วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2561

นานากลอนไทย ๒








นิราศภูเขาทอง 

เริ่มต้นเล่าการเดินทางทางเรือจาก วัดราชบุรณะ กรุงเทพฯ จุดหมายปลายทางคือเจดีย์ภูเขาทองที่พระนครศรีอยุธยา  สถานที่ที่เดินทางผ่านคือ ๑) พระบรมมหาราชวัง ๒) วัดประโคนปัก ๓)โรงเหล้า ๔) บางจาก ๕) บางพลู ๖) บางพลัด ๗) บางโพ ๘) บ้านญวน ๙) วัดเขมา ๑๐)ตลาดแก้ว ๑๑) ตลาดขวัญ ๑๒) บางธรณี ๑๓) เกาะเกร็ด ๑๔) บางพูด ๑๕) บ้านใหม่ ๑๖) บางเดื่อ ๑๗) บางหลวง ๑๘) บ้านงิ้ว เมื่อเข้าเขตพระนครศรีอยุธยา ผ่านหน้า ๑๙) จวนเจ้าเมือง ๒๐) วัดหน้าพระเมรุ แล้วจึงเดินทางถึง ๒๑) เจดีย์ภูเขาทอง ส่วนขากลับกล่าวถึง ๒๒) วัดอรุณราชวรารามเท่านั้น

 ....... 

ที่มาภาพ: https://www.thinglink.com/scene/655418971205402624นิราศ



กลอนดอกสร้อย 

เป็นกลอนที่เเต่งขึ้นเพื่อขับร้อง 

กลอนดอกสร้อย คล้ายกลอนแปด จะมี ๗-๙ พยางค์ 

ยกเว้นวรรคสดับที่เป็นต้นเรื่อง จะมี ๔ พยางค์ และพยางค์ที่ ๒ จะมีคำว่า เอ๋ย 

ส่วนวรรคส่งบทสุดท้ายของเรื่อง

หรือตอนซึ่งมักจะมีแค่สองบทจะลงท้ายด้วยคำว่า เอย เสมอ


นอกจากนี้กลอนดอกสร้อยยังแต่งเป็นตอน ๆ ที่มีเนื้อเรื่องสัมพันธ์กันได้เช่นเรื่อง "รำพึงในป่าช้า"


กลอนลิเก

มีจำนวนพยางค์ไม่แน่นอนตั้งแต่ ๔- ๑๒ พยางค์ตามความเหมาะสม

แต่ที่นิยมกันมากคือ ๕ - ๖ - ๗ - ๘ พยางค์

กลอนลิเกแบบที่ ๑
กลอนลิเกแบบที่ ๒


กลอนลิเกแบบที่ ๓ 

ราชนิเกลิง (ออกเสียง ราด-นิ-เกลิง) หรือ รานิเกลิง ถึงชื่อจะไม่คุ้นหูคนทั่วไป แต่ถ้าได้ยินเมื่อไหร่คนไทยทั้งประเทศจะรู้จักอย่างแน่นอน เพราะมันก็คือกลอนลิเก หรือเพลงลิเก ที่ถูกเอามาใช้จนคุ้นหู เตร๊ง เตรง เตร่ง เตร๊ง.... นั่นเอง 

รานิเกลิงถูกนำเอามาใช้โดยทั่วไปในเพลงลูกทุ่งตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม เพราะเป็นศิลปะแขนงที่อยู่ใกล้ชิดกันมาก และเพลงลูกทุ่งก็วิวัฒนาการมาจากลิเกด้วยส่วนหนึ่ง ****

เราจะได้ยิน หรือได้เห็นการใช้งานรานิเกลิงได้ในการแสดงลิเก โดยเฉพาะท่อนขึ้นเปิดเรื่อง เปิดตัวพระเอกนางเอก ที่จะชัดที่สุด ส่วนท่อนร้องท่อนอื่นอาจจะมีการดัดแปลงทำนองไปบ้าง 


ที่มา: 
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=mister-gray&month=24-07-2014&group=9&gblog=36


กลอนลิเกแบบที่ ๔ (บทเจรจา)

คล้ายกับกาพย์ฉบังสองบท บวกกลอน ๖ แต่ไม่ใช่
กลอนหัวเดียว 

กลอนหัวเดียวเป็นกลอนชาวบ้านเช่นเดียวกับกลอนสังขลิก ลักณะเด่นอยู่ที่การส่งสัมผัสท้ายบาทเป็นเสียงเดียวกันทุกบาท จึงได้ชื่อว่า กลอนหัวเดียว

กลอนหัวเดียวมักพบใน บทเพลงกล่อมเด็ก   และบทเพลงปฏิพากย์ (เจรจาโต้ตอบ) เช่น เพลงเรือ ลำตัด เพลงอีแซว เพลงฉ่อย เป็นต้น

กลอนหัวเดียว บังคับบาทละ ๒ วรรค จำนวนคำในวรรคมีตั้งแต่ ๔ - ๑๐ คำ ถ้าจำนวนคำในวรรคมากอาจเพิ่มสัมผัสกลางวรรคอีกแห่งหนึ่งเพื่อให้เป็นจังหวะเวลาร้อง บทหนึ่งแต่งกี่บาทก็ได้ไม่จำกัด

บังคับสัมผัส ๒ แห่ง คือ สัมผัสระหว่างวรรคกับสัมผัสท้ายบาท สัมผัสท้ายบาทเป็นเสียงเดียวกันทุกบาทตลอดบท ถ้าส่งสัมผัสเสียง อา เรียกว่ากลอนลา ส่งสัมผัสเสียง อี เรียกว่ากลอนลี ส่งสัมผัสเสียง ไอ เรียกว่ากลอนไล

เพลงเกี่ยวข้าว

พัฒนามาจากกลอนหัวเดียว

แต่มีสัมผัสบังคับและจำนวนพยางค์เลื่อนไหลได้ ตามลักษณะของกลอนพื้นบ้าน

บทที่นำมาเรียกบทปลอบ นอกจากนี้ยังมีบทไหว้ครู และบทเจรจา ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่นิยมใช้กลอนหัวเดียว

ต่างจากเพลงชนิดอื่นเช่น กลอนขอทานที่จะเป็นกลอนหัวเดียวในบทเพลงขอทานเท่านั้น 

แต่บทไหว้ครู บทแอ่วลา บางครั้งเป็นคำประพันธ์ต่างชนิดกัน และไม่แต่งด้วยกลอนหัวเดียว








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น