วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563

เรือเลียงผา (กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง)




เลียงผาง่าเท้าโผน     เพียงโจนไปในวารี

กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร/เจ้าฟ้ากุ้ง

🐐🐐🐐🐐🐐🐐🐐🐐

หมายเหตุ  

       1 เรือเลียงผาเป็นเรือที่นั่งประจำตำแน่ง พญาเทพวรชุน ในสมัยอยุธยา แต่ต่อมาในรัตนโกสินทร์มีการเปลี่ยนว่า พระยาเทพประชุนในภายหลัง คือตำแหน่งราชปลัดทูลฉลองกรมพระกะลาโหม
       2 แต่เนื่องจากเทพวรชุน ไม่ทราบที่มาแน่ชัด คำว่า วรชุนในบาลีสันสกฤตแปลว่า "ประโยชน์" และอาจจะมีที่มาจากอรชุนในเรื่องมหาภารตะ หรือนารายณ์สิบปาง ซึ่งไม่เกี่ยวกับเรื่องรามเกียรติ์  ฯลฯ ในการ์ดชุด "ก" นี้จึงเปลี่ยนเป็นพระวายุ ซึ่งตำนานฮินดูท่านก็ทรงสัตว์จำพวกกวางป่าเขาเรียว กวาง และเลียงผาเช่นกัน...แทน จะได้เข้าชุดกันส่วนใหญ่ที่ได้อิทธิพลจากเรื่องรามเกียรติ์


           


เรือมังกร (กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง)


รูปมังกรเขมร
ที่มา https://exequy.wordpress.com/page/126/



เรือรูปมังกรครึ่งคน (นาคเทวะของพม่า)
ที่มา https://blogs.bl.uk/asian-and-african/2018/11/beautiful-burmese-barges-and-boats.html


นาคาหน้าดังเป็น       ดูเขม้นเห็นขบขัน
มังกรถอนพายพัน     ทันแข่งหน้าวาสุกรี


กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร/เจ้าฟ้ากุ้ง



           




เรือไกรสรมุข (กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง)

ไกรสรราชสีห์

ที่มา https://guy28984.wordpress.com/3-สัตว์ประเภทสิงห์

ในตำนานพระเวสันดร มีตอนหนึ่งกล่าวถึงไกรสรราชสีห์ ในเรื่องบรรยายว่าเป็นสัตว์ทรงพลัง กายเป็นสิงห์ มีขนแผงคอ ริมฝีปาก ขนหาง และเล็บเป็น สีแดงดั่งผ้ารัตนกัมพล

ไกรสรราชสีห์เป็น ๑ ใน ๔ ราชสีห์แห่งป่าหิมพานต์ ในตำนานกล่าวว่าไกรสรราชสีห์เป็นสัตว์ที่มีพละกำลังแรงกล้า เป็นนักล่าชั้นเยี่ยมและกินสัตว์ใหญ่น้่อยเป็นอาหาร

เรือไกรสรมุข ในกาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้ากุ้ง


สรมุขมุขสี่ด้าน           เพียงพิมานผ่านเมฆา
ม่านกรองทองรจนา   หลังคาแดงแย่งมังกร



กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร/เจ้าฟ้ากุ้ง



           


วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563

เรือราชสีห์ (กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง)



เรือตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีสมุหนายกครั้งสมัยอยุธยา มีโขนหัวเรือรูปราชสีห์ 
จากสมุดภาพริ้วกระบวนแห่พยุหยาตราทางชลมารค ฉบับหอสมุดแห่งชาติ




ราชสีห์ที่ยืนยัน       คั่นสองคู่ดูยิ่งยง

กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร/เจ้าฟ้ากุ้ง



           

เรือคชสีห์ (กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง)



เรือตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีสมุหกลาโหมครั้งสมัยอยุธยามีโขนหัวเรือรูปคชสีห์
จากสมุดภาพริ้วกระบวนแห่พยุหยาตราทางชลมารค ฉบับหอสมุดแห่งชาติ



คชสีห์ทีผาดเผ่น       ดูดังเป็นเห็นขบขัน


กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร/เจ้าฟ้ากุ้ง



           

เรือเอกชัยหลาวทองและเอกชัยเหินหาว (กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้งและนาวาเอกทองย้อย)








