้หมายถึง เกาะที่เป็นแผ่นดิน, ทวีป ดังนั้น เกาะกินสุข หมายถึงเกาะที่ได้รับความสุขเพราะการรักษาสิ่งแวดล้อม  เป็นทั้งบุคคลวัต และยังมีความหมายแฝง หมายถึงผู้ที่อาศัยอยู่บนเกาะต่าง ๆ หรือทวีปต่าง ๆ ที่มีมหาสมุทรล้อมรอบ, ชาวเกาะ, มนุษย์ทั้งหลาย


อย่างคำ อาวัตพากต์ เช่น

๑) รสรักษ์ = รสแห่งการรักษา รักษาเป็นกริยา ผัสสะต้องใช้ตา ผิดผัสสะกับรสที่ใช้ลิ้น
๒) เจ็บจืด = ทะเลเค็ม ถ้าจืดคือผิดรสของทะเล ความเจ็บมักเปรียบกับคำว่าขม แสบร้อน ต้องผัสสะกับทางกายถือว่าผิดผัสสะ ส่วนจืดมักเปรียบเทียบกับ ใจจืด ใจดำ ดังนั้น เจ็บจืดตึ่งหม่ายถึงต้องทุกข์เพราะความใจจืดใจดำของคน
๓) ทุกข์เลอะโลก = ทุกข์ต้องรู้สึกทางใจ เลอะสิ่งสกปรกต้องทางกาย เป็นการใช้คำผิดผัสสะ หมายถึงความทุกข์เป็นเหมือนสิ่งสกปรกที่เลอะโลกอยู่

นศ. B
ศัพท์
แส = กระแส
ทอดกาย = ทอดร่างกายลงนอน
อรรณพ = ห้วงน้ำ
อ่าว = ฝั่งของมหาสมุทร หรือทะเล ซึ่งเป็นส่วนเว้าโค้งเปิดขว้างเข้ามาในแผ่นดิน
ท้ศน์ = ทัศนา แปลว่า มองดู
ทิว = ทิวทัศน์, ทัศนียภาพที่มองดู
หน่วง = ทำให้หนัก, ถ่วงไว้, ทำให้ช้า, ในที่นี้หมายถึง ได้ยินดังอยู่ตลอด

ตัวอย่างคำสัทพจน์

โครม = เสียงคลื่นกระทบฝั่ง
หวู่ ๆ = เสียงลม
กูห์-วู้ = เสียงร้องนกนางนวล

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2561

คำช่วยแต่งฉันท์ ๓ จ - น





กรุณาอ่านข้อความด้านล่าง และทำความเข้าใจ

ศัพท์ทั้งหมดนี้บันทึกไว้เพื่อเป็นคลังให้ ผู้สนใจการแต่งฉันท์หยิบยืมไปสร้างคำและประโยคใช้เข้ากับฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์ที่มี ครุ และลหุ เป็นสำคัญหลายคำในที่นี้จึงมีรูปเขียนและการอ่านไม่ตรงกับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน จึงไม่ควรนำคำใดในที่นี้ไปสอนเด็กเขียนสะกดคำถูกผิดในระดับชั้นการศึกษาขั้นพื้นฐาน และใช้ได้เพียงเป็นสื่อในการเรียนรู้การประดิษฐ์คำของกวีที่ใช้ในการแต่งกวีนิพนธ์ในชั้นสูงเท่านั้น


