กลอน
เป็นคำประพันธ์พื้นบ้านของไทยแต่โบราณเชื่อว่ามีมานานแล้ว แต่ต่อมาพึ่งได้นิยมแต่งในสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยปรากฏวรรณคดีไทยเรื่องกลบทศิริวิบุลกิตติ เป็นหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับกลอนไทยชนิดต่าง ๆ ที่มีการแต่งในสมัยนั้น
กลอนสี่
มีการพบคำประพันธ์ที่มีลักษณะคล้ายกลอนสี่ครั้งแรกในวรรณคดีไทยเรื่อง มกาชาติคำหลวง กัณฑ์มหาพนในสมัยอยุธยา ต่อมามีการพบในบทละครเรืรองสังข์ทองครั้งกรุงเก่า กลบทศิริวิบุลกิตติ สมัยอยุธยาตอนปลาย นอกนั้นก็แทรกอยู่ในกลอนบทละครทั่ว ๆ เล็ก ๆ น้อย
ทำไมไม่นิยมแต่งกลอนห้า? นั้นไม่ทราบว่าเพราะอะไรแน่
แต่เคยถามศิลปินลิเกพื้นบ้านที่โคราชท่านหนึ่ง
ท่านเล่าให้ฟังว่าจังหวะลิเกสมัยก่อน
นั้นมีลงจังหวะสาม สี่ หก เจ็ด แปด แต่ไม่มีห้า
ไม่แน่ใจว่าจะเกี่ยวข้องกันไหม?
ส่วนจังหวะเพลงไทยเดิมมีแค่ ๔ กับ ๘
...........
แขกมีจังหวะหรือ ตาลัมแขกอินเดียลง ๓ - ๙
จังหวะ ๓ นับ ๑ ๒ ๓
จังหวะ ๔ นับ ๑ ๒ ๓ ๔
จังหวะ ๕ นับ ๑ ๒ ๑ ๒ ๓
จังหวะ ๖ นับ ๑ ๒ ๓ ๑ ๒ ๓
จังหวะ ๗ นับ ๑ ๒ ๓ ๑ ๒ ๓ ๔ หรือ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓
จังหวะ ๘ นับ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๓ ๔
จังหวะ ๙ นับ ๑ ๒ ๑ ๒ ๓ ๑ ๒ ๓ ๔ หรือ ๑ ๒ ๓ ๔ ๑ ๒ ๑ ๒ ๓
อนึ่งลักษณะของกลอนห้าคล้ายกาพย์ยานี ๑๑ มากเพียงแค่ วรรครับ และส่งเพิ่มมาอีกหนึ่งพยางค์เท่านั้น จึงอาจจะทำให้มีผู้ชอบแต่งกาพย์ยานี ๑๑ มากกว่า หรือแต่งออกมาแล้วกลายเป็นกาพย์ยานี ๑๑ ไปเสียโดยมาก
แต่อย่างไรก็ดีมีกวีปัจจุบัน บางคนพยายามแต่งกลอนห้า บางเช่นกัน
ปรากฏพบในในกลบทศิริวิบุลกิตติของหลวงปรีชา (เซ่ง) สมัยอยุธยาตอนปลาย สมัยต่อมามีผู้นิยมแต่งบ้าง บทประพันธ์ที่มีชื่อเสียงเช่น หัวใจเมืองบางครั้งเรียกว่า "เมืองกังวล"
ซึ่งเคยคิดกันว่าเป็นพระราชนิพนธ์ ร. ๖ แต่ปัจจุบันนักวิชาการบางท่านว่าไม่ใช่
http://www.sujitwongthes.com/2012/07/siam18072555/
กลอนเจ็ด
ปรากฏพบในในกลบทศิริวิบุลกิตติของหลวงปรีชา (เซ่ง) สมัยอยุธยาตอนปลาย นอกนั้นก็แทรกอยู่ในกลอนบทละคร ไม่ค่อยมีใครใช้แต่งยาวๆ
จนถึงสมัยกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.) ที่ท่านนำมาใช้ในพระนิพนธ์ ลิลิตสามกรุง
กลอนแปด
มีปรากฏในกลบทศิริวิบุลกิตติ สมัยอยุธยาตอนปลาย ต่อมาได้รับความนิยมแต่งกันมากทั้งแต่งสั้น ๆ กับแต่งเป็นเรื่องยาว ๆ
กลอนเก้า
มีปรากฏในกลบทศิริวิบุลกิตติ สมัยอยุธยาตอนปลาย แต่สมัยต่อมาไม่ได้รับความนิยมแต่งมากเท่ากลอนแปด แต่กวีบางท่านเช่น ท่านพุทธทาสภิกขุ ก็แต่งกลอนเก้าเพื่ออธิบายหัวข้อหลักธรรมในพุทธศาสนาบาง ซึ่งอาจจะเป็นเพราะคำบาลีสันสกฤตบางคำแยกออกจากกันไม่ได้ จึงทำให้คำประพันธ์บางบทเข้าลักษณะของกลอนเก้ามากกว่า
ความจริงตั้งแต่ กลอนแปดขึ้นไป ลักษณ์ฉันทลักษณ์ไม่ได้ต่างกันมากนัก จำนวนพยางค์ก็ลื่นไหลได้ตั้งแต่ แปดพยางค์ถึงสิบเอ็ด สิบสองพยางค์ ถ้าคำที่ใช้เป็นคำบาลีสันสกฤตที่ตัดทิ้งไม่ได้ โดยคำนึงถึงความไพเราะเป็นสำคัญ
ในบางครั้งจึงเห็นกลอนเก้าก็แต่งปน ๆ อยู่กับกลอนแปด หรือกลอนแปดที่มีพยางค์แต่ละวรรค เป็นเก้าบ้าง เจ็ดบาง สิบบ้าง ฯ เป็นปกติ (ขึ้นอยู่กับความไพเราะอีกนั้นแหละ)