ภาพที่ ๑ : แผนภาพสัมผัสเพิ่มของกลบทสะบัดสะบิ้งในแต่ละวรรค
ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/kondee007/2008/10/16/entry-1
กลบท (ฉันทลักษณ์เพิ่มเติมในแต่ละวรรค)
๑. พยางค์ที่ ๕ ต้องสัมผัสสระกับพยางค์ที่ ๗
๒. พยางค์ที่ ๖ ต้องซ้ำกับพยางค์ที่ ๘
๓. พยางค์ที่ ๗ ต้องสัมผัสอักษรกับพยางค์ที่เก้า
๔. สัมผัสบังคับคงเดิมเหมือนกลอนเก้าทั่วไป
๕. แต่พยางค์ที่ ๙ ของวรรคสดับจะสัมผัสกับพยางค์ที่ ๖ ของวรรครับ และพยางค์ที่ ๙ ของวรรครอง จะสัมผัสกับพยางค์ที่ ๖ ของวรรคส่ง..ได้ยาก เพราะต้องคำนึงถึงกลบทเป็นสำคัญก่อน ดังนั้น ถ้าแต่งให้พยางค์ที่ ๙ ของวรรคสดับจะสัมผัสกับพยางค์ที่ ๓ ของวรรครับ และพยางค์ที่ ๙ ของวรรครอง จะสัมผัสกับพยางค์ที่ ๓ ของวรรคส่ง...ตามปกติ จะแต่งง่ายกว่า
ภาพแผนผังกลอนเก้า
ที่มา https://babyratnakavi.blogspot.com/2018/11/blog-post_41.html
....................แนวการแต่ง....................
๑) เปลี่ยนคำปกติ เป็นคำผวน (เหมาะกับการใช้เป็นสื่อนำเข้าสู่บนเรียนเรื่องคำประสมสำหรับนักเรียนที่มีความรู้เรื่องคำผวนแล้ว)
แม่ไก่ = ไม่แก่
แม่ทัพ = มับแท่
แม่น้ำ = มั้มแน่
แม่พระ = มะแพร่
แม่ยก = มกแย่
แม่แรง = แมงแร่
แม่เหล็ก = เม็กแหล่
แม่ย่านาง = มางย่าแน่
๒) นำคำผวนมาแต่งเป็นสักวาใบ้คำแต่ละวรรค
แม่ไก่ = ไม่แก่, สักวา "ไม่แก่" ขันนำขันขำ
แม่ทัพ = มับแท่, "มับแท่"นำไพร่พลไกรพลกล้า
แม่น้ำ = มั้มแน่, "มั้มแน่" นองชะรินระรินรา
แม่พระ = มะแพร่, ดีนักหนา "มะแพร่" จะแพร่ใจ
แม่ยก = มกแย่, มี "มกแย่" ยิเกลิเกลูก
แม่แรง = แมงแร่, "แมงแร่"ถูกค้ำรถช้ำรถใช้
แม่ย่านาง = มางย่าแน่, "มางย่าแน่"สิงยานมิ่งยานใหม่
แม่เหล็ก = เม็กแหล่, "เม็กแหล่"ไหนเข้าติดเอาติดเอย
๓) นำแต่ละวรรคมาเรียงตามฉันทลักษณ์กลอนสักว่า แก้สัมผัสบังคับให้สมบูรณ์
๐ สักวา "ไม่แก่" ขันนำขันขำ............"มับแท่"นำทั้งไพร่พลไกรพลกล้า
"มั้มแน่" นองชลชะรินระรินรา................ดีนักหนา เหมือน"มะแพร่" จะแพร่ใจ ฯ
๐ มี "มกแย่"ยั่ว ยิเกลิเกลูก...................."แมงแร่"ถูกถ้าค้ำรถช้ำรถใช้
"มางย่าแน่"นั่งสิงยานมิ่งยานใหม่......."เม็กแหล่"ไหนหาเข้าติดเอาติดเอย
By M. Rudrakul
หมายเหตุ
๑. กลบท แบ่งได้เป็นสองชนิดใหญ่ คือ
ภาพที่ ๒ : ตัวอย่างโคลงกลบทวัวพันหลัก
ที่มา กำชัย ทองหล่อ. (๒๕๕๔). หลักภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพ: รวมสาส์น. หน้า ๔๗๒.