จ.
จะกะร์, จักร์, จักร, จักกะ, จักระ, จะกะระ = กงจักร์, อาวุธโบราณรูปวงกลมมีรูตรงกลางใช้ขว้าง      
จร, จรา, จระ, จรัย = เที่ยวไป, ไป
จริย์, จริย, จาริย์, จารีย์, จริยะ, จริยา, จาริยา = ความประพฤติ
จล, จะละ, จะลา, จะลัย = การเคลื่อนไหว, พลังงานจล
จลาจล = ระบบการสัญจร และความแออัดบนท้องถนน
จาน = พาชนะใส่อาหาร
จาม = พวกจาม, จามเทวี, อาการจาม
จาร = เขียนใบลาน
จิร, จีร = ยังยืน, ยาวนาน
จุล = เล็กย่อย, ละเอียด, เป็นฝุ่น
จุฬ, จุฑ = ยอดจุก
เจน = ชำนาญ, เจนจัด, มีประสบการณ์มาก
เจนไน, เจไน, เชนไน = เมืองท่าสำคัญในรัฐทมิฬนาฑูของประเทศอินเดีย
เจษฎา = พี่ชาย
โจก, โจก์ = หัวโจก, ผู้นำทำเรื่องเกเร
โจ๊ก = เรื่องตลก, ปริศนาคำทาย, ข้าวต้มจนเละ, มีน้ำมากเกินส่วน, เสียงน้ำไหล
โจน,โจน์ = พุ่งไปข้างหน้าด้วยการกระโดด
โจทก์ = บุคคลที่ฟ้องต่อศาล
จำเลย = ผู้ถูกฟ้องถูกกล่าวหาในศาล
เชลย =  ผู้ที่ถูกข้าศึกจับได้, ข้าศึกที่ถูกจับได้ในสงคราม
โจร, เจาร = ผู้ที่ดักจี้ปล้นผู้อื่น
โจษ, โจษจัน = พูดกันทั่วไป, เล่าลือกันอยู่
โจฬะ = ยุคสมัยและอาณาจักรในอินเดียใต้





ฉ.
ฉ, ฉะ = หก
ฉกษัตริย์ (ฉอ-กะ-สัด/ ฉ้อ-กะ-สัด) = หกกษัตริย์, กษัตริย์หกพระองค์
ฉงน, ฉงน์ = สงสัย, แปลกใจ
ฉัตร, ฉัตรา, ฉัตรํ = ร่ม, ร่มซ้อนกันหลายชั้น
เศวตรฉัตร (สะ-เหวด-ตระ-ฉัด) = ร่มซ้อนกันหลายชั้นสีขาวเป็นเครื่องสูงสำหรับเจ้านายชั้นสูง
ฉบัง = กาพย์ฉบัง
ฉบับ = ต้นฉบับเดิมของหนังสือที่พิมพ์หรือเขียนที่เรียกว่า ต้นฉบับ, วารสารเรื่องเดียวแต่ข้อความ สำนวนในเรื่องต่างกันที่พิมพ์ใหม่เพื่อวางขายรายเดือนหรือรอบสิบห้าวัน, แบบฉบับ, ต้นแบบ
ฉนวน = ทางเดินที่มีฉากกำบังสองข้างทาง, กำบัง, ปิดกัน, วัตถุกันความร้อนได้นาน, วัตถุที่ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า
ฉลาก, ฉลากะ, สลาก, สลากะ = ตั๋วแผนกระดาษทำเครื่องหมายไว้สุ่มจับหรือเสี่ยงโชค, ป้ายติดขวดยา
สลากพัด (สะ-ลาก-กะ-พัด) = วิธีถวายทานในพระสงฆ์โดยการสุ่มจับสลากผู้รับ
ฉลาด, ฉลาด์ = มีปัญญา
ฉุน, ฉุน์ = กลิ่นแรง
ฉิมพลี (ฉิม-พลี) = ต้นงิ้ว, วิมานของพญาครุฑ, สวรรค์ชั้นกาม, วิมานของครุฑที่อยู่บนยอต้นงิ้วที่งอกขึ้นมาจากนรกไว้ลงโทษเศษกรรมของพญาครุฑที่ไปเคยลักนางกากี หรือสาวงามต่าง ๆ มา วันใดที่บาปนั้นส่งผลพญาครุฑก็จะหลับและเผลอลงไปโดนไม้งิ้วเกี่ยวแทงให้เจ็บปวด แล้วก็จะบินขึ้นมาเสวยบุญในวิมานของตน เป็นเช่นนี้เรื่อยไป
ฉิน, ติฉิน = ตำนิ, ว่าร้าย
ฉาย = ส่องไฟ, ส่องแสง, ส่องสว่าง
ฉายา = เงา
ฉำฉา = ไม้เนื้ออ่อนพวกสน, ไม้ฉำฉา ที่ใช้ทำกลอง สิ่งของ หรือต้นกามปู
ไฉน = เพราะเหตุใด
ไฉไล = งาม
โฉด, โฉด์ = ชั่ว, เลว

ช.
ชะ = ชะหน้าดิน, เกิด เช่น สโรชะ = เกิดในสระ หมายถึง ดอกบัว เป็นต้น
ชา = รู้, เกิด เช่น วิชา = ความรู้ยิ่ง, ความรู้ , สโรชา = เกิดในสระ หมายถึง ดอกบัว เป็นต้น
ชน, ชนา, ชโน, ชนัย = ประชาชน, พลเมือง
ชะนี = สัตว์จำพวกลิง ที่ส่งเสียงร้อง ผัว ๆ
ชนก, ชนกะ = พ่อ
ชนกี (ชะ-นะ-กี) = นางสีดาลูกสาวท้าวชนกในเรื่องรามายณะ
ชนนี (ชน-นะ-นี), ชะนะนี = แม่
ชนวน = ชนวนจุดระเบิด, สาเหตุให้เกิดโทษ
ชย,ชยะ, ชัย, ไชย , ไชโย, ชโย, ชยัย, ชิน, ชินะ, ชินา, ชิโน = ใช้ชนะ, สมญานามของพระพุทธเจ้า
ชิโนรส, ชิโนรสะ, ชิโนรโส, ชิโนรสัย = บุตรผู้ชนะ บุตรของพระพุทธเจ้า หมายถึงพระสงฆ์
ชร, ชรา = ความแก่เฒ่า
นิรชรา (นิ-ระ-ชะ-รา), นิรัชรา (นิ-รัด-ชะ-รา) , นิรัญชรา = ปราศจากความแก่เฒ่า
เนรัญชรา, เนรัญชระ = แม่น้ำที่ปราศจากความชรา คือใสสะอาดเสมอ, ชื่อแม่น้ำในสมัยพุทธกาล
ชล, ชละ, ชลา = น้ำ
ชว, ชวะ  = เร็ว
ชวลิต, ชลิต = ความรุ่งโรจน์
ชวาลา = ตะเกียงแขก
ชุลมุน = วุ่นวาย, สับสน
ชว, ชวะ, เชาว์, เชาวะ, เชาวน์, เชาวนะ = มีปัญญาดี
เชาวลิต = โชติช่วง

ญ.
ญัตติ,ญติ, มติ  = ข้อเสนอในที่ประชุม, คำประกาศหัวข้อในที่ประชุม, ข้อเสนอเพื่อลงมติ
บัญญัติ = แต่งตั้ง, ตรากฎหมาย, ข้อความหรือคำที่ถูกกำหนดขึ้นใช้
ญา , ฌา, ชา, ชญา (ชะ-ยา) = ความรู้
ญาณ , ฌาน ,ชญาน , ฌาณ์, ฌาน์, ชญาน์
ชญานี = ผู้มีความรู้, ผู้เข้าถึงโมกษะด้วยความรู้และปัญญา ตามความเชื่อฮินดู การเข้าถึงรวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้ามีสามทางดังปรากฏในคัมภีร์ ภควัทคีตา คือ
๑. ความรู้ ชญา ผู้เลือกทางนี้เรียกว่า ชญานี เพราะมีปัญญามาก
๒.ความภักดีคือ มธุรภักติ /มธุภักติ (ความภักดีที่หวานซึ้ง, ความภักดีอย่างสูงสุด) ผู้เลือกทางนี้เรียกว่า ปูชากรี เพราะมีศรัทธามาก
๓.ความดี กระทำดีคือ กรรมโยคะ (กัมมโยคะ) ผู้เลือกทางนี้เรียกว่า กรรมโยคี เพราะมีความประพฤติอันดีงามเพื่อผู้อื่น ซึ่งปัจจุบันชาวฮินดูยกย่องว่า พระพุทธเจ้าคือแบบอย่างของ กรรมโยคี
ซึ่งถ้าเทียบกับพุทธศาสนามหายานก็จะเป็น ปัญญา (ชญา) -พระมัญชุศรี, ศรัทธา/พละ (ภักติ) -พระสมันตภัทร และเมตตา (กรรมโยคะ)-พระอวโลกิเตศวร เพียงแค่เลือกใช้ศัพท์อธิบายคนละศัพท์ไม่ลอกกัน
ญาณี = ผู้มีญาน, ผู้มีความรู้
ยานี = กาพย์ยานีสิบเอ็ด
ญาต, ญาตะ, ญาโต, อนุญาต, อนุญาตะ, อนุญาโต = ยินยอม, ยอมให้ทำ
อนุญาโตตุลาการ = คนกลางที่ถูกตั้งขึ้นให้ชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างคู่กรณี
ญาติ, ญาติกา, ญาติโย =

ฏ/ฎ.
ฏคร (ตะ-คะ-ระ) , ฏครา, ฏคโร, ฏครัย = ความไม่มีระเบียบ, ความหมกมุ่นในอบายมุข
ฏังกะ = สิ่ว, ขวาน, เหล็กสกัดหิน
ตังค์ = เงินที่ใช้ซื้อของ, สตางค์ (ภาษาปาก) แปลงมาจากคำว่า สตางค์
ฏังกศาลา = โรงกษาปณ์
ฏังการ = เสียงหอน, เสียงคราง, เสียงดัง
ฏังคา = ขา
ฏัฏฏนี (ตัด-ตะ-นี) = จิ้งจก
ฏางกร, ฏางกรา, ฏางกรี, ฏางการี, ฏางกโร = คนชั่วกระทำผิดกฎหมาย, คนหลงตัณหา
ฏาร, ฏาระ, ฏาโร, ฏารา = ม้า , ลูกสวาท , ผู้ถูกเล่นลูกสวาท
ลูกสวาท = ชายหนุ่มผู้ถูกเลี้ยงดูเป็นชายบริการความสุขทางเพศให้กับชายเฒ่าหรือผู้มีอำนาจ โดยการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับชายในราชสำนักเรียกว่า “เล่นสวาท” ส่วนหญิงกับหญิงเรียกว่า “เล่นเพื่อน” แต่ปัจจุบันความหมายเลื่อนปรากฏว่า คำว่าเล่นเพื่อนที่ใช้ระหว่างรักร่วมเพศระหว่างชายรักชายและหญิงรักหญิง ส่วนเล่นสวาทอาจจะหมายถึงการเล่นชู้ของคนทั่วไป
ตารา, ตาริกา, ดารา, ดาริกา = ดวงดาว
นางตารา = ชายของพระพฤหัสบดี ที่ถูกพระจันทร์ลักไปจนทำให้กำเนิด พระพุธ ผู้เป็นลูกของพระจันทร์ “จันทรบุตร”, ปางหนึ่งของเจ้าแม่กาลี (คนละตนกับชายาพระพฤหัสบดี)
ฎีกา = คำอธิบายขยายความ, คัมภีร์ที่อธิบายอรรถกถา, ศาลาฎีกา, เรื่องร้องทุกช์ เช่น ถวายฎีกา
กฤษฎีกา = กฎหมายที่กษัตริย์ทรงตราขี้น
โฏน, โฎน, โฏน์, โฎน์ = ยาย, บรรพบุรุษ
โฎนตา (โตน-ตา), โฎนตา (โดน-ตา) = ยายตา, พิธีเซ่นโฏนตา, ไหว้บรรพบุรุษของชาวเขมร

ฐ.
ฐกัด (ถะ-กัด) = ยินดี เขียนเป็น ตระกัด ก็ได้ ควรเลือกเสียงสัมผัสที่เหมาะสม
ฐากูร = รูปเคารพ, ที่ควรบูชา
ฐาน = ส่วนล่าง, ที่ตั้ง, หลักฐาน
ฐานะ , สถานะ = ฐานะ, ชนชั้น, บทบาทหน้าที่
ฐานกรณ์ = ที่เกิดของเสียงในช่องปาก
ฐานันดร = ลำดับในการกำหนดชั้นบุคคล
ศักดินา = การกำหนดชั้นบุคคลเป็นจำนวนที่นาที่มอบให้เรียกเก็บภาษีได้
ฐานสิงห์ = ฐานรองของโต๊ะ เตียง ของชนชั้นสูงที่ทำเป็นรูปสิงห์
ฐาปนี = ผู้สร้าง
ฐาปนา, สถาปนา = สร้างขึ้น, ตั้งให้เป็น
สถาปนิก = นักออกแบบสร้างตึก