เรือชัยไวว่องวิ่ง         รวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม
เสียงเส้าเร้าระดม       ห่มท้ายเยิ่นเดินคู่กัน


กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร/เจ้าฟ้ากุ้ง

เรือชัยไฉไลสม          ชมเรือกิ่งพริ้งเพราตา


บทชมกระบวนเรือ กาพย์เห่เรือเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา ร.๙
บทประพันธ์โดย นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย



           


เรือสุครีพครองเมือง และพาลีรั้งทวีป (กาพย์เห่เรือของนาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย)







ยักษ์ลิงกลิ้งกลอกกาย        แลลวดลายล้วนเลขา

รูปสัตว์หยัดกายา                ลอยคงคาสง่าครัน


บทชมกระบวนเรือ กาพย์เห่เรือเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา ร.๙
บทประพันธ์โดย นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย




           

เรือกระบี่ปราบเมืองมาร และกระบี่ราญรอนราพณ์ (กาพย์เห่เรือของนาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย)






กระบี่ศรีสง่า         งามท่วงท่าร่าเริงชล

บทชมกระบวนเรือ กาพย์เห่เรือเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา ร.๙
บทประพันธ์โดย นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย




           

เรือครุฑเตร็จไตรจักร และครุฑเหินเห็จ (กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้งและนาวาเอกทองย้อย)










เรือครุฑยุดนาคหิ้ว           ลิ่วลอยมาพาผันผยอง
พลพายกรายพายทอง     ร้องโห่เห่โอ้เห่มา

(กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร/เจ้าฟ้ากุ้ง)


🐦🐦🐦🐦🐦🐦🐦🐦




เรือครุฑรุดเร็วยล              กลครุฑคล้อยลอยเมฆินทร์


บทชมกระบวนเรือ กาพย์เห่เรือเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา ร.๙
บทประพันธ์โดย นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย

🐍🐍🐍🐍🐍🐍🐍🐍🐍

     😊 เนื่องจากเรือครุฑทั้งสองไม่ได้เป็นเรือพระที่นั่งสำคัญ บทเห่เรือสมัยรัตนโกสินทร์จึงกล่าวถึงเรือครุฑแต่ไม่ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นเรือครุฑเตร็จไตรจักร หรือเรือครุฑเหินเห็จ เป็นการกล่าวไว้แบบรวม ๆ กัน
     😊 ส่วนเรือครุฑในสมัยอยุธยาถือว่าเป็นเรือพระที่นั่งโขนรูปสัตว์ คือ ที่โขนเรือมีรูปสัตว์หิมพานต์ประดับอยู่ เช่น เรือพระที่นั่งโขนมีรูปครุฑ รูปนาค และรูปหงส์ประดับอยู่ ปัจจุบันเรียกเรือพระที่นั่งเหล่านี้ว่า เรือพระที่นั่งกิ่ง



           

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช (กาพย์เห่เรือของนาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย)



ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช


อนันตนาคราช         เจ็ดเศียรสาดสายสินธุ์ถกล

เล่นน้ำฉ่ำชื่นชล       ยลหงอนปากอย่างนาคเป็น

บทชมกระบวนเรือ กาพย์เห่เรือเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา ร.๙
บทประพันธ์โดย นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย



           




เรืออสุรวายุภักษ์ และอสุรปักษี (กาพย์เห่เรือของนาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย)




อสุรวายุภักษ์              ศักดิ์ศรีคู่อสุรปักษิน

โผนผกเพียงนกบิน     ผินสู่ฟ้าร่าเริงลม


บทชมกระบวนเรือ กาพย์เห่เรือเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา ร.๙
บทประพันธ์โดย นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย




           

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ (กาพย์เห่เรือของนาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย)



ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ_รัชกาลที่ 9


"นารายณ์ทรงสุบรรณ     ผาดผายผันผ่องโสภี 
ดั่งครุฑยุดนาคี               แบกจักรีโบกบินบน" 

บทชมกระบวนเรือ กาพย์เห่เรือเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา ร.๙
บทประพันธ์โดย นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย



           

เรือพระที่นั่งสุวรรณหงส์ (กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง)


ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/เรือพระที่นั่งสุวรรณหงส์


สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย                  งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์

เพียงหงส์ทรงพรหมมินทร์            ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม


(กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร/เจ้าฟ้ากุ้ง)