๑.๑ กลบท คือการกำหนดสัมผัสบังคับเพิ่มเติมจากฉันทลักษณ์ที่มีอยู่เดิมให้สลับซับซ้อนยิ่งขึ้น ถ้ากลบทที่แต่งเป็นกลอนเรียกว่า กลอนกลบท ถ้ากลบทที่แต่งเป็นโคลงเรียกว่าโคลงกลบท
.........
๑.๒ กลอักษร คือกลบทชนิดต่าง ๆ ที่มีการนำคำมาจัดเรียงเป็นรูปภาพ บางท่านเรียกว่าซ่อนรูปอักษร ในสารานุกรม wiki เรียกว่า กลแบบ (แต่ยังหาที่มาที่ไปไม่ได้ และที่มีที่มาส่วนใหญ่ลอก Wiki มาทั้งนั้น) ในที่นี้ยึดตามหลักภาษาไทยของอาจารย์กำชัย ทองหล่อ
๑.๒.๑ กลอักษรภาพ คือการน้ำบทร้อยกรองมาเรียงเป็นรูปภาพปริศนาแล้วให้ผู้อ่าน จัดเรียงเป็นบทร้อยกรองตามฉันทลักษณ์ คล้าย Typography หรือ "วรรณรูป" ของฝรั่ง แต่วรรณรูปของฝรั่งส่วนใหญ่ไม่เป็นบทร้อยกรองและกลบท ดีสุดส่วนใหญ่ก็เป็นแค่กลอนเปล่า
ภาพที่ ๓ : วรรณรูป Typography ของไทย
ที่มา https://i.pinimg.com/originals/17/e2/4b/17e24b1edddf0fbbee1d680238655f15.jpg
ภาพที่ ๔ : วรรณรูปของอิสลาม Islamic Typography
ที่มา https://www.kisscc0.com/clipart/islamic-design-arabic-calligraphy-islamic-art-alla-eslxeq/
๑.๒.๒ กลบทอักษรภาพ หรือกลบทอักษร คือ บทร้อยกรองที่เป็นกลบทต่างถูกน้ำไปเรียงเป็นภาพแล้วให้ผู้ทายจัดเรียงเป็นบทร้อยกรองตามฉันทลักษณ์เอง
ภาพที่ ๕ : ตัวอย่างโคลงกลบทอักษรจองถนน
ที่มา กำชัย ทองหล่อ. (๒๕๕๔). หลักภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพ: รวมสาส์น. หน้า ๔๗๘.
๒. ในสารานุกรมออนไลน์ Wiki เรียกกลบทว่า "กลอักษร" และเรียกกลอักษรว่า "กลแบบ" ซึ่งอาจจะเป็นการพยายามสร้างทฤษฏีใหม่ล้มล้างตำราของ อาจารย์กำชัย ทองหล่อในยุคหลัง ๆ แต่อย่างไรก็ตามทำให้เกิดการสับสนเรียก กลบทและกลอักษรสับไปสับมาทั่วไป และคำว่า "กลแบบ" ยังไม่พบว่าราชบัณฑิต ฯ บัญญัติใช่ในขณะนี้...ตามดูกันต่อไป
๓. ส่วนอาจารย์กำชัย ทองหล่อ (๒๕๕๔ : ๔๘๖) สรุปว่า "กลบท คือคำประพันธ์ ที่เพื่อสัมผัสบังคับ และคำซ้ำให้กับบทร้องกรองทั่วไป ซึ่งกลอักษรก็คือกลบทที่เล่นคำซ้ำมากกว่น กลบทโดยปกติทำให้เหลือทำที่เป็นคำทั่วไปที่ไม่ใช่คำซ้ำเพียง ๔ - ๖ พยางค์ในแต่ละวรรค"
โดยน่าสังเกตว่า พอเหลือคำที่ไม่ใช่คำซ้ำน้อย ๆ แล้วสามารถนำมาวาดเป็นเลขยันต์หรือรูปภาพได้
๔. นำปริศนาคำทายไปถามเพื่อน ถ้าเพื่อนตอบได้ผู้แต่งจึงจะได้คะแนน หนึ่งคำทายต่อ ๑ คะแนน
เพราะสมัยโบราณคนแต่งปริศนาแก้ได้ยากเก่ง แต่ในการสร้างสื่อสำหรับสอนเด็กแต่งแล้วเด็กอ่านและทายได้ ดังนั้นคำทายจะต้องไม่ยากไม่ง่ายเกินไปถึงจะดี เหมาะแก่การใช้เป็นสื่อสำหรับนำเข้าสู่บทเรียน หรือเสริมบทเรียนให้น่าสนใจยิ่งขึ้น เพราะถ้ายากเกินไปจะทำให้เสียเวลาเรียน หรือการทำกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ในส่วนอื่น ๆ
ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/kondee007/2008/10/16/entry-1
กลบท (ฉันทลักษณ์เพิ่มเติมในแต่ละวรรค)
๑. พยางค์ที่ ๕ ต้องสัมผัสสระกับพยางค์ที่ ๗
๒. พยางค์ที่ ๖ ต้องซ้ำกับพยางค์ที่ ๘
๓. พยางค์ที่ ๗ ต้องสัมผัสอักษรกับพยางค์ที่เก้า
๔. สัมผัสบังคับคงเดิมเหมือนกลอนเก้าทั่วไป
๕. แต่พยางค์ที่ ๙ ของวรรคสดับจะสัมผัสกับพยางค์ที่ ๖ ของวรรครับ และพยางค์ที่ ๙ ของวรรครอง จะสัมผัสกับพยางค์ที่ ๖ ของวรรคส่ง..ได้ยาก เพราะต้องคำนึงถึงกลบทเป็นสำคัญก่อน ดังนั้น ถ้าแต่งให้พยางค์ที่ ๙ ของวรรคสดับจะสัมผัสกับพยางค์ที่ ๓ ของวรรครับ และพยางค์ที่ ๙ ของวรรครอง จะสัมผัสกับพยางค์ที่ ๓ ของวรรคส่ง...ตามปกติ จะแต่งง่ายกว่า
ภาพแผนผังกลอนเก้า
ที่มา https://babyratnakavi.blogspot.com/2018/11/blog-post_41.html
....................แนวการแต่ง....................
๑) เปลี่ยนคำปกติ เป็นคำผวน (เหมาะกับการใช้เป็นสื่อนำเข้าสู่บนเรียนเรื่องคำประสมสำหรับนักเรียนที่มีความรู้เรื่องคำผวนแล้ว)
แม่ไก่ = ไม่แก่
แม่ทัพ = มับแท่
แม่น้ำ = มั้มแน่
แม่พระ = มะแพร่
แม่ยก = มกแย่
แม่แรง = แมงแร่
แม่เหล็ก = เม็กแหล่
แม่ย่านาง = มางย่าแน่
๒) นำคำผวนมาแต่งเป็นสักวาใบ้คำแต่ละวรรค
แม่ไก่ = ไม่แก่, สักวา "ไม่แก่" ขันนำขันขำ
แม่ทัพ = มับแท่, "มับแท่"นำไพร่พลไกรพลกล้า
แม่น้ำ = มั้มแน่, "มั้มแน่" นองชะรินระรินรา
แม่พระ = มะแพร่, ดีนักหนา "มะแพร่" จะแพร่ใจ
แม่ยก = มกแย่, มี "มกแย่" ยิเกลิเกลูก
แม่แรง = แมงแร่, "แมงแร่"ถูกค้ำรถช้ำรถใช้
แม่ย่านาง = มางย่าแน่, "มางย่าแน่"สิงยานมิ่งยานใหม่
แม่เหล็ก = เม็กแหล่, "เม็กแหล่"ไหนเข้าติดเอาติดเอย
๓) นำแต่ละวรรคมาเรียงตามฉันทลักษณ์กลอนสักว่า แก้สัมผัสบังคับให้สมบูรณ์
๐ สักวา "ไม่แก่" ขันนำขันขำ............"มับแท่"นำทั้งไพร่พลไกรพลกล้า
"มั้มแน่" นองชลชะรินระรินรา................ดีนักหนา เหมือน"มะแพร่" จะแพร่ใจ ฯ
๐ มี "มกแย่"ยั่ว ยิเกลิเกลูก...................."แมงแร่"ถูกถ้าค้ำรถช้ำรถใช้
"มางย่าแน่"นั่งสิงยานมิ่งยานใหม่......."เม็กแหล่"ไหนหาเข้าติดเอาติดเอย
By M. Rudrakul
หมายเหตุ
๑. กลบท แบ่งได้เป็นสองชนิดใหญ่ คือ
ภาพที่ ๒ : ตัวอย่างโคลงกลบทวัวพันหลัก
ที่มา กำชัย ทองหล่อ. (๒๕๕๔). หลักภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพ: รวมสาส์น. หน้า ๔๗๒.