ฑ.
ฑังส, ฑังสะ = เหลือบ (แมลง)
ฑังสมกสะ = เหลือบและยุง (ฑังสะ = เหลือบ + มกสะ = ยุง)
ฑาก, ฑากะ = เมี่ยง, ผักดอง
ฑาหก, ฑาห์ก = ผู้กระทำความร้อน, ผู้เผา, ไฟ
ฑาหะ
= ความร้อน, ไฟ
ฑิฆัมพร, ทิฆัมพร = นิกายศาสนาเชนของอินเดีย แปลว่านุ่งลมห่มฟ้า หมายถึงนิกายชีเปลือย เป็นคู่กับ เศวตรัมพร ซึ่งนุ่งขาวห่มขาว
ฑีฆา, ทีฆา = ยืนนาน, ยาว, เสียงยาว
ฑีฆายุ, ทีฆายุโก,ทีฆายุ = อายุยืน (ทีฆา + อายุ)
ฑิชา,ทิชา, ทวิชา = ผู้เกิดสองหน, นก และพราหมณ์

ณ.
ณะ = อยู่ที่, ใน, ที่ , แห่ง, คำบ่งได้ทั้งเวลา และสถานที่
ณรงค์  = ต่อสู้
ณัฐ, ณัฏฐ์, นัต, นัฐ, นัฏฐ์, ณัฏฐา, นัฏฐา = นักปราชญ์, ผู้รู้
ณัฐพล, ณัฐพลา, ณัฐพลัย, ณัฏฐพล, ณัฏฐพลา, นัฐพล, นัฐพลา, นัฐพลัย, นัฏฐพล, นัฏฐพลา = กำลังของนักปราชญ์, กำลังผู้รู้
ณัฐสิริ, ณัฐสิรี, ณัฐศรี = มงคลของนักปราชญ์, นักปราชญ์
เณร, สามเณร = ผู้บวช (ศีล ๑๐ ข้อ) เพื่อเตรียมบวชเป็นพระภิกษุ (พระสงฆ์บุรุษ ศีล ๒๒๗ ข้อ)
เณรี, สามเณรี = ผู้บวช (ศีล ๑๐ ข้อ) เพื่อเตรียมบวชเป็นพระภิกษุณี (พระสงฆ์สตรี ศีล ๓๑๑ ข้อ)
โณทัย, อโณทัย, อรุโณทัย = รุ่งอรุณ
ญาโณทัย = รุ่งอรุณแห่งความรู้, (ญา (รู้) + อโณทัย (รุ่งอรุณ)




ต-ด.
ตะกะ, ตะกะก์, ตักกะ, ตรรกะ, ตักกา, ตรรกา = ความตรึกตรอง, ทฤษฎีความคิด, กลวิธีคิดหาความจริง, ความคิดง่ายทางโลกที่มนุษย์สามารถคิดได้ด้วยสติปัญญา
ตรรกะวิบัติ, ตรรกวิบัติ, ตักกวิบัติ =  วิธี หรืการคิดที่ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงอย่างร้ายแรง, เหตุผลวิบัติ เช่น คิดว่าไม่มาเรียนก็ได้เดี๋ยวอาจารย์ก็จะช่วยให้สอบผ่าน, คิดสงสัยว่าโลกหน้ามีจริงหรือไม่อยากรู้จึงฆ่าตัวตาย หรือฆ่าผู้อื่นแล้วสั่งให้เขากลับมาบอก เป็นต้น
ตะกละ = โลภมากในการกิน
ตน, ตนะ, ตนุ (ตะ-นุ), ดนุ, ดนู, ตัว = ตัวตน, ฉัน, ข้าพเจ้า
ตนัย, ดนัย = ลูกชาย
ตนุ (ตะ-หนุ) = เต่าตนุ (เต่า-ตะ-หนุ), เต่าทะเลชนิดหนึ่ง
ตม, ตมะ = สงสัย, โง่เขา, ตมคุณ ความมืด ความช้า ที่มีอยู่ในทุกสรรพสิ่งตามความเชื่อของฮินดูคือ ตมะ (มืด-ช้า) รชะ (เร็ว-ชั่ว) สัตตวะ (ดี-ไม่ช้าไม่เร็ว)
ตระ (ตฺระ) = เพลงตระ , แถบ แปลง (ของที่นาที่ไร)
ตรติ (ตะ-ระ-ติ), ตรติ์ (ตะ-ระ) = เขาย่อมข้ามไป, ข้ามฝั่ง
ตรงค์ (ตะ-รง), ดรงค์ (ดะ-รง), ตรงคะ, ดรงคะ = คลื่นน้ำ , ระลอกคลื่น
ตรณี (ตะ-ระ-นี) , ดรณี (ดะ-ระ-นี) = เรือ, สิ่งที่แล่นไปกับคลื่น
ตรุ (ตฺรุ) = นามแปลว่า คุกนักโทษ, ห้องขัง, เรือนจำ กริยาแปลว่า กรุ, ปุ, หรือ ปะ เพื่อปิดช่องว่าง (ภาษาถิ่น)
 ตรุ (ตะ-รุ),ตะรุ, ดรุ (ดะ-รุ) = ต้นไม้
ตรุณี (ตะ-รุ-นี), ดรุณี (ดะ-รุ-นี), ตรุณิโย, ดรุณิโย, ตรุณิยา, ดรุณิยา = หญิงสาว, รุ่นสาว
ตรุณ, ดรุณ, ตรุณะ, ดรุณะ, ดรุณา, ตรุโณ (ตะ-รุ-โน), ดรุโณ (ดะ-รุ-โณ) =เด็ก, รุ่นเด็ก, ชายหนุ่ม
ตัวเอง = ตนเอง, เธอ (ภาษาพูด) เช่น
๑) แปลว่า ตนเอง  ตัวอย่าง ต้องเชื่อมั่นในตัวเอง
๒) แปลว่า เธอ ตัวอย่าง ตัวเองไปดูหนังกับเราไหม?
เธอเอง = ตัวของเธอเอง
ตยะ (ตะ-ยะ), ตะยะ, ตาย, ตายะ =  ไป, ถึง, ตาย
ตละ (ตะ-ละ) , ตล = ไป, ถึง , บรรลุ, ดำรงอยู่
ตะละแม่ = เจ้านางฝ่ายพม่า
ตลก (ตะ-หลก) = เรื่องน่าขบขัน
ตะราย, ตราย =  อันตราย
นิรันตราย (นิ-รัน-ตะ-ราย) = ปราศจากภัย นิร (ปราศจาก) + อันตราย
ตะไล, ตะลัย = ดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง, ต้นคงคาเดือด, ขนมถ้วยตะไล, หัว (ภาษาทมิฬ) ไม่ควรแปลงเป็น ตะลาย เพราะจากไปใกล้เคียงกับคำว่า อันตราย มากไป
เวรตะไล, เวรจัญไร, เวรจังไร = ตัวซวย อาจจะมาจากการเล่น พลุดอกไม้ไฟ ที่สมัยโบราณการเล่นพลุไฟทำให้วัด และบ้านเรือนประชาชนลุกไหม้
ตรา = เครื่องหมาย, ตราประทับ
ตีตรา = ถูกตัดสินจากสังคม ส่วนใหญ่เป็นในแง่ไม่ดี มักใช้ว่า ตีตราบาป, การใช้เหล็กเผาไฟและนาบกับร่างกายนักโทษ หรือสัตว์เช่น ม้า หรือวัวเพื่อทำเครื่องหมาย
ตีตรวน = จับใส่ตรวน, จับล่ามโซ่ไว้
ตาก = ทำให้แห้ง, จังหวัดตาก, ตากใบ
ตารา, ตาริกา, ดารา, ดาริกา = ดวงดาว
นางตารา = ชายของพระพฤหัสบดี ที่ถูกพระจันทร์ลักไปจนทำให้กำเนิด พระพุธ ผู้เป็นลูกของพระจันทร์ “จันทรบุตร”, ปางหนึ่งของเจ้าแม่กาลี (คนละตนกับชายาพระพฤหัสบดี)
ตาล, ตาละ = ต้นตาล, ลูกตาล
น้ำตาล = ผลึกหวานสกัดจากอ้อยหรือกวนจากน้ำเลียงดอกตาล, ความหวานในอาหาร, สสารในร่างกายที่เป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน, รสหวานที่ทุกคนชอบ
ตาว , ตาว์ = ดาบยาว
ตรี, ไตร , ตรัย = สาม
ตรีรัตน์, ไตรรัตน์, รัตนตรัย= แก้วสามประการ
ตรีโลก, ไตรโลก = สามโลก  ไตรภูมิพระร่วงเป็น นรก, สวรรค์, มนุษย์ รามายณะเป็น บาดาล (นรกเป็นบาดาลต่ำสุด), มนุษย์, สวรรค์
ตรีเนตร = สามตา
ตุรงค์, ตุรงคะ, ดุรงค์, ดุรงคะ = ม้า
ตุริยางค์, ดุริยางค์ = วงดนตรี, ดนตรี
เตชะ, เตโช, เตชา, เดช, เดโช, เดชา = อำนาจ, ฤทธิ์, ความสามารถ
เตชิน, เตชินทร์, เดชิน, เดชินทร์ = ผู้เป็นใหญ่ในอำนาจ
โตมร (โต-มอน) , โตมระ (โต-มะ-ระ) = อาวุธใช้พุ่ง, หอก
เต้า = เป็นกริยาแปลว่า ไป เป็นนามแปลว่า น้ำเต้า, เต้านมคน, เต้านมสัตว์ อกสตรี
เตา = ที่ก่อไฟ, เตาหุงข้าวสมัยใหม่



ถ.
ถกล = ก่อสร้าง, ตั้ง
ถงัน = เผ่นไป
ถงาด = เยื้องท่า, ชะโงก, เงื้อม
ถนน =  เส้นทาง
ถนอม = คอยระวัง, คอยรักษา
ถีร, ถิระ, ถีระ , ถีรา, สถีระ, เสถียร, สถีรา, สถิรา = มั่นคง, แข็งแรง, ตั้งอยู่
สถิต, สถิต์  = อยู่, อาศัย, ตั้งอยู่
ถวิล = คิดถึง, โหยหา
ถวัลย์ = ทรง, ทรง, ยิ่งใหญ่
ถูล, ถุล, ถุลละ (ถุน-ละ) = อ้วน, หยาบ
สถุล, สถูละ = หยาบ
ถุลลัจจัย = อาบัติอย่างหนึ่งของสงฆ์
ถุลลปัจจัย =  สาเหตุแห่งความอ้วน, ความหยาบช้า
เถร (เถน), เถระ (เถ-ระ) = พระสงฆ์ผู้ใหญ่, พระสงฆ์อายุมาก
เถลิง = ขึ้น, ขึ้นครอง
เถลิงศก =  ขึ้นจุลศักราชใหม่ ตามการนับปีใหม่แบบเดิม คือวันที่ ๑๕ เมษายน

แถน = ผีฟ้าพญาแถน, เมืองแถน ในตำนานชาวไทย-ลาว มีศักดิ์เทียบเท่าพระอินทร์ของอินเดีย

ท.
ทวิ = สอง
ทวิพจน์ , ทวิวจนะ = คำที่ระบุจำนวนสองคน สองอย่าง สองสิ่ง ในไวยากรณ์สันสกฤต
ทวิชา,ทิชา = เกิดสองครั้ง หมายถึง นก หรือคนวรรณะพราหมณ์, นักบวช
ทวี = เพิ่มขึ้น
ทวีทรัพย์ , ทวิทรัพย์ = มีทรัพย์เพิ่ม
ทารก , ทารกา = เด็กแรกเกิด ในภาษาไทยใช้ไม่ระบุเพศว่าเป็น ทารกเพศชาย หรือทารกเพศหญิง
ทาริกา, ทาริกายะ, ทาริกาโย = เด็กหญิง
ทุ, ทุระ, ทุร์ = ชั่ว, ยาก, ผิด
ทุชน, ทุรชน ,ทุรชน์ (ทุ-ระ-ชะ) = คนชั่ว
ทุกุมาร (ทุ-ระ-กุ-มาน) = เด็กผู้ชายที่เลว
ทุกุมารี (ทุ-กุ-มา-รี) = เด็กผู้หญิงที่เลว
ทุรคา = นามจำแม่อุมาปางดูร้าย แปลว่า ผู้เข้าถึงได้ยาก
ทุศีล = ผิดศีล
ทินะ, ทิน, ทินา = วัน, กลางวัน
ทินกร, ทินกโร, ทินกรัย = พระอาทิตย์
ทิว = ทิวไม้, ทิวทัศน์
ทิวะ, ทิวา = วัน, กลางวัน
ทิวากร, ทิวะกร, ทิวากโร, ทิวะกโร, ทิวากรัย, ทิวะกรัย = พระอาทิตย์
ทิวย์ (ทิ-วะ), ทิวยะ (ทิ-วะ-ยะ), ทิพย์ (ทิบ), ทิพยะ (ทิ-พะ-ยะ), ทิวยา, ทิพยา = วิเศษ, ของวิเศษ, ของสวรรค์, ของเทวดา
นางทิพย์, ทิพย์นารี = นางฟ้า, นางเทพธิดา, นางที่เกิดจากอำนาจทิพย์ หรือของวิเศษ
โท = ที่สอง, เป็นรอง, ปริญญาโท เช่น เรียนโทที่ไหน?
โทษ, โทษา, โทษัย = ความผิด
โทส, โทสะ, โทสา, โทสัย  =  ความโกรธ
โทร (โท) = โทรศัพท์ ติดต่อ
โทรา , โทรา, โทรัย, ทูระ , ทูรา , ทูรัย = ไกล
ธ.
ธ (ธะ) = ท่าน นิยมใช้กับกษัตริย์ พระราชา เทวดา พระเจ้า พระพุทธเจ้า
ธัมมะ, ธรรมะ, ธัมมา, ธรรมา, ธัมโม, ธรรโม, ธัมมํ, ธรรมํ (ทำ-มัง)
ธร, ธระ, ธรา = ทรงไว้
ธา
ธาดา, ธาตา
ธาตรี = โลก
ธานี = เมืองหลวง
ธาร, ธารี, ธารา, ธารัย = สายน้ำ, สายธาร
ธรรมธาร, ธรรมธารา = สายธารแห่งธรรม
ธาราลัย, ธาราสัย = ที่อาศัยของธารน้ำ , แม่น้ำ ,บึง ,คลอง, มหาสมุทร
ธีระ, ธีร์, ธี, ธีรา = นักปราชญ์, ผู้รู้
ธุร์, ธุระ = การงาน, กิจสำคัญ




น. (ต่อ ๑)
นมะ, นโม, นมา, นมัย = นอบน้อม, ไหว้
นาม, นามะ, นามัย = นาม, คำนาม, ชื่อ
สุภนาม, สุนาม = ชื่อที่ดี, ชื่อที่เป็นมงคล
นาถะ, นาถ, นาถา = ที่พึ่ง
อนาถา, อนาถะ, อนาถ = ไม่มีที่พึ่ง, คนยากจน
นาภี , นาภา = สะดือ, ท้อง
นาศะ, นาศ, พินาศ = ถูกทำลาย, หมดสิ้น
นาสา, นาสิก, นาสิกะ, นาสิกา = จมูก
นะระ, นร = คน
นริ, นะริ, นะรี, นรี, นาริ, นารี = ผู้หญิง
นริน, นรินทร์, นเรศ, นเรศวร, นเรศวระ = กษัตริย์
นิเทศน์, เทศน์, เทศนา, เทศนะ = ให้คำสอน ให้คำแนะนำ
นิเทศก์, เทศกร, ผู้ให้คำแนะนำ
นิระ, นิร = ปราศจาก
นิรทุกช์ = ปราศจากทุกข์
นิรสุข = ปราศจากความสุข
นิโรธ, นิโรธา , นิโรโธ = การหลุดพ้นจากวัฏสงสาร
นิวัตร, นิวัต = กลับ