๑.๑ กลบท คือการกำหนดสัมผัสบังคับเพิ่มเติมจากฉันทลักษณ์ที่มีอยู่เดิมให้สลับซับซ้อนยิ่งขึ้น ถ้ากลบทที่แต่งเป็นกลอนเรียกว่า กลอนกลบท ถ้ากลบทที่แต่งเป็นโคลงเรียกว่าโคลงกลบท
.........
๑.๒.๑ กลอักษรภาพ คือการน้ำบทร้อยกรองมาเรียงเป็นรูปภาพปริศนาแล้วให้ผู้อ่าน จัดเรียงเป็นบทร้อยกรองตามฉันทลักษณ์ คล้าย Typography หรือ "วรรณรูป" ของฝรั่ง แต่วรรณรูปของฝรั่งส่วนใหญ่ไม่เป็นบทร้อยกรองและกลบท ดีสุดส่วนใหญ่ก็เป็นแค่กลอนเปล่า
ภาพที่ ๓ : วรรณรูป Typography ของไทย
ที่มา https://i.pinimg.com/originals/17/e2/4b/17e24b1edddf0fbbee1d680238655f15.jpg
ภาพที่ ๔ : วรรณรูปของอิสลาม Islamic Typography
ที่มา https://www.kisscc0.com/clipart/islamic-design-arabic-calligraphy-islamic-art-alla-eslxeq/
๑.๒.๒ กลบทอักษรภาพ หรือกลบทอักษร คือ บทร้อยกรองที่เป็นกลบทต่างถูกน้ำไปเรียงเป็นภาพแล้วให้ผู้ทายจัดเรียงเป็นบทร้อยกรองตามฉันทลักษณ์เอง
ภาพที่ ๕ : ตัวอย่างโคลงกลบทอักษรจองถนน
ที่มา กำชัย ทองหล่อ. (๒๕๕๔). หลักภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพ: รวมสาส์น. หน้า ๔๗๘.
๒. ในสารานุกรมออนไลน์ Wiki เรียกกลบทว่า "กลอักษร" และเรียกกลอักษรว่า "กลแบบ" ซึ่งอาจจะเป็นการพยายามสร้างทฤษฏีใหม่ล้มล้างตำราของ อาจารย์กำชัย ทองหล่อในยุคหลัง ๆ แต่อย่างไรก็ตามทำให้เกิดการสับสนเรียก กลบทและกลอักษรสับไปสับมาทั่วไป และคำว่า "กลแบบ" ยังไม่พบว่าราชบัณฑิต ฯ บัญญัติใช่ในขณะนี้...ตามดูกันต่อไป
๓. ส่วนอาจารย์กำชัย ทองหล่อ (๒๕๕๔ : ๔๘๖) สรุปว่า "กลบท คือคำประพันธ์ ที่เพื่อสัมผัสบังคับ และคำซ้ำให้กับบทร้องกรองทั่วไป ซึ่งกลอักษรก็คือกลบทที่เล่นคำซ้ำมากกว่น กลบทโดยปกติทำให้เหลือทำที่เป็นคำทั่วไปที่ไม่ใช่คำซ้ำเพียง ๔ - ๖ พยางค์ในแต่ละวรรค"
โดยน่าสังเกตว่า พอเหลือคำที่ไม่ใช่คำซ้ำน้อย ๆ แล้วสามารถนำมาวาดเป็นเลขยันต์หรือรูปภาพได้
๔. นำปริศนาคำทายไปถามเพื่อน ถ้าเพื่อนตอบได้ผู้แต่งจึงจะได้คะแนน หนึ่งคำทายต่อ ๑ คะแนน
เพราะสมัยโบราณคนแต่งปริศนาแก้ได้ยากเก่ง แต่ในการสร้างสื่อสำหรับสอนเด็กแต่งแล้วเด็กอ่านและทายได้ ดังนั้นคำทายจะต้องไม่ยากไม่ง่ายเกินไปถึงจะดี เหมาะแก่การใช้เป็นสื่อสำหรับนำเข้าสู่บทเรียน หรือเสริมบทเรียนให้น่าสนใจยิ่งขึ้น เพราะถ้ายากเกินไปจะทำให้เสียเวลาเรียน หรือการทำกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ในส่วนอื่น ